ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อลดความเจ็บปวด ของผู้ป่วยปวดท้องในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

ผู้แต่ง

  • จิราพร ศรีพิบูลย์บัติ, พย.ม., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • นภัค คำหอม, พย.บ., โรงพยาบาลห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี
  • ไกรศร จันทร์นฤมิตร, พย.ม., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

คำสำคัญ:

ความเจ็บปวด, การจัดการความเจ็บปวด, แนวปฏิบัติทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

          อาการปวดท้องเป็นอาการที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมารับการรักษาในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน อาการปวดท้องอาจจะเกิดขึ้นแบบทันทีทันใดหรือแบบค่อยเป็นค่อยไป การซักประวัติและการตรวจร่างกายมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งการวินิจฉัยที่ถูกต้อง การจัดการอาการปวดในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินยังเป็นปัญหาสำคัญและพบว่าผู้ป่วยมักถูกละเลยหรือไม่ได้รับการควบคุมอาการปวดที่เพียงพอ ดังนั้นถ้ามีแนวปฏิบัติทางการพยาบาลการจัดการความเจ็บปวด จะผู้ป่วยให้เกิดความสุขสบายและมีความพึงพอใจ การจัดการอาการปวดเป็นการดูแลแบบองค์รวมและเป็นหัวใจของการพยาบาล

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดก่อนและหลังการได้รับแนวปฏิบัติทางการพยาบาลการจัดการความเจ็บปวด

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องที่เข้ารับการรักษา ณ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 30 ราย เครื่องมือในการวิจัย คือ แนวปฏิบัติทางการพยาบาล มีดัชนีความเที่ยงตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.91 และตรวจสอบความเชื่อมั่น (reliability) เท่ากับ 0.89 โดยใช้สถิติการทดสอบค่าทีแบบสัมพันธ์กัน (paired t-test)

ผลการศึกษา: วิธีการจัดการกับความปวดของผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องส่วนใหญ่ คือ การได้รับยาทางหลอดเลือดดำ กลุ่มตัวอย่างมีระดับความเจ็บปวดลดลงภายหลังการได้รับแนวปฏิบัติทางการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

สรุป: การดูแลผู้ป่วยปวดท้องในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ควรมีวิธีการจัดการความเจ็บปวดและแนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลที่สามารถนำไปใช้ได้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องทุกราย

References

1.กองบริหารการสาธารณสุข.คู่มือการดำเนินการตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาศัลยกรรมแนวทางการดูแลผู้ป่วยปวดท้องเฉียบพลัน. นนทบุรี: กองบริหารการสาธารณสุข; 2561.
2.Seers K., Crichton N., Tutton L., et al. Effectiveness of relaxation for postoperative pain and anxiety: Randomized controlled trial. J Adv Nurs 2008; 62(6): 681-8.
3. ปวิธ สุธารัตน์. อาการปวดท้องเฉียบพลัน Acute Abdomen [ออนไลน์]. 2560 [วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561].เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/User.com7-PC/Downloads/Acute_abdomen.pdf
4. McCaffery M., Beebe A. Pain: Clinical Manual for Nursing Practice. Toronto: C.V. Mosby; 1989.
5.Rizzo RM., Parks LJ. Pain Management: Helping Others Control Discomfort. n.p: Speedy CEUs; 2007.
6. Moore, G .J. Women and Cancer a Gynecologic Oncology Nursing Perspective. Boston:
Jones and Bartlett Publishers; 1997.
7.อิศราภรณ์ กันวี, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ และวารินทร์ บินโฮเซ็น. สถานการณ์การจัดการความปวดในห้องพักฟื้น สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก.วารสารบำราศนราดูร 2555; 6(2):87–97.
8. Kline RB. Principles and Practice of Structural Equation Modeling. 3rded. New York: Guilford Press; 2011.
9.ภาสินี คงเพ็ชร.ผลการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วนของผู้ป่วยงานอุบัติเหตุ
และฉุกเฉิน โรงพยาบาลเกาะสมุย.วารสารวิชาการแพทย์เขต11 2557; 28(4):929-41.
10.สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉิน.นนทบุรี: สาบชัย 2017; 2561.
11.พักตร์ศิริ เกื้อกูล. ผลการคัดกรองผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินตามระดับความเร่งด่วน ของพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลนภาลัย. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล 2560; 2(2): 358-371.
12.สุธาสินี พิมพ์สังข์ จีราภรณ์ กรรมบุตร และมยุรี นิรัตธราดร.ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการคัดกรองกลุ่มอาการปวดท้องในผู้ป่วยนอก.วารสารพยาบาลทหารบก 2561; 19: 99-108.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-03