ประสิทธิผลของการใช้รองเท้าและอุปกรณ์พยุงส้นเท้าและฝ่าเท้าชนิดหล่อพิเศษ เฉพาะรายในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลที่เท้า

ผู้แต่ง

  • ปราณี ลักขณาภิชนชัช พ.บ., กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

แผลเท้าเบาหวาน, รองเท้า, อุปกรณ์พยุงส้นเท้าและฝ่าเท้าชนิดหล่อพิเศษเฉพาะราย

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาประสิทธิผลต่อการป้องกันการเกิดแผลซ้ำซ้อน  และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดแผลดังกล่าวภายหลังการได้รับ รองเท้า( shoes) และอุปกรณ์พยุงส้นเท้าและฝ่าเท้าชนิดหล่อพิเศษเฉพาะราย

( total contact foot orthotics :TCFOs )ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลที่เท้า

          วิธีการศึกษา: ติดตามผู้ป่วยเบาหวานทีมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลทีเท้า( neuropathic ulcer )    ซึ่งได้รับรองเท้าและ TCFOs จากงานกายอุปกรณ์ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟูโรงพยาบาลราชบุรี จาก มกราคม2559–มิถุนายน พ.ศ.2561 โดยติดตามระยะเวลาเป็นอย่างน้อย 6 เดือน  โดยบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล   ความผิดปกติของเท้า ดัชนีมวลกาย (BMI)  ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร( fasting blood sugar : FBS ) เฉลี่ย  การนำไปใช้  อัตราการเกิดแผลซ้ำซ้อน  วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดแผลดังกล่าว  

           ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 48 ราย ช่วงอายุ 34-81 ปี  (เฉลี่ย 59.31± 10.43 ปี) ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 54.2 ) ระยะเวลาเป็นเบาหวานเฉลี่ย 13.73 ± 9.60 ปี  ระดับน้ำตาลเฉลี่ย 146.77 ± 47.85 mg /dl ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เฉลี่ย 27.48 ± 4.34 กิโลกรัม/ เมตร²  รูปร่างเท้าผิดปกติจำนวน 22 ราย (ร้อยละ45.8 ) มีแผลที่เท้าเมื่อแรกรับรองเท้าจำนวน 28 ราย (ร้อยละ 58.3)  นิ้วเท้าถูกตัดขาดอย่างน้อยหนึ่งนิ้วจำนวน 14 ราย (ร้อยละ 29.2 ) ระยะเวลาติดตามเฉลี่ย 10.51 ± 6.37  เดือน แบ่งเป็นได้รับทั้งรองเท้าและอุปกรณ์พยุงส้นเท้าและฝ่าเท้าชนิดหล่อพิเศษเฉพาะรายจำนวน 35 ราย  (ร้อยละ 72.9 ) ได้รับอุปกรณ์พยุงส้นเท้าและฝ่าเท้าชนิดหล่อพิเศษเฉพาะรายอย่างเดียวจำนวน 13 ราย (ร้อยละ 27.1)   พบแผลซ้ำซ้อนจำนวน 6 ราย (ร้อยละ 12.5)  ไม่พบปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดแผลซ้ำซ้อนอย่างมีนัยสำคัญโดย odds ratio และ 95 % confidence interval   เกี่ยวกับระยะเวลาการเป็นเบาหวาน( duration≥ 10 years)  การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่เข้มงวด (  FBS≥  141 mg/dl)  ภาวะน้ำหนักตัวเกิน ( BMI ≥ 25 )  รวมทั้งการไม่ใช้รองเท้าและ TCFOs   

           สรุป :  การใช้รองเท้าและ  TCFOs ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลที่เท้า พบอัตราการเกิดแผลซ้ำซ้อน ร้อยละ  12.5   ปัจจัยเกี่ยวกับระยะเวลาการเป็นเบาหวาน (duration≥ 10 years)   การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่เข้มงวด (  FBS≥   141 mg/dl)  ภาวะน้ำหนักเกิน ( BMI ≥ 25 )  รวมทั้งการไม่ใช้รองเท้าและ TCFOs  ไม่มีผลต่อการเกิดแผลดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ      

References

1. Conner H , Mahdi OZ. Repetitive ulceration in neuropathic patients. Dibetes Matb Res Rev. 2004; 20 Suppl 1: S23-8.

2.Edgar J, David G , Lawrence A. Risk factor for diabetic recurrent foot ulcer. Diabetes Care. 2007; 30(8): 2077-9.

