ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะกรดไหลย้อนที่คอและกล่องเสียง ในผู้ป่วยกรดไหลย้อน ในโรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
กรดไหลย้อน, กรดไหลย้อนที่คอและกล่องเสียงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะกรดไหลย้อนที่คอและกล่องเสียงในผู้ป่วยที่วินิจฉัยกรดไหลย้อน ในโรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบ cross-sectional study เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยกรดไหลย้อนที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม คำนวณขนาดตัวอย่างได้ 165 ราย เก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2562 จนครบตามขนาดตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถาม GERD (GERD questionnaire; GerdQ) แบบเก็บข้อมูล reflux symptom index (RSI) โดยแพทย์เป็นผู้กรอก ส่องตรวจกล่องเสียงโดยแพทย์เฉพาะทางโสต ศอ นาสิก บันทึก reflux finding scores (RFS) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ส่วนที่เป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ส่วนที่เป็นการวิเคราะห์เชิงอนุมานใช้
สถิติ simple linear regression และ multiple linear regression โดยประมาณค่าขอบเขตความเชื่อมั่นคิด
เป็นร้อยละ 95 (95% confidence interval; 95% CI)
ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วย 165 ราย เพศหญิง 131 ราย (ร้อยละ 78.9) อายุเฉลี่ย 54 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 13.58) ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย 25.72 กก./ม.2 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.81) ค่าเฉลี่ยระยะเวลานอนหลังรับประทานอาหาร 2.06 ชั่วโมง (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.99) ความชุกของภาวะกรดไหลย้อนที่คอและกล่องเสียงในผู้ป่วยกรดไหลย้อน 79 ราย (ร้อยละ 47.4) ในการวิเคราะห์ทางสถิติ พบสหสัมพันธ์เชิงบวก (positive correlation) ระหว่างคะแนนของแบบสอบถาม GERD กับ คะแนน RSI ระหว่างคะแนน RFS กับคะแนน RSI และ ระหว่าง ดัชนีมวลกาย กับคะแนน RSI พบสหสัมพันธ์เชิงลบ (negative correlation) ระหว่าง ระยะเวลานอนหลังรับประทานอาหารกับคะแนน RSI
สรุป: ความชุกของภาวะกรดไหลย้อนที่คอและกล่องเสียงในผู้ป่วยกรดไหลย้อนโรงพยาบาลสามพรานร้อยละ 47.4 คะแนนของแบบสอบถาม GERD ที่มากขึ้น มีผลต่อการเกิดภาวะกรดไหลย้อนที่คอและกล่องเสียงมากขึ้น ระยะเวลานอนหลังรับประทานอาหารที่มากขึ้นลดภาวะกรดไหลย้อนที่คอและกล่องเสียงลง เมื่อให้การรักษาผู้ป่วยกรดไหลย้อนควรนึกถึงภาวะกรดไหลย้อนที่คอและกล่องเสียงไว้ด้วยเนื่องจากอาจจะเกิดร่วมกันและต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาที่มากและนานกว่า
References
2. Jonasson C, Wernersson B, Hoff D.A.L, et al. Validation of the GerdQ questionnaire for the diagnosis of gastro-oesophageal reflux disease. Aliment Pharmacol Ther. 2013; 37(5): 564-72. doi: 10.1111/apt.12204.
3. พิชิต สิทธิไตรย์. Laryngopharyngeal reflux disease. ใน: เธียรไชย ภัทรสกุลชัย, พิชิต สิทธิไตรย์, นันทิการ์ สันสุวรรณ, บรรณาธิการ. Update in E.N.T.7th. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์; 2549: หน้า108-116.
4. Cheung TK, Lam PK, Wei Wi, et al. Quality of life in patients with laryngopharyngeal reflux. Digestion. 2009; 79(1): 52-7. doi: 10.1159/000205267.
5. Belafsky PC, Postma GN, Koufman JA. The validity and reliability of the reflux symptom index (RSI). J Voice. 2002; 16(2): 274-7. doi: 10.1016/s0892-1997(02)00097-8.
6. Belafsky PC, Postma GN, Koufman JA. The validity and reliability of the reflux findingsscore (RFS). Laryngoscope. 2001; 111(8): 1313-7. doi: 10.1097/00005537-200108000-00001.
7. Powell J, Cocks HC. Mucosal changes in laryngopharyngeal reflux-Prevalence, Sensitivity, Specificity and assessment. Laryngoscpe 2013; 123(4): 985-91. doi: 10.1002/lary.23693.
8. Mosli M, Alkhathlan B, Abumohssin A, et al. Prevalence and clinical predictors of LPR among patients diagnosed with GERD according to the reflux symptom index questionnaire. Saudi J Gastroenterol. 2018 Jul-Aug; 24(4): 236-41. doi: 10.4103/sjg.SJG_518_17
9. Boekema PJ, Samsom M, Smout AJ. Effect of coffee on gastro-oesophageal reflux in patients with reflux disease and healthy controls. Eur J Gastroenterol Hepatol. 1999; 11(11): 1271-6. doi: 10.1097/00042737-199911000-00015.
10. Reiter R, Heyduck A, Seufterlein T, et al. Laryngopharyngeal reflux. Laryngorhinootologie. 2018; 97(4): 238-45. doi: 10.1055/s-0044-100794
11. Chen X M, Li Y, Guo WL, et al. Prevalence of laryngopharyngeal reflux disease in Fuzhou region of China. Zhonghua Er Bi Yan Hou Tou Jing Wai Ke Za Zhi. 2016; 51(12): 909-13. doi: 10.3760/cma.j.issn.1673-0860.2016.12.006.
12. Barak N, Ehrenpreis ED, Harrison JR, et al. Gastrooesophageal reflux disease in obesity: pathophysiology and therapeutic considerations. Obes Rev. 2002; 3(1): 9-15. doi: 10.1046/j.1467-789x.2002.00049.x.
13. Wajed SA, Streets CG, Bremner CG, et al. Elevated body mass disrupts the barrier to gastