ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับ โรงพยาบาลนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ฉัตรวลัย ใจอารีย์ พย.ม., กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางคลินิก, การป้องกันการเกิดแผลกดทับ, แผลกดทับ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับและศึกษาผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับ

รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) ดำเนินการวิจัย 2 ระยะคือ 1) การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันแผลกดทับ และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันแผลกดทับ โดยการเปรียบเทียบอัตราการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการดูแลแบบเดิมกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลด้วยแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น และศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกใหม่ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงและแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการเปรียบเทียบความแตกต่างของ กลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม และอัตราการเกิดแผลกดทับโดยใช้สถิติ t-test  และ Chi – square

ผลการศึกษา: พบว่า 1) แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 หมวด คือ  การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ,  การประเมินผิวหนังและดูแลความสะอาดผิวหนัง, การดูแลภาวะโภชนาการ,  การจัดท่าพลิกตะแคงตัว,  การใช้อุปกรณ์ลดแรงกด  และการจัดโปรแกรมการให้ความรู้ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการดูแลแบบเดิมทั้งหมด 425 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลด้วยแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับที่พัฒนาขึ้น จำนวน 410 คน และ 2) พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยกลุ่มเดียวกันจำนวน 131 คน การเปรียบเทียบความแตกต่างของอัตราการเกิดแผลกดทับพบว่า อัตราการเกิดแผลกดทับของกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติทางคลินิกที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นต่ำกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ใช้แนวปฏิบัติเดิม โดยมีอัตราการเกิดแผลกดทับเท่ากับ  3.19 และ 7.05 ครั้งต่อ 1000 วันนอนกลุ่มเสี่ยง ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับใหม่ พบว่า อยู่ในระดับมาก (คะแนนรวมเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน)

สรุป: แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ ในโรงพยาบาลนครปฐมได้

References

1. ขวัญฤทัย พันธุ. การรักษาแผลกดทับสำหรับพยาบาล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

2. สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2554.

3. กองการพยาบาล. แนวทางการจัดเก็บตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลประจำปีงบประมาณ 2563. นนทบุรี: สื่อตะวัน; 2562.

4. พัชรินทร์ คำนวล, นิภาภรณ์ เชื้อยูนาน, ศิริพร เดชอุปการะกุล. (2561). ผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลพะเยา. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล; 3(2): 89-101.

5. กลุ่มการพยาบาล. แบบประเมินและเฝ้าระวังความเสี่ยงการเกิดแผลกดทับโรงพยาบาลนครปฐม (F/M-NUR-AOP-001) [ฐานข้อมูลปิด]. นครปฐม: โรงพยาบาลนครปฐม; 2559.

6. Guy H. (2012). Pressure ulcer risk assessment Guy, H., 2012, Pressure ulcer risk assessment. Retrieved June 18, 2020, from https://cdn.ps.emap.com/wpcontent/uploads/sites/3/2012/01/210124-Disc-guy.pdf.

7. National Health and Medical Research Concil [NHMRC]. (1999).A Guide to the Development Implementation and Evaluation of Clinical Practice Guidelines.Retrieved June 18,2020,from http://www.health.gov.au/nhmrc/publication/pdf/cp.30.pdf.

8. Joanna Briggs Institute. JBI Levels of Evidence [Internet]. 2014 [Cited July 18 2020]; Available from: https://joannabriggs.org/sites/default/files/2019-05/JBI-Levels-of-evidence_2014_0.pdf

9. ริณณารา สายเมฆ. การพัฒนาและการประเมินผลของการใช้แนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อการป้องกันการเกิดแผลกดทับสำหรับผู้ป่วยสูงอายุในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลชุมชน [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่]. คณะพยาบาลศาสตร์, สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2558.

10. กรรณิการ์ กันทะรักษา, ฉวี เบาทรวง, นันทพร แสนศิริพันธ์, และคณะ. (2556). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับส่งเสริม การเริ่มต้นเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาระยะแรก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. พยาบาลสาร. 39(4): 62-72.

11. ประครอง ประกิระนะ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการวางแผนจำหน่ายผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ]. คณะพยาบาลศาสตร์, ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.

12. พรศิริ เรือนสว่าง, เพ็ญพิมพ์ ขันทอง, ณัฐนันท์ หาญณรงค์, และคณะ. การจัดทำแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและการดูแลแผลกดทับในสถาบันบำราศนราดูร. วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 2557; 8(3): 1-11.

13. เรณู รุ่งพันธ์. ความตระหนักและการปฏิบัติของพยาบาลในการป้องกันแผลกดทับสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่]. คณะพยาบาลศาสตร์, สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลาณขรินทร์; 2553.

14. ชุติกาญจน์ เสงี่ยม. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการป้องกันแผลกดทับของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักที่เข้าพักรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2560; 31(1): 171-8.

15. ศิริกัญญา อุสาหพิริยกุล, ศากุล ช่างไม้, วีนัส ลีฬหกุล. ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะพึ่งพาต่อความสามารถในการลงมือปฏิบัติการดูแลเพื่อป้องกันแผลกดทับ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2562; 27(4): 21-31.

16. เสาวนีย์ เดือนเด่น, จุไรรัตน์ พงษ์ไพโรจน์, อาระยา สายยิ้ม, และคณะ. การมีส่วนร่วมของบุคลากร กองบริการการศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2558.

17. ประภาพร ดองโพธิ์. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ปทุมธานี: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2558.

18. นงลักษณ์ กํ่าภัศสร, สุวิณี วิวัฒน์วานิช. ผลของโปรแกรมการนิเทศทางคลินิก ต่อการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยและความพึงพอใจต่อการนิเทศของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารกองการพยาบาล. 2559; 43(3): 43-58.

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29