การจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลตามความต้องการการพยาบาลของหอผู้ป่วยใน : กรณีศึกษา โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • วนิดา สิงหชาติปรีชากุล พย.บ., โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน

คำสำคัญ:

ปริมาณความต้องการทางการพยาบาล, อัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาล, เกณฑ์การจำแนกประเภทผู้ป่วย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาปริมาณความต้องการทางการพยาบาลของผู้ป่วย โดยจำแนกตามประเภทผู้ป่วย  2. เพื่อศึกษาอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลที่ควรจะเป็นของการจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลของหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน  3. เพื่อเปรียบเทียบอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลระหว่างสูตรการจัดอัตรากำลังของกองการพยาบาลกับสูตรการจัดอัตรากำลังของ Warstler

          วิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณา (descriptive   research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน จำนวน 1,589 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบจำแนกประเภทผู้ป่วย 5 ประเภท ตามแนวของ Warstler และแบบบันทึกกิจกรรมการพยาบาล โดยเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 ถึง เดือนกันยายน 2562     ในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ในการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการศึกษา : 1. ปริมาณความต้องการทางการพยาบาลของผู้ป่วย โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน จังหวัดราชบุรี พบว่า มีปริมาณความต้องการพยาบาลของผู้ป่วยโดยรวมทุกประเภท   มีค่าเฉลี่ย () อยู่ที่ 3.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD ) เท่ากับ 1.16 ความต้องการโดยรวมต่อเวรอยู่ที่ 3.44 คน ความต้องการพยาบาลของผู้ป่วยโดยรวมใน 3 เวร (เวรเช้า – เวรบ่าย – เวรดึก) จะได้เป็น 3.44x 3 = 10.32 คน

  1. ปริมาณความต้องการทางการพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลเจ็ดเสมียน จังหวัดราชบุรี โดยรวมทุกประเภทตามสูตร Warstler พบว่า ความต้องการพยาบาลของผู้ป่วย โดยรวมทุกประเภทต่อเวรอยู่ที่ 3.44 คน ความต้องการพยาบาลของผู้ป่วยโดยรวม ใน 3 เวร (เวรเช้า – เวรบ่าย – เวรดึก) อยู่ที่ 10.32 คน ปริมาณความต้องการพยาบาลของผู้ป่วยที่ปฏิบัติงานจริงปัจจุบัน ต่อเวรอยู่ที่ 2.34 คน และความต้องการพยาบาลของผู้ป่วยโดยรวม ใน 3 เวร (เวรเช้า – เวรบ่าย – เวรดึก) ที่ปฏิบัติงานจริง เป็น 2.34 x 3= 7.02 คน พบว่า โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน ขาดอัตรากำลังของพยาบาลที่ปฏิบัติงานจริงต่อวัน = 10.32- 7.02 = 3.30 คน
  2. เปรียบเทียบอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลที่ควรจะมีระหว่างสูตรการจัดอัตรากำลังของกองการพยาบาล กับสูตรการจัดอัตรากำลังของ Warstler พบว่า มีความใกล้เคียงกันคือประมาณ 10 คน สรุปว่า อัตรากำลังตามแนวคิดของ Warstler กับของกองการพยาบาล ไม่มีความแตกต่าง

          จากผลการวิจัยที่ได้ ควรนำเอารูปแบบการจำแนกประเภทผู้ป่วย จำนวนผู้ป่วยแต่ประเภทไปใช้ในการมอบหมายงานให้เหมาะสม สามารถปรับสัดส่วนของบุคลากรแต่ละระดับที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้เหมาะสมกับปริมาณงาน ใช้ข้อมูลดังกล่าวตัดสินใจในการจัดสรรเปลี่ยนแปลงการวางแผนกำลังคนให้เหมาะสมกับปริมาณภาระงานในแต่ละช่วงเวลา วางแผนการจัดอัตรากำลังต่อไปในอนาคต

           สรุป : จากการวิจัยนี้ เป็นการศึกษาปริมาณความต้องการทางการพยาบาล ของผู้ป่วยโดยจำแนกตามประเภทผู้ป่วยของหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน และ เปรียบเทียบการจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลระหว่างสูตรของกองการพยาบาล กับสูตรของ Warstler  พบว่า หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน ขาดอัตรากำลังของพยาบาลที่ปฏิบัติงานจริงต่อวัน  3 คน เปรียบเทียบการจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลระหว่างสูตรของกองการพยาบาลกับสูตรของ Warstler ไม่มีความแตกต่าง

           

References

1.กระทรวงสาธารณสุข. กรอบยุทธศาสตร์สุขภาพโลกของประเทศไทย พ.ศ. 2559 – 2563 . กรุงเทพฯ , 2559.

2.กฤษดา แสวงดี. แนวทางการจัดอัตรากำลังทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์รับ-ส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.2545.

3.บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. การจัดการทางการพยาบาล.ชลบุรี : ภาควิชาวิจัยประเมินผลและบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.2553.

4.สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.การบริหารการพยาบาลแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.),2548.

5.บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ภาวะผู้นำและกลยุทธการจัดการองค์การพยาบาล ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2550.

6..ผศ.ดร.เสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณ และ คณะ. การบริหารการพยาบาลยุค 4G Plus.กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ TSB Product,2559.

7.นาวาตรีหญิง ปิยนุช ผลานิผล.การจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาล หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ,2551.

8.พัชรีจิต วงษ์สุธน. การจัดอัตรากำลังพยาบาลในกลุ่มมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิด โรงพยาบาลท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี,2555.

9. ธนพร แย้มสุดา. การจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาล ตามความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลในสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ,2552 .

10.ศรีศุภรักษ์ สวนแก้ว . การจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาล งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลบางแพ,2553.

11. ระยอง บรรจงศิลป์. การจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาล ตามความต้องการการพยาบาลของงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม , 2560.

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30