การพัฒนาการจัดการโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันผ่านช่องทางด่วน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • เนตรชนก บุญจร พ.บ., กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

โรคสมองขาดเลือดเฉียบพลัน, ยาละลายลิ่มเลือด, ช่องทางด่วนโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลในการพัฒนาการจัดการผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันผ่านช่องทางด่วน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

วิธีการศึกษา: ศึกษาเปรียบเทียบผลของการพัฒนาการจัดการผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันโดยระยะเวลาแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ระยะก่อนพัฒนาเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2561 จำนวนผู้ป่วย 21 ราย และระยะหลังพัฒนา เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2562 จำนวนผู้ป่วย 29 ราย โดยวัดผลจากระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลจนกระทั่งได้รับยาละลายลิ่มเลือด (door-to-needle time) ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการโรงพยาบาลจนกระทั่งได้รับยาละลายลิ่มเลือด (onset-to-treatment time) ผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดที่เกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งครอบคลุม symptomatic intracranial hemorrhage (sICH) ที่ได้รับการผ่าตัดและเสียชีวิต และ Barthel indexระหว่างก่อนรับเข้าโรงพยาบาลและก่อนจำหน่ายกลับบ้าน

ผลการศึกษา: ในกลุ่มผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลัน การพัฒนาการให้ยาละลายลิ่มเลือด ณ ห้องฉุกเฉินพบว่า ระยะก่อนพัฒนาผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดจำนวน 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.85 และหลังพัฒนาพบว่าเพิ่มเป็น 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.76 โดยมีระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้ป่วยได้รับยาหลังมาถึงโรงพยาบาลระยะก่อนพัฒนาใช้เวลาเฉลี่ย 79.2 ± 30.6 นาที และหลังพัฒนาระยะเวลาเฉลี่ยลดลงเป็น 59.0 ± 22.5 นาที นอกจากนี้อัตราผู้ป่วยได้รับยาภายใน 60 นาที ระยะก่อนพัฒนามีจำนวน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.3 ระยะหลังพัฒนาเพิ่มเป็น 19 ราย คิดเป็นร้อยละ 65.5 ส่วนภาวะแทรกซ้อนในการเกิดภาวะเลือดออกในสมองและมีอาการแย่ลงหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด ระยะก่อนพัฒนาพบจำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.76 ของจำนวนผู้ป่วยได้รับยาทั้งหมดและเสียชีวิต หลังพัฒนาเกิดภาวะเลือดออกในสมองและมีอาการแย่ลง หลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.89 และเสียชีวิต จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.45 ของจำนวนผู้ป่วยได้รับยาทั้งหมด

สรุป: การพัฒนาระบบการจัดการโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันผ่านช่องทางด่วน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ กล่าวคือ ทำให้จำนวนผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดเพิ่มขึ้น ลดระยะเวลาการได้รับยาละลายลิ่มเลือดของผู้ป่วยหลังจากมาถึงโรงพยาบาล และพบการเกิดภาวะแทรกซ้อนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

 

References

เอกสารอ้างอิง
1. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. การสูญเสียปีสุขภาวะ Disability-Adjusted LifeYears: DALYs รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2557. นนทบุรี: เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์; 2560.

2. กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2562 ให้ประชาชนรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง ลดความเสี่ยงเป็นอัมพาต [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 16 กรกฎาคม 2563]; เข้าถึงได้จาก: https://gnews.apps.go.th/news?news=49435.

3. Prabhakaran S, Ruff I, Bernstein RA. Acute stroke intervention: a systemic review. JAMA. 2015; 313 (14): 1451-62. doi: 10.1001/jama.2015.3058.

4. Jauch EC, Saver JL, Adams Jr HP, et al. Guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke: a guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke. 2013; 44 (3): 870-947. doi: 10.1161/STR.0b013e318284056a.

5. Lokeskrawee T, Muengtaweepongsa S, Patumanond J, et al. Prognostic parameters for symptomatic intracranial hemorrhage after intravenous thrombolysis in acute ischemic stroke in an asian population. Curr Neurovasc Res. 2017; 14 (2): 169-76. doi: 10.2174/1567202614666170327163905.

6. กฤษฎา รอดประเสริฐ. Thrombolytic treatment for acute ischemic stroke : a 6-month experience at ratchaburi hospital. จุลสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย. 2555; 11: 19-24.

7. ธานินทร์ โลเกศกระวี, ชดาภา บุญศรี, นันท์นลิน นาคะกุล, และคนอื่นๆ. การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน จังหวัดลำปาง. ลำปางเวชสาร. 2555; 33 (2): 90-102.

8. ศิโรตม์ จันทรักษา, สมเกียรติ เทียมเก่า, กรรณิการ์ คงบุญเกียรติ. Stroke management in accidental and emergency department in srinagarind hospital. วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2555; 7: 30-41.

9. วรวรรณ ทองสง. การพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ปีพ.ศ. 2553-2554. จุลสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย. 2556; 12: 12-8.

10. สมปอง เจริญวัฒน์. ผลการรักษาผู้ป่วยเส้นเลือดสมองอุดตันเฉียบพลันในโรงพยาบาลชัยภูมิโดยใช้ระบบทางด่วนพิเศษ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2557; 23: 687-94.

11. อุไร คำมาก, ศิริอร สินธุ. ระยะเวลาให้ยาละลายลิ่มเลือดต่อการฟื้นตัวด้านระบบประสาทของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลันโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2558; 16: 106-13.

12. เอื้อมพร กาญจนรังสิชัย, วนิดา ประดุจจักราพล, ดวงใจ ลาพร, และคนอื่นๆ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2558; 33 (1): 12-22.

13. จิราพร บุญโท. ผลการรักษาภาวะสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันโดยการใช้ยาละลายลิ่มเลือดในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2558; 34: 297-306.

14. ธารารัตน์ ส่งสิทธิกุล, อรวรรณ อนามัย. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันที่รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2559; 26: 142-53.

15. อนุวรรตน์ บุญส่ง. ผลของการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย. 2560; 33: 25-31.

16. อาคม อารยาวิชานนท์. Stroke Unit แห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย. 2560; 33: 70-8.

17. กรรณิกา อังกูร, จุก สุวรรณโณ. Development and evaluation of the stroke fast track care system for acute ischemic stroke patients at hatyai hospital and songkhla provincial hospital network. วารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย. 2560; 16 (2): 5-15.

18. บดีภัทร วรฐิติอนันต์, ชัชฎาพร โอศิริ. การพัฒนาการจัดการโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันผ่านช่องทางด่วน ณ ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2560; 36 (4): 251-63.

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29