ผลการรักษาของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดย้ายเนื้อเยื่อและหลอดเลือดด้วยวิธีจุลศัลยกรรม ในโรงพยาบาลนครปฐม
คำสำคัญ:
การผ่าตัดย้ายเนื้อเยื่อและหลอดเลือด, การผ่าตัดจุลศัลยกรรม, อัตราความสำเร็จของการรักษาบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการรักษาของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดย้ายเนื้อเยื่อและหลอดเลือดด้วยวิธีจุลศัลยกรรมในโรงพยาบาลนครปฐม
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและบันทึกการผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดย้ายเนื้อเยื่อและหลอดเลือดด้วยวิธีจุลศัลยกรรมในโรงพยาบาลนครปฐม ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 ถึง 31 มีนาคม 2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดย้ายเนื้อเยื่อและหลอดเลือดด้วยวิธีจุลศัลยกรรม จำนวน 16 ราย ร้อยละ 62.5 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 44.8 ปี สาเหตุที่ทำให้ต้องผ่าตัด มาจากอุบัติเหตุ 2 รายและจากการตัดเนื้องอกหรือมะเร็ง 14 ราย เนื้อเยื่อที่นำมาใช้ทดแทนประกอบด้วย ผิวหนังและเนื้อเยื่อบริเวณต้นขา 5 ราย, ผิวหนังและเนื้อเยื่อบริเวณหน้าแขน 5 ราย,ผิวหนังและกระดูกขาส่วนน่อง 5 รายและกล้ามเนื้อหลัง 1 รายระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดทั้งหมดเฉลี่ยอยู่ที่ 7 ชั่วโมง 51 นาที ผลสำเร็จของการรักษาคิดเป็นร้อยละ 87.5
สรุป: จากการศึกษาย้อนหลัง พบอัตราความสำเร็จในเกณฑ์ที่น่าพอใจทั้งยังทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีทั้งในแง่การใช้งานและความสวยงาม ดังนั้นการผ่าตัดย้ายเนื้อเยื่อและหลอดเลือดด้วยวิธีจุลศัลยกรรมจึงเป็นทางเลือกที่ดี เมื่อมีการเลือกผู้ป่วยที่เหมาะสม
References
2. Jacobson JH, Suarez EL. Microsurgery in anastomosis of small vessels. Surg Forum. 1960; 11: 243-5.
3. Daniel RK, Taylor GI. Distant transfer of an island flap by microvascular anastomoses. A clinical technique. Plast Reconstr Surg. 1973; 52(2): 111-7. doi: 10.1097/00006534-197308000-00001
4. Wei FC, Jain V, Celik N, et al. Have we found an ideal soft–tissue flap? An experience with 672 anterolateral thigh flaps. Plast Reconstr Surg.2002; 109(7): 2219-26. doi: 10.1097/00006534-200206000-00007
5. Kimura N, Saitoh M, Okamura T, et al. Concept and anatomical basis of microdissected tailoring method for free flap transfer. Plast Reconstr Surg 2009; 123(1): 152-62.doi: 10.1097/PRS.0b013e3181934756.
6. Rath T, Millesi W, Millesi–Schobel G, et al. Mucosal prelamination of a radial forearm flap for intraoral reconstruction. J Reconstr Microsurg. 1997; 13(7): 507-13.
7. Wei FC, Demirkan F, Chen HC, et al. The outcome of failed free flaps in head and neck and extremity reconstruction: what is next in the reconstructive ladder?.Plast Reconstr Surg. 2001; 108(5): 1154-60. doi: 10.1097/00006534-200110000-00007
8. Wei FC, Tay SK. Principles and techniques of microvascular surgery.In: Gurtner GC,editor. Plastic Surgery. 3rd ed. Principles;2012.968-1021.
9. Tienboon P, Pantoomkomol T. Microvascular free skin flap report of 5-case series and technics applied. Chula Med J.1983;27(5): 365-879.
10.Harashina T. Analysis of 200 free flaps.British Journal of Plastic Surgery(1988).41.33-36
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์