ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ปฐมาภรณ์ ชัยธีรกิจ พ.บ., โรงพยาบาลกระทุ่มแบน

คำสำคัญ:

ทารกแรกเกิด, ภาวะความดันเลือดปอดสูง, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ลักษณะทางคลินิกและผลการรักษาของการเกิดภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาย้อนหลังในผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะความดันเลือดปอดสูง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 โดยศึกษาจากเวชระเบียนย้อนหลัง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลโดยใช้สถิติ chi-square

ผลการศึกษา: อุบัติการณ์การเกิดภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิด 2.11ต่อการเกิดมีชีพ1,000 คนทารกที่มีภาวะความดันเลือดปอดสูงทั้งหมดจำนวน 31 คน เป็นเพศชาย 18 คน(58.1%) เชื้อชาติไทย 19 คน (61.9%)คลอดโดยวิธี คลอดปกติและผ่าตัดคลอดเท่ากันคือ 15 คน(48.9%) อายุครรภ์เฉลี่ย 38.73+1.47 สัปดาห์ น้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ย 3,032.22+433.28 กรัม คะแนน apgar เฉลี่ยนาทีที่ 1,5,และ 10 คือ 9,10, และ 10ตามลำดับ สาเหตุหลักที่พบร่วมมากที่สุดคือกลุ่มอาการสูดสำลักขี้เทา (meconium aspiration syndrome: MAS) 12 ราย (38.7%) ทารก 27 คน (87.1%)ได้รับการวินิจฉัยภาวะนี้ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังเกิด อายุเฉลี่ยที่เริ่มเกิด 10.74 ชั่วโมง ระยะเวลาการเกิดภาวะความดันปอดสูงในทารกที่รอดชีวิตเทียบกับทารกที่เสียชีวิตมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการรักษาทารกทั้งสองกลุ่มได้รับยาที่รักษาไม่แตกต่างกัน ระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจและจำนวนวันนอนโรงพยาบาลของกลุ่มที่รอดชีวิตนานกว่ากลุ่มที่เสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 59.1ทารกต่างชาติเสียชีวิตมากกว่าทารกเชื้อชาติไทยอย่างมีนัยสำคัญ และพบว่ากลุ่มทารกที่รอดชีวิตมีจำนวน 4 คนได้รับการส่งตัวรักษาต่อที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย

สรุป: ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดเป็นภาวะเจ็บป่วยที่รุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูง สาเหตุหลักที่เกิดร่วมมากที่สุดคือกลุ่มอาการสูดสำลักขี้เทา (meconium aspiration syndrome: MAS) และทารกต่างชาติเสียชีวิตมากกว่า

References

Farrow KN, Fliman P, Steinhorn RH. The disease treated with ECMO: focus on PPHN.SeminPerinatol. 2005; 29(1): 8-14.

Khorana M, Yookaseam T, Layangool T, et al. Outcome of Oral sildanefil therapy on persistent pulmonary hypertension ofnewborn at Queen Sirikij National Institute of Child health. J Med Assoc Thai. 2011; 94Suppl 3: S64-73.

Nakwan N, Pithaklimnuwong S. Acute kidney injury and pneumothorax are risk factors for mortality in persistent pulmonary hypertension of newborn in Thai neonates. J matern Fetal Neonatal Med. 2016; 29(11): 1741-6. doi: 10.3109/14767058.2015.1060213.

Walsh-Sukys MC, Tyson JE, Wright Ll, et al. Persistent pulmonary hypertension of newborn in the era before nitric oxide: practice variation and outcomes. Pediatrics. 2000;105 (1 Pt 1): 14-20.

Chotigeat U, Jaratwashirakul S. Inhaled iloprost for severe persistent pulmonary hypertension of newborn. J Med Assoc Thai. 2007; 90(1): 167-70.

Finer NN, Barrington KJ. Nitric oxide for respiratory failure in infants born at or near term. Cochrane Database Syst Rev. 2006; (4): CD000399.

Cabral JE, Belik J. Persistent pulmonary hypertension of the newborn: recent advances in pathophysiology and treatment. J Pediatr (Rio J) 2013; 89(3): 226-42. doi: 10.1016/j.jped.2012.11.009.

Teng RJ, Wu TJ. Persistent pulmonary hypertension of the newborn.J Formos Med. Assoc. 2013; 112(4): 177-84. doi: 10.1016/j.jfma.2012.11.007.

Roberts JD, Fineman JR, Morin FC, et al. Inhaled nitric oxide and persistent pulmonary hypertension of the newborn. N Engl J Med. 1997; 336: 605-10.doi: 10.1056/NEJM199702273360902.

อุกฤษฎ์ จิระปิติ. ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันโลหิตในปอดสูงในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร. 2557; 6: 57-65.

นพวรรณ พงศ์โสภา. ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการเขต 11. 2560; 31(1): 49-59.

อุไรวรรณ โชติเกียรติ, มิรา โครานา, วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล, และคณะ. ผลการรักษาความดันเลือดในปอดสูงในเด็กทารก (PPHN) ด้วยเครื่องช่วยหายใจความถี่สูง (HFOV): ประสบการณ์ 5 ปี. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2546; 42: 1-8.

วรางค์ทิพย์ คุวุฒยากร. Persistent pulmonary hypertension of the newborn.ใน : ชัยสิทธิ์ แสงทวีสิน, กัญญาลักณ์ วิเทศสนธิ, บรรณาธิการ. Comprehensive care for newborn with heart problems.กรุงเทพฯ: ชมรมกุมารแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย; 2557. 17-29.

Wesswl DL, Adatia I, van LJ, et al. Improved oxygenation in a randomized trial of inhaled nitric oxide for persistent pulmonary of the newborn. Pediatrics. 1997; 100(5): e7.

Walsh MC, tock EK, Persistent pulmonary of newborn: rational therapy base on pathophysiology. Clinperinatol 2001; 28(3): 609-627.

Hernandez-Diaz S, Van Marter LJ, Werler MM, et al. Risk factors for persistent pulmonary hypertension of the newborn. Pediatrics. 2007; 120(2): e272-82.

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30