การเปรียบเทียบผลของการส่องกล้องระหว่างส่องภายใน 24 ชั่วโมง และ หลัง 24 ชั่วโมง ในผู้ป่วยเลือดออกบริเวณทางเดินอาหารส่วนบนที่ไม่ใช่เส้นเลือดขอดในหลอดอาหารที่มีสัญญาณชีพคงที่ในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ชวลิต รุ่งนฤทัย พ.บ., โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

เลือดออกทางเดินอาหารส่วนบนที่ไม่ใช่เส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร, อัตราการเสียชีวิต, ทุพพลภาพ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพของการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนระหว่างส่องภายใน 24 ชั่วโมง และหลัง 24 ชั่วโมงในคนไข้เลือดออกทางเดินอาหารส่วนบนที่ไม่ใช่เส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร (non-variceal UGIB) และมีสัญญาณชีพคงที่ ในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

วิธีการศึกษา: งานวิจัยแบบ retrospective cohort study กลุ่มประชากรคือ ผู้ป่วยเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบนที่ไม่ใช่เส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร (non-variceal UGIB) ที่มารักษา ในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2559 ถึง 31 ตุลาคม 2561 โดยแยกเป็นกลุ่ม early endoscopy (<= 24 ชั่วโมง) และ delayed endoscopy (> 24 ชั่วโมง) และนำข้อมูลมารวบรวมแบ่งแยกเป็น ข้อมูลพื้นฐานเฉพาะบุคคล, ข้อมูลก่อนการส่องกล้อง(pre-endoscopic score;GBS), รายงานการส่องกล้อง (Forrest classification) และอัตราการเสียชีวิตรวมถึงทุพพลภาพ (การมีเลือดออกซ้ำภายใน 30 วัน ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และการให้เลือด) จากนั้นนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ไค-สแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ โดยใช้โปรแกรม SPSS version 16 ในการคำนวณ

ผลการศึกษา: จำนวนประชากรทั้งหมด 112 คน แบ่งเป็น early endoscopy 19 คน และ delayed endoscopy 93 คน พบคนไข้ที่มีโรคตับร่วมเป็นอัตราส่วนในกลุ่ม early endoscopy มากกว่า delayed endoscopy (26.3% versus 9.7%, p= .046) ในกลุ่ม early endoscopy ได้รับการ therapeutic endoscopy มากกว่า delayed endoscopy (47.4% versus 22.6%, p= .005) ส่วนอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพ (การมีเลือดออกซ้ำใน 30 วัน ระยะเวลานอนโรงพยาบาล และการให้เลือด) ในทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: อัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพระหว่างประชากรกลุ่ม early endoscopy และ delayed endoscopy ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

1. Hearnshaw SA, Logan RF, Lowe D, et al. Acute upper gastrointestinal bleeding in the UK: patient characteristics, diagnoses and outcomes in the 2007 UK audit. Gut. 2011; 60(10): 1327–35. doi: 10.1136/gut.2010.228437.

2. Nahon S, Hagège H, Latrive JP, et al. Groupe des Hémorragies Digestives Hautes de l'ANGH. Epidemiological and prognostic factors involved in upper gastrointestinal bleeding: Results of a French prospective multicenter study. Endoscopy. 2012; 44(11) :998–1008. doi: 10.1055/s-0032-1310006.

3. Ian M. Gralnek, Jean-Marc Dumonceau, Ernst J. Kuipers, et al. Diagnosis and management of nonvariceal upper gastrointestinal hemorrhage: European Society of Gastrointestinal Endoscopy (ESGE) Guideline. Endoscopy. 2015; 47: 1–46.

4. Lim LG, Ho KY, Chan YH, et al. Urgent endoscopy is associated with lower mortality in high-risk but not low-risk nonvariceal upper gastrointestinal bleeding. Endoscopy. 2011; 43(4): 300–6. doi: 10.1055/s-0030-1256110.

5. Spiegel BM, Vakil NB, Ofman JJ. Endoscopy for acute nonvariceal upper gastrointestinal tract hemorrhage: is sooner better? A systematic review Arch Intern Med. 2001; 161(11): 1393–404.

6. Sung JJ, Chiu PW, Chan FKL, et al. Asia-Pacific working group consensus on non-variceal upper gastrointestinal bleeding: an update 2018. Gut. 2018; 67(10): 1757-68. doi: 10.1136/gutjnl-2018-316276.

7. Garg SK, Anugwom C, Campbell J, et al. Early esophagogastroduodenoscopy is associated with better Outcomes in upper gastrointestinal bleeding: a nationwide study. Endosc Int Open. 2017; 5(5): 376–86. doi: 10.1055/s-0042-121665.

8. Iqbal U, Anwar H, Patel H, et al. Does Early Endoscopy Improve Mortality in Patients with Acute Non-variceal Gastrointestinal Bleeding? A Retrospective review. Cureus. 2018; 10(2): e2246.

9. Jee Hyun Kim, Ji Hye Kim, Jaeyoung Chun, et al. Early versus late bedside endoscopy for gastrointestinal bleeding in critically ill patients. Korean J Intern Med 2018;33:304-312.

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30