การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุมีกระดูกต้นขาหักและมีกระดูกหายไปบางส่วนโดยใช้วิธีกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาหุ้มบริเวณที่กระดูกขาดหายไปและใส่กระดูกมาเสริมในเนื้อเยื่อที่สร้าง

ผู้แต่ง

  • พงษ์ศักดิ์ ฐิติพันธุ์ดำรง พ.บ., โรงพยาบาลบางสะพาน

คำสำคัญ:

กระดูกต้นขาหักขาดหายไปบางส่วน, การสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาหุ้มบริเวณกระดูกที่ขาดหายไป

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุกระดูกหักและมีกระดูกหายไปบางส่วนที่มีขนาดใหญ่ ยังคงมีความยุ่งยากและซับซ้อนในการรักษาเพื่อที่จะให้กระดูกติดและได้ผลลัพธ์ที่ดี บทความนี้นำเสนอผู้ป่วยชายไทย อายุ16ปี ประสบอุบัติเหตุขี่รถมอเตอร์ไซค์ชนกับรถยนต์ มีบาดแผลฉีกขาดที่ต้นขาขวาขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร และมีปลายกระดูกที่หักโผล่ออกมาจากบาดแผล (open fracture Gustilo IIIA)เอกซเรย์พบมีกระดูกต้นขาหายไปขนาดประมาณ 12 เซนติเมตร

การรักษาในผู้ป่วยรายนี้ มีการผ่าตัดล้างทำความสะอาดบาดแผลและกระดูกที่หัก รวมทั้งตัดเนื้อเยื่อที่สกปรกและฉีกขาดแล้วยึดตรึงกระดูกด้วย external fixation เมื่อแผลดีแล้วจึงมีการใส่ cement spacer บริเวณที่กระดูกหายไปเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาหุ้ม (induced membrane technique) หลังจากนั้น 3 เดือนนำ cement spacer ออกและใส่ bone allograftแล้วยึดตรึงกระดูกด้วย plateหลังจากตรวจติดตามผู้ป่วยพบมีการติดของกระดูกที่ระยะเวลา 6 เดือน

References

1. Gawri V, Garg Y, Singh D, et al. Complex open distal femur fracture managed by primary autogenous fibular graft in conjunction with DFLP-a case report. J Clin Diagn Res. 2015;9(11):1-3.

2. Tu YK, Yen CY, Yeh WL, et al. Reconstruction of posttraumatic long bone defect with free vascularized bone graft. ActaOrthopScand. 2001;72(4):359-64.

3. Masquelet AC, Begue T. The concept of induced membrane for reconstruction long bone defects.Orthop Clin North Am. 2010;41(1):27-37.

4. Mitchell SE, Keating JF, Robinson CM. The treatment of open femoral fractures with bone loss. J Bone Joint Surg Br. 2010;92-B(12):1678-84.

5. Masquelet AC. Induced membrane technique : pearls and pitfalls. J Orthop Trauma. 2017;31Suppl 5:36-8.

6. Aponte-Tinao LA, Ayerza MA, Muscolo DL, et al. Should fractures in massive intercalary bone allografts of the lower limb be treated with ORIF or with a new allografts. ClinOrthopRelat Res. 2015;473:805-11.

7. Wang X, Luo F, Huang K, et al. Induced membrane technique for the treatment of bone defects due to post-traumatic osteomyelitis. Bone Joint Res. 2016;5(3):101-5.

8. Karger C, Kishi T, Schneider L, et al. Treatment of posttraumatic bone defects by the induced membrane technique. OrthopTraumatol Surg Res. 2012;98(1):97-102.

9. Christon C, Oliver RA, Yu Y, et al. The masquelet technique for membrane induction and the healing of ovine critical sized segmental defects. PLoS ONE. 2014;9(12):1-19.

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30