ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะบกพร่องทางเพศหญิงในวิชาชีพพยาบาล โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ภรานนท์ ลิมป์รัชตามร พ.บ., โรงพยาบาลกระทุ่มแบน

คำสำคัญ:

ความชุก, ภาวะบกพร่องทางเพศหญิง, วิชาชีพพยาบาล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะบกพร่องทางเพศหญิง ในวิชาชีพพยาบาลโรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

          วิธีการศึกษา: เป็นงานศึกษาภาคตัดขวาง (cross-sectional study) กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในวิชาชีพพยาบาล(ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ และผู้ช่วยเหลือคนไข้)โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 297 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติไคสแควร์ (chi-square) และสถิติของฟิชเชอร์ (Fisher’s exact test)

          ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามครบสมบูรณ์ทั้งหมด 138 ราย มีคะแนน Female Sexual Function Index (FSFI)< 26.55 จำนวน 76 ราย คิดเป็นร้อยละ 55.1 โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 25.34 (SD = 4.50) มีคะแนนความต้องการทางเพศเฉลี่ยเท่ากับ 3.3 (SD = 0.87) คะแนนการเร้าอารมณ์เฉลี่ยเท่ากับ 3.95 (SD = 0.97) คะแนนการหล่อลื่นเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 (SD = 1.10) คะแนนการถึงจุดสุดยอดเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 (SD = 1.08) คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.88 (SD = 1.00) และคะแนนความเจ็บเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 (SD = 1.16) เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง ระหว่างกลุ่มปกติและกลุ่มที่มีภาวะบกพร่องทางเพศ ได้แก่ ช่วงอายุและสถานภาพ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>.05) ส่วนตำแหน่ง(พยาบาลวิชาชีพ หรือผู้ช่วยเหลือคนไข้) ระดับการศึกษา และความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์โดยประมาณ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

          สรุป: ความชุกของภาวะบกพร่องทางเพศหญิง ในวิชาชีพพยาบาลโรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร คือ ร้อยละ 55.1 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะบกพร่องทางเพศหญิง ได้แก่ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์

References

1. อารัมภ์ ทัพสมุทรเดชากร, ชัยเลิศ พงษ์นริศร. ความบกพร่องทางเพศของผู้หญิง (Female Sexual Dysfunction) [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2563].เข้าถึงได้จาก: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=1262:female-sexual-dysfunction&catid=45&Itemid=561

2. McCool ME, Zuelke A, Theurich MA, et al. Prevalence of female sexual dysfunction among premenopausal women: a systematic review and meta-analysis of observational studies. Sex Med Rev. 2016; 4(3): 197–212. doi: 10.1016/j.sxmr.2016.03.002.

3. Peeyananjarassri K, Liabsuetrakul T, Soonthornpun K, et al. Sexual functioning in postmenopausal woman not taking hormone therapy in the Gynecological and Menopausal Clinic, Songklanagarind Hospital measured by Female Sexual Function Index questionnaire. J Med Assoc Thai. 2008; 91(5): 625-32.

4. Lou WJ, Chen B, Zhu L, et al. Prevalence and Factors Associated with Female SexualDysfunction in Beijing, China. Chin Med J. 2017; 130(12): 1389-94.

5. Fuentealba-Torres M, Cartagena-Ramos D, Fronteira I, et al. What are the prevalence and factorsassociated with sexual dysfunction inbreastfeeding women? A Braziliancross-sectional analytical study.BMJ Open. 2019; 9: e025833. doi:10.1136/bmjopen-2018-025833.

6. Rosen R, Brown C, Heiman J, et al. The Female Sexual Function Index (FSFI): a multidimentional self-report instrument for the assessmentof femalesexual function. J Sex Marital Ther. 2000; 26(2): 191-208.

7. Oranratanaphan S, Taneepanichsku S. A double blind randomized control trial,comparingeffectofdrospirenone and gestodenetosexual desire and libido. J Med Assoc Thai. 2006; 89 Suppl 4: S17-22.

8. Wiegel M, Meston C, Rosen R. The female sexual function index (FSFI): cross-validation and development of clinical cutoff scores. J Sex Marital Ther. 2005; 31(1): 1-20.

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30