กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคเรื้อนประเภทเชื้อน้อย
คำสำคัญ:
โรคเรื้อนประเภทเชื้อน้อย, การตรวจทางจุลชีววิทยาด้วยวิธีกรีดผิวหนัง, การตรวจทางพยาธิวิทยาจากผิวหนังบริเวณรอยโรคบทคัดย่อ
รายงานผู้ป่วยโรคเรื้อนประเภทเชื้อน้อย borderline tuberculoid (BT) leprosy ผู้ป่วยชายพม่าอายุ 40 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการผื่นชาบริเวณใบหูข้างซ้ายและหลังเป็นเวลา 1 เดือน ตรวจร่างกายแรกรับรู้สึกตัวดี ตรวจผิวหนังพบ asymmetrical, multiple, discrete, well-defined, irregular, hypopigmented patches and infiltrated plaques on the left earlobe, left side of the face anterior to the left ear and right side of the back ร่วมกับตรวจพบการรับความรู้สึกลดลงบริเวณผื่นทั้งสามจุด รวมถึงบริเวณผิวหนังที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงใบหน้า (facial nerve) และคอ (great auricular nerve) ซีกซ้ายอีกด้วย
ผู้ป่วยได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยตรวจทางจุลชีววิทยาด้วยวิธีกรีดผิวหนัง (slit skin smear) ไม่พบเชื้อโรคเรื้อน และตรวจเพิ่มเติมด้วยการตรวจทางพยาธิวิทยาจากผิวหนังบริเวณรอยโรค (skin biopsy) ผลเป็น BT leprosy จากประวัติ ตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการวินิจฉัยเป็น BT leprosy และได้รับการรักษาด้วยยากิน rifampicin 600 mgต่อเดือนและ dapsone 100 mgต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือน ติดตามอาการหลังได้ยาครบ 6 เดือนพบว่า ผื่นจางลงและอาการชาลดลง หลังจากนั้นนัดตรวจติดตามทุก 6 เดือนต่ออีกเป็นเวลา 3 ปี
โรคเรื้อนปัจจุบันพบได้น้อยลง ข้อมูลล่าสุดจากกรมควบคุมโรคเรื้อนในปีพ.ศ. 2561 พบอัตราความชุกของโรคเรื้อนในประเทศไทยเพียง 0.05 รายต่อประชากร 10,000 คน การวินิจฉัยโรคเรื้อนจำเป็นต้องอาศัยการซักประวัติตรวจร่างกายทางผิวหนังและระบบประสาทอย่างละเอียด เนื่องจากหากไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือวินิจฉัยล่าช้าอาจก่อให้เกิดความพิการอย่างถาวร และส่งผลร้ายต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
References
2. กฤษฎา มโหทาน, เสาวนีย์ บำเพ็ญอยู่, ฉลวย เสร็จกิจ, และคณะ. คู่มือการวินิจฉัยและรักษาโรคเรื้อน.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2544.
3. Bolognia JL, Schaffer JV, Cerroni L, Mycobacterial infections. In: Callen JP, Cowen EW, Hruza GJ, et al, editors. Dermatology. 4th ed. Elsevier; 2018: 1296-303.
4. World Health Organization (WHO). WHO Model Prescribing Information Drugs used in Leprosy [internet]. 1998 [cited 2019 July 21]. Available from: https://apps.who.int/medicinedocs/pdf/h2988e/h2988e.pdf
5. โกวิท คัมภีรภาพ. โรคเรื้อน (Leprosy Update). Journal Institute of Dermatology Alumni Association [internet]. 2010 [cited 2019 Dec 18]. Available from: http://inderm.go.th/news/journal/myfile/106655029bbb0edf1f_Page35-50.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์