การใช้ค่าอัตราส่วนซีรั่มแลคเตตต่อแอลบูมินในการคาดคะเนอัตราการตาย ในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงและช็อกจากการติดเชื้อ

ผู้แต่ง

  • วัชรพงษ์ เหลืองไพรัตน์ พ.บ., กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

บทคัดย่อ

          ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง (severe sepsis) และช็อกจากการติดเชื้อ(septic shock) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่สูงทั่วโลก มีหลายองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง และบางสิ่งใช้ทำนายความรุนแรงของโรค การศึกษานี้เป็นการศึกษาการใช้ค่าอัตราส่วนซีรั่มแลคเตตต่อแอลบูมิน (serum lactate albumin ratio) ในการคาดคะเนอัตราการตายในผู้ป่วยกลุ่มนี้

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนซีรัมแลคเตตต่อแอลบูมิน (serum lactate albumin ratio) กับอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง (severe sepsis) และช็อกจากการติดเชื้อ (septic shock) ในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

          วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง โดยศึกษาในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง (severe sepsis) และช็อกจากการติดเชื้อ (septic shock) จำนวน 75 ราย ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2562 ถึง 31 พฤษภาคม 2563 ในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ โดยเจาะเลือดดูค่าแลคเตตและแอลบูมินในวันแรกของการนอนโรงพยาบาล

          ผลการศึกษา: จากผู้ป่วย 75 ราย พบว่า การเพิ่มขึ้นของค่าอัตราส่วนซีรั่มแลคเตตต่อแอลบูมิน (serum lactate albumin ratio) มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น โดยอัตราส่วนซีรั่มแลคเตตต่อแอลบูมิน (serum lactate albumin ratio) ที่ 0.91-1.20  มีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 12.5 และอัตราส่วนซีรั่มแลคเตตต่อแอลบูมิน (serum lactate albumin ratio) ที่มากกว่า  1.20 ขึ้นไป มีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 69.4

          สรุป: การเพิ่มขึ้นของค่าอัตราส่วนซีรั่มแลคเตตต่อแอลบูมิน(serum lactate albumin ratio) สามารถคาดคะเนอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วย severe sepsis และ septic shock ได้

References

1. World Health Organization. (2016). Global health estimates 2015 summary table. Retrieved 7 Sep., 2019.

2. แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) พ.ศ.2561 –2565 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2561.

3. American College of Chest Physicians/Society of Critical Care Medicine Consensus Conference: definitions for sepsis and organ failure and guidelines for the use of innovate therapies in sepsis. Crit Care Med. 1992; 20(6): 864-74.

4. Parillo JE. Pathogenic mechanisms of septic shock. N Engl J Med. 1993; 328: 1471-7. doi: 10.1056/NEJM199305203282008.

5. Gabrielli A, Layon AJ, Yu M. Sepsis and Septic Shock. In Civetta T, Kirby S. Manual of Critical Care. Lippincott Williams & Wilkins; 2012. 511-19.

6. Knaus WA, Draper EA, Wagner DP, et al. APACHE II: a severity of disease classification system. Critical care medicine. 1985; 13(10): 818-29.

7. Vincent JL, Moreno R, Takala J, et al. The SOFA (Sepsis related Organ Failure Assessment) score to describe organ dysfunction/failure. On behalf of the Working Group on Sepsis- Related Problems of the European Society of Intensive Care Medicine. Intensive Care Med. 1996; 22(7): 707-10. doi: 10.1007/BF01709751.

8. Mikkelsen ME, Miltiades AN, Gaieski DF, et al. Serum lactate is associated with mortality in severe sepsis independent of Organ failure and shock. Crit Care Med. 2009; 37(5): 1670-7. doi: 10.1097/CCM.0b013e31819fcf68.

9. Villota EDD, Mosquera JM, Rubio JJ, et al. Association of a low serum albumin with infection and increased mortality in critically ill patients. Intensive Care Med. 1980; 7: 19-22. doi: 10.1007/BF01692917.

10. Goldwasser P, Feldman J. Association of serum albumin and mortality risk. J Clin Epidemiol. 1997; 50(6): 693-703. doi: 10.1016/s0895-4356(97)00015-2.

11. Magnussen B, Gradel KO, Jensen TG, et al. Association between hypoalbuminaemia and mortality in patients with community-acquired bacteraemia is primarily related to acute disorders. PLoS ONE. 2016; 11(9): e0160466. doi: 10.1371/journal.pone.0160466.

12. Rodelo JR, Rosa GDL, Valencia ML, et al. D-dimer is a significant prognostic factor in patients with suspected infection and sepsis. Am J Emerg Med. 2012; 30(9): 1991-9. doi: 10.1016/j.ajem.2012.04.033.

13. Wang B, Chen G, Cao Y, et al. Correlation of lactate/albumin ratio level to organ failure and mortality in severe sepsis and septic shock. J Crit Care. 2015; 30(2): 271-5. doi: 10.1016/j.jcrc.2014.10.030.

14. Choi SJ, HA EJ, Jhang WK, et al. Association between the lactate/albumin ratio and mortality in pediatric septic shock patients with underlying chronic disease: Retrospective pilot study. Minerva Pediatr. 2016. Online ahead of print.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29