การบรรเทาอาการปวดไหล่ ด้วยวิธีฝังเข็มโดยใช้จุดไกล

ผู้แต่ง

  • นิปก หลายรุ่งเรือง พ.บ., กลุ่มงานบริการทางการแพทย์ โรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

ปวดไหล่, การฝังเข็มโดยใช้จุดไกล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          ปวดไหล่เป็นปัญหาที่พบบ่อยทางคลินิก การรักษามีทั้งการรักษาแบบประคับประคองจนถึงการผ่าตัดขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการปวดไหล่ วิธีการฝังเข็มเป็นหนึ่งในวิธีรักษาแบบประคับประคองที่สามารถรักษาอาการปวดไหล่ได้ ในปัจจุบันการฝังเข็มมีทฤษฎีและหลักการที่แยกย่อยออกไปซึ่งรายงานผู้ป่วยฉบับนี้ใช้ตำรับฝังเข็มโดยใช้จุดไกล (distal acupuncture) ซึ่งประยุกต์แนวคิดของศาสตร์แพทย์แผนจีน(Traditional Chinese Medicine)Tung’s acupuncture และ Dr.Tan’s Balance Method เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการฝังเข็มโดยใช้จุดไกลในการลดอาการปวดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดไหล่

          รายงานการศึกษานี้นำเสนอผู้ป่วยจำนวน16รายที่มาด้วยอาการปวดไหล่ข้างใดข้างหนึ่ง โดยไม่มีประวัติอุบัติเหตุหรือมีภาวะสงสัยติดเชื้อบริเวณข้อไหล่หรือมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด รักษาฝังเข็มโดยใช้จุดไกลโดยแบ่งเป็นสามกลุ่มตามตำแหน่งที่ปวด คือ กลุ่มปวดไหล่ด้านข้าง(lateral shoulder pain), กลุ่มปวดไหล่ด้านหน้า (anterior shoulder pain),และ กลุ่มปวดไหล่ด้านหลัง (posterior shoulder pain)ติดตามผลโดยประเมินระดับความเจ็บปวด (visual analog scale) ณ วันที่ 0,3, 7,14,21และ30พบว่า การฝังเข็มโดยใช้จุดไกลสามารถบรรเทาอาการปวดไหล่ได้และอาการปวดไหล่ดีขึ้นทันทีหลังการฝังเข็ม

References

เอกสารอ้างอิง
1. ณัฏฐิยา ตันติศิริวัฒน์.อาการปวดและความผิดปกติของข้อไหล่ที่พบบ่อยในเวชศาสตร์ฟื้นฟู. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 2560; 61(2), 205-21.

2. สิทธิพงศ์ สุวรรณาพิสิทธิ์.Health, Diseases, and Rehabilitation in Orthopaedics [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 5 มกราคม 2563];เข้าถึงได้จาก: https://meded.psu.ac.th/binla/class05/388_571_2/Shoulder_pain/index3.html.

3. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.การฝังเข็ม-รมยาเล่ม 3 (การฝังเข็มรักษาอาการปวด).นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554:57-61.

4. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. ศาสาตร์การแพทย์แผนจีนเบื้องต้น.กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2551: 99-114.

5. สถาบันการการแพทย์ไทย-จีน กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.ตำราฝังเข็ม-ลนยาเล่ม 2.นนทบุรี: โรงพิมพ์สาวิณีการพิมพ์; 2558:174-6.

6.Lathia AT, Jung SM, Chen LX. Efficacy of acupuncture as a treatment for chronic shoulder pain. J Altern Complement Med. 2009; 15(6): 613-8. doi: 10.1089/acm.2008.0272.

7. Green S, Buchbinder R, Hetrick S. Acupuncture for shoulder pain. Cochrane Database Syst Rev. 2005; (2): CD005319.

8. Abdelkefi L, Abdelghani KB, Kassab S, et al. Acupuncture therapy for shoulder pain: A study of 30 cases. ARD.2015;74(suppl 2): 1219.

9. Kleinhenz J, Streitberger K, Windeler J, et al. Randomised clinical trial comparing the effects of acupuncture and newly designed placebo needle in rotator cuff tendinitis. Pain. 1999; 83(2): 235-41.

10. Razavi M, Jansen GB. Effects of acupuncture and placebo TENS in addition to exercise in treatment of rotator cuff tendinitis. Clin Rehabil. 2004; 18(8): 872-8.

11. Rueda Garrido JC, Vas J, Lopez DR. Acupuncture treatment of shoulder impingement syndrome : a randomized controlled trial. Complement Ther Med. 2016; 25: 92-7. doi: 10.1016/j.ctim.2016.01.003.

12. Johansson K, Bergström A, Schröder K, et al. Subacromial corticosteroid injection or acupuncture with home exercises when treating patients with subacromial impingement in primary care-a randomized clinical trial. Fam Pract. 2011; 28(4): 355-65. doi: 10.1093/fampra/cmq119.

13. เชษฐพงศ์ สัจจาผล.ประสิทธิผลของการฝังเข็มกับภาวะปวดกล้ามเนื้อและเยื่อผังผืดที่ไหล่.http://203.157.229.18/ptvichakarn62/uploads/59202_0202_20190605234414.pdf.

14. Shangqing Hu, et al. Immediate analgesia effect of contralateral needling at Tiaokou(ST38) in patients with chronic shoulder pain: a randomized controlled exploratort trial. journal of traditional chinese medical sciences, 6 (1), 95-100.

15. Chao Yang, TaoTao Lv, TianYuan Yu, et al. Acupuncture at Tiaokou (ST38) for Shoulder Adhesive Capsulitis: What Strengths Does It Have? A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials.Evid Based Complement Alternat Med. 2018; 2018: 4197659.

16. Young WC. lectures on Tung's acupuncture points study. California: American chinese medical culture center; 2008: 76-87,168-9.

17. Young WC. lectures on Tung's acupuncture therapeutic system. California: American Chinese Medical Culture Center; 2008: 94-5.

18. Richard Tan. Acupuncture 1,2,3. San Diego, Canada : Office of Dr.Richard Tan., 1-23.

19. Schröder S, Meyer-Hamme G, Friedemann T, et al. Immediate pain relief in adhesive capsulitis by acupuncture-A randomized controlled double-blinded study. Pain Med. 2017; 18(11): 2235-47. doi: 10.1093/pm/pnx052.

20. Shi GX, Liu BZ, Wang J. Motion style acupuncture therapy for shoulder pain: a randomized controlled trial. J Pain Res. 2018; 11: 2039–50. doi: 10.2147/JPR.S161951.

21. Sun KO, Chan KC, Lo SL, et al. Acupuncture for frozen shoulder. Hong Kong Med J. 2001; 7(4): 381-91.

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29