3.Dargis V, Pantelejeva O, Jonushaite A, et al. Benefits of a multidisciplinary approach in the management of recurrent diabetic foot ulceration in Lithuania: a prospective study. Diabetes Care. 1999; 22(9): 1428-31.

4.Michal D´ , Alexandra J, Robert B , et al. Risk factors for recurrence of diabetic foot ulcers: prospective follow-up analysis in the Eurodiale subgroup . Int Wound J. 2012 ;10(5):555-61.

5. Bus SA, Waaijman R, Arts M, et al. Effect of custom-made footwear on foot ulcer recurrence in diabetes: a multicenter randomized controlled trial. Diabetes Care. 2013; 36: 4109-16.

6. Ulbrecht JS, Hurley T, Mauger DT , el al. Prevention of Recurrent Foot Ulcers With Plantar Pressure–Based In-Shoe Orthoses: The CareFUL Prevention Multicenter Randomized Controlled Trial. Diabetes Care. 2014 ; 37 : 1982–89.

7. Khalifa WA , Risk factors for diabetic foot ulcer recurrence: A prospective 2-year follow up study in Egypt . The Foot . 2018 ; 35 : 11-15.

8. Armstrong DG , Nguyen HC , Lavery LA , et al. Off-loading the diabetic foot wound : a randomized clinical trial. Diabetes care. 2001; 24(6): 1019-22.

9. Bus SA. The Role of Pressure Offloading on Diabetic Foot Ulcer Healing and Prevention of Recurrence. Plast Reconstr Surg. 2016; 138(3 Suppl): 179S-87S.

10 . Sicco A, Rob H, Tessa E. Evaluation and Optimization of Therapeutic Footwear for Neuropathic Diabetic Foot Patients Using In-Shoe Plantar Pressure Analysis. Diabetes Care. 2011 ; 34(7): 1595–600.

11. สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท้า. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.

12. Boyko EJ, Ahroni JH, Stensel VS, et al. A prospective study of risks factor for diabetic foot ulcer: the Seattle diabetic foot study. Diabetes Care. 1999; 22(7): 1036-42.

13. อำภาพร นามวงศ์พรหม. การเกิดแผลที่เท้าและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลที่เท้าของ ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสภาการพยาบาล. 2010; 25(3): 51-63.

14. Tesfamichael G, Abebaw A, Eleni T, et al. Prevalence of Diabetic Foot Ulcer and Associated Factors among Adult Diabetic Patients Who Attend the Diabetic Follow-Up Clinic at the University of Gondar Referral Hospital, North West Ethiopia , 2016: Institutional-Based Cross-Sectional Study. J Diabetes Res. 2017: 8.

15.Armstrong DG , Boulton AJ , Bus SA . Diabetic Foot Ulcers and Their Recurrence . N Engl J Med . 2017; 376 : 2367-75.

16.Sriussadaporn S, Mekanandha P, Vannasaeng S, et al. Factors associated with diabetic foot ulceration inThailand: a case-control study. Diabetic Med. 1997; 14(1): 50-6.

17.Fernando ME, Seneviratne RM, Tan YM, et al. Intensive versus conventional glycaemic control for treating diabetic foot ulcers. Cochrane Database Syste Rev. 2016; (1): CD010764.

18.Tran TB. Factors Related to Diabetic Foot Ulcers in Persons with Type 2. Diabetes Journal of Nursing Science. 2017; 35 Suppl 1: 13-21.

19. Veerasak S. Prevalence of Diabetic Foot Ulcers and Risk Classifications in Type 2 Diabetes Mellitus Patients at Rajavithi Hospital. J Med Assoc Thai. 2016; 99 (Suppl. 2): S99-S105.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29