เปรียบเทียบผลลัพธ์การผ่าตัดระหว่างการผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอดกับการผ่าตัดมดลูกแบบส่องกล้องผ่านหน้าท้อง
คำสำคัญ:
การผ่าตัดมดลูก, การผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอดแบบไม่มีภาวะกระบังลมหย่อน, การผ่าตัดมดลูกแบบส่องกล้อง, การผ่าตัดแบบรุกรานต่อเนื้อเยื่อน้อยบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์การผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอดแบบไม่มีภาวะหย่อนของอุ้งเชิงกราน (NDVH) กับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกแบบส่องกล้องผ่านหน้าท้อง (TLH)
วิธีการศึกษา: เป็นศึกษาโดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน โดยผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกทั้งสองวิธี ได้แก่ การตัดมดลูกทางช่องคลอดแบบไม่มีภาวะหย่อนของอุ้งเชิงกราน (NDVH) และการตัดมดลูกแบบส่องกล้องผ่านหน้าท้อง (TLH) ระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง 31 มีนาคม 2563 ที่โรงพยาบาลกระทุ่มแบน โดยสูตินรีแพทย์คนเดียวกัน
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 49 ราย ถูกคัดเลือกในการศึกษานี้ (กลุ่มผ่าตัดทางช่องคลอด 31 รายและกลุ่มผ่าตัดส่องกล้อง 18 ราย) ระยะเวลาในการผ่าตัดในกลุ่มผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด (123.6±58.0 นาที) สั้นกว่ากลุ่มผ่าตัดส่องกล้องผ่านหน้าท้อง (174±60.2 นาที) อย่างมีนัยสำคัญ (p=.005) ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัดเฉลี่ยในกลุ่มผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด (1.7±0.6วัน) สั้นกว่ากลุ่มผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้อง (2.3±0.5 วัน) อย่างมีนัยสำคัญ (p=.001) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระยะเวลาในการผ่าตัด คือ น้ำหนักของมดลูก (p=.002)
สรุป: การตัดมดลูกทางช่องคลอดแบบไม่มีภาวะหย่อนของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ถือเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย สำหรับผู้ป่วยทางนรีเวชที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดมดลูก ดังนั้นผู้ป่วยที่สามารถผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอดได้ ควรได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมเกี่ยวกับทางเลือกในการผ่าตัดมดลูก
References
2. Sparić R, Hudelist G, Berisava M, et al. Hysterectomy throughout history. Acta Chir Iugosl. 2011; 58(4): 9-14.
3. Diaz-Arrastia C, Jurnalov C, Gomez G, et al. Laparoscopic hysterectomy using a computer-enhanced surgical robot. Surg Endosc. 2002; 16(9): 1271-3.
4. Aarts JW, Nieboer TE, Johnson N, et al. Surgical approach to hysterectomy for benign gynaecological disease. Cochrane Database Syst Rev. 2015; (8): CD003677.
5. Richardson RE, Bournas N, Magos AL. Is laparoscopic hysterectomy a waste of time. Lancet. 1995; 345(8941): 36-41.
6. Fuzayel AB, Bhadra B, Choudhury N, Shyam DJ. Total laparoscopic hysterectomy versus non-descent vaginal hysterectomy: An observational study. Internation Journal of Recent Trends in Science And Technology. 2017; 24(2): 40-3.
7. Pratt JH, Daikoku NH. Obesity and vaginal hysterectomy. J Reprod Med. 1990; 35(10): 945-9.
8. Wright JD, Herzog TJ, Tsui J, et al. Nationwide trends in the performance of inpatient hysterectomy in the United States. Obstet Gynecol. 2013; 122 (2 Pt 1): 233-41.
9. Paparella P, Sizzi O, Rossetti A, et al. Vaginal hysterectomy in generally considered contraindications to vaginal surgery. Arch Gynecol Obstet. 2004; 270(2): 104-9.
10. Zakaria MA, Levy BS. Outpatient vaginal hysterectomy: optimizing perioperative management for same-day discharge. Obstet Gynecol. 2012; 120(6): 1355-61.
11. Dargent D. Vaginal and laparoscopic vaginal surgery. London: Taylor & Francis; 2004.
12. Koh CH. A new technique and system for simplifying total laparoscopic hysterectomy. J Am Assoc Gynecol Laparosc. 1998; 5(2): 187-92.
13. Kim HB, Song JE, Kim GH, et al. Comparison of clinical effects between total vaginal hysterectomy and total laparoscopic hysterectomy on large uteruses over 300 grams. J Obstet Gynaecol Res. 2010; 36(3): 656-60.
14. Cho HY, Park ST, Kim HB, et al. Surgical outcome and cost comparison between total vaginal hysterectomy and laparoscopic hysterectomy for uteri weighing >500 g. J Minim Invasive Gynecol. 2014; 21(1): 115-9.
15. Clarke-Pearson DL, Geller EJ. Complications of hysterectomy. Obstet Gynecol. 2013; 121(3): 654-73.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์