รูปแบบการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ฉัตรชัย สมานมิตร ศศ.ม. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางสุขภาพ, รูปแบบ, ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง, การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, หน่วยบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดเพชรบุรี

          วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (research & development) ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนมิถุนายน 2563 การวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ศึกษาความฉลาดทางสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดเพชรบุรี 117 แห่งจำนวน 228 คน โดยใช้แบบสอบถาม (2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดเพชรบุรี โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานและภาคีเครือข่ายในชุมชน รวมทั้งหมด 40 คน (3) พัฒนารูปแบบการพัฒนาความฉลาดทาสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดเพชรบุรี (4) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ โดยทดลองใช้ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง 49 คน และ (5) วิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จตามรูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นและพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการดำเนินงานป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการศึกษา: รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย กระบวนการหลัก 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การเตรียมความพร้อมและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้บริหารทีมสุขภาพและภาคีเครือข่ายในหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้แก่ วิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาการดำเนินงานการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน เสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในชุมชน พัฒนาศักยภาพทีมสุขภาพและภาคีเครือข่ายในหน่วยบริการปฐมภูมิ 2. เสริมสร้างความฉลาดทางสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงโดย 1) ประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง 2) พัฒนาความรู้และทักษะโดยใช้โปรแกรมที่สร้างขึ้น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การฝึกความสามารถเชิงกระบวนการคิด การสื่อสารความรู้ทั่วไป และการพัฒนาความรู้ทางสุขภาพเฉพาะโรค 3) ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่อง 3. เยี่ยมบ้านติดตามผลอย่างต่อเนื่อง โดย อสม., อสค. และ caregiver และ 4) ให้คำปรึกษาและประเมินผลเพื่อปรับปรุงพัฒนาระดับจังหวัด อำเภอและตำบล ผลของการใช้รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจำนวน 49 คนพบว่า ความฉลาดทางสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง พฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและการรับรู้ภาวะเสี่ยง การรู้จักอาการเตือนโรคและการประเมินภาวะเสี่ยงเบื้องต้นต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 49.73, t = -41.581, t = 45.829, p=.001 ตามลำดับ)

           สรุป: ผลการวิจัยทำให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนทรัพยากรและงบประมาณอย่างเพียงพอ การพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงโดย การฝึกความสามารถเชิงกระบวนการคิด ทักษะในการประเมินภาวะเสี่ยงและสังเกตอาการเตือนโรค ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทีมสุขภาพและทัศนคติที่ดีของภาคีเครือข่ายในระดับปฐมภูมิจะช่วยให้สามารถเสริมสร้างศักยภาพของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้เพิ่มขึ้น

References

1. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

2. World Health Organization. Stroke, Cerebrovascular accident [internet]. 2015 [cited 2019 Aug 10]; Available from: http://www.who.int/topics/cerebrovascular_accident.

3. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สถิติบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค หลอดเลือดสมองที่เสียชีวิตและอัตราตาย ต่อประชากรแสนคน ปี 2555–2556 [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน 2561]; เข้าถึงได้จาก: http:// www.bps.ops.moph.go.th

4. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2561 สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

5. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. บทสรุปรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

6. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงานการะทรวงสาธารณสุขกรณีปกติ รอบที่ 1 ประจำปี 2563 จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: พีเอสกราฟฟิค; 2562.

7. จันทร์จิรา สีสว่าง, นงณภัทร รุ่งเนย.การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง: กลยุทธ์สู่การดูแลแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2559; 34(3): 10-18.

8. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk). กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2558.

9. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กและเยาวชน อายุ 7-14 ปีและกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2561.

10. Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med. 2008; 67(12): 2072-8. doi: 10.1016/j.socscimed.2008.09.050.

11. Sharif I, Blank AE. Relationship between child health literacy and body indexin overweight children. Patient Educ Couns. 2010; 79(1): 43–8. doi: 10.1016/j.pec.2009.07.035

12. Baker DW. The Meaning and the measure of health literacy. J Gen Intern Med. 2006; 21(8): 878–83. doi: 10.1111/j.1525-1497.

13. National Assessment of Adult Literacy. The Health Literacy of America’s Adults Resultsfrom the 2003 National Assessment of Adult Literacy. U.S. Department of Education; 2006.

14. Baker DW, Wolf MS, Feinglass J, et al. Health literacy and Mortality Among Elderly Persons. Arch Intern Med. 2007; 167(14): 1503-09. doi: 10.1001/archinte.167.14.1503.

15. World Health Organization. Adherence to Long-term Therapies: Evidence for Action. 2009 [cited 2019 October 14]; Available from: http://www.who.int/whr/; 2009.

16. Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporaryhealth education and community strategies into the 21st century. Health PromotionInternational. 2000; 15(3): 259-67. doi: 10.1093/heapro/15.3.259

17. แสงเดือน กิ่งแก้ว, นุสรา ประเสริฐศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2559; 25(3): 45-54.

18. Lee SYD, Arozullah AM, Cho Y. Health lteracy, social support, and health: A research agenda. Soc Sci Med. 2004; 58(7): 1309-21. doi: 10.1016/S0277-9536(03)00329-0.

19. Chin J, Morrow DG, Stine-Morrow EA, et al. The process-knowledge model of health literacy: evidence from a componential analysis of two commonly used measures. J Health Commun. 2011; 16(Suppl 3): 222-41. doi: 10.1080/10810730.2011.604702.

20. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แนวคิดความรู้กับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2559.

21. Kolb DA. Experiential learning: experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall; 1984.

22. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. เครื่องมือประเมินความรอบรู้และพฤติกรรมของประชาชนในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2562.

23. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.). กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.

24. Best JW, Kahn JV. Research in Education. 10 th ed. Cape Town: Pearson Education Inc; 2006.

25. Waltz CF, Strickland OL, Lenz ER. Measurement in Nursing and Health Research. 5 th ed. New York: Springer Publishing Company; 2016.

26. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูล. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด; 2553.

27. Cohen JM, Uphoff NT. Rural development participation: Concept and measures for project design implementation and evaluation. Ithaca: Cornell University, Center for International Studies; 1977.

28. นงลักษณ์ วิรัชชัย. วิจัยและสถิติ: คำถามชวนตอบ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552

29. Pennlert J. Recurrent stroke risk factors, prevention and prognosis [Internet]. 2016 [cited 2020 June 30]. Available from: https://www.divaportal.org/smash/get/diva2:1045473/FULLTEXT02

30. Markus M. Psychological stress ‘increases risk of stroke’ [Internet]. 2016 [cited 2020 June 30]. Available from:https://www.medicalnewstoday.com/articles/279438.php

31. Hanna S.T. Nicotine effect on cardiovascular systemand ion channels. J Cardiovasc Pharmacol. 2006; 47(3): 348-58. doi: 10.1097/01.fjc.0010205984.13395.9e.

32. กาญจนา จิตติพร, นนทัช อนุศักดิกุล,ภูมิพัฒน์ หิมะพรม, และคณะ. ผลของบุหรี่ต่อการทำงานเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและหลอดเลือดแดงแข็งในอาสาสมัครไทย.จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 2561; 62(6): 1013-22.

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30