ความชุกของปัญหาภาระดูแลและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ในอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • โอภาส อัศวโรจน์พงษ์ พ.บ., อ.ว. เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสุขภาพจิตชุมชน กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 จังหวัดกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

ปัญหาภาระดูแล, ผู้ป่วยติดเตียง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของปัญหาภาระดูแลและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ในอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

วิธีการศึกษา: เป็นงานศึกษาตามขวาง (cross-sectional study) โดยผู้วิจัยเดินทางไปเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ตามที่อยู่อาศัยของผู้ป่วยติดเตียง ใน 6 ตำบล ทั้งหมด 102 ราย ในเขตอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน – 26 กรกฎาคม 2562 วิเคราะห์และนำไปประมวลผลโดย Microsoft Excel 2017 ใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด

ผลการศึกษา: ผู้เข้ารับการศึกษา102 ราย พบว่า มีผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 45 คน (ร้อยละ 44.1) มีปัญหาภาระดูแล ส่วนเฉลี่ยปัญหาภาระดูแลของผู้เข้ารับการศึกษาทั้งหมดจากแบบประเมินปัญหาภาระดูแลZarit Burden Interview เท่ากับ 21.24 (ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.34) ปัจจัยด้านครอบครัว พบว่าร้อยละ 42.9 มีสถานภาพทางการเงินของครอบครัวไม่เพียงพอ ปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่มีอาการปวดเมื่อยจากการดูแลผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินภาระมากกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.05) ปัจจัยด้านสังคมพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่ได้รับกำลังใจบ้างหรือไม่มีเลย มีค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินภาระมากกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.01) ปัจจัยด้านตัวผู้ป่วยพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่ได้รับการใช้คำพูดไม่ดี ตำหนิ หรือว่ากล่าว มีค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินภาระมากกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.05) ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ อายุของผู้ดูแล จำนวนชั่วโมงที่ดูแลผู้ป่วยต่อวัน ปัญหาสุขภาพหรือโรคประจำตัวที่มีอยู่เดิม การสูบบุหรี่ การใช้ยาแก้เครียดหรือยานอนหลับ การมีปัญหาทางการเงินของครอบครัว ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วย ความรู้สึกว่าได้พบผู้คนลดลงหลังจากต้องดูแลผู้ป่วย ระดับความรู้สึกตัวที่สับสนหรือไม่ดีของผู้ป่วย และอารมณ์เศร้าเสียใจของผู้ป่วย มีค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินภาระไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value>.05)

สรุป: มีความชุกของปัญหาภาระดูแลในผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ในอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ร้อยละ 44.1 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ อาการปวดเมื่อย การได้รับกำลังใจ และการใช้คำพูดไม่ดี ตำหนิ ว่ากล่าว

 

References

1. พวงเพ็ญ เผือกสวัสดิ, นิสาชล นาคกุล, วิชญา โรจนรักษ์. สถานการณ์ ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้านติดเตียงในชุมชนเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2559;26(2);54-64.
2. ศิราณี ศรีหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, คณิศร เต็งรัง. ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 28 กรกฎาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4028?locale-attribute=th
3. วราภรณ์ จิธานนท์. สุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
4. Phuaksawat P, Nakkhun N, Rotchanarak W. Situations, Problems, and Health care needs for Home-Bound and Bed-bound chronically ill Patients in Suratthani Municipal Community. Nursing Journal of the Ministry of Public Health. 2016; 26(2): 54-64.
5. Promarat S. Factors affecting burden of caregivers for the elderly bed-bound in Banhong District, Lamphun. Lanna Public Health Jaunal. 2016; 12(1): 57-64.
6. ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, รัชนี สรรเสริญ, วรรณรัตน์ ลาวัง. การพัฒนาแบบวัดภาระในการดูแลของ ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง. การพยาบาลและการศึกษา. 2554; 4(1): 62-75.
7. Limpawattana P, Theeranut A, Chindaprasirt J, et al. Caregivers Burden of Older Adults with Chronic Illnesses in the Community: A Cross-Sectional Study. J Community Health. 2013; 38(1): 40-5.
8. Bekdemir A, Ilhan N. Predictors of Caregiver Burden in Caregivers of Bedridden Patients. J Nurs Res. 2019; 27(3): e24.
9. Kim D. Relationships between Caregiving Stress, Depression, and Self-Esteem in Family Caregivers of Adults with a Disability. Occup Ther Int. 2017:1686143. doi: 10.1155/2017/1686143.
10. Sabzwari S, Badini A, Fatmi Z, et al. Burden and associated factors for caregivers of the elderly in a developing country. East Mediterr Health J. 2016; 22(6): 394-403.
11. Suvanayos C, Thapinta D, Srisuphan W, et al. A causal model of caregiving burden among dementia caregivers. WJST. 2018;17(1).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-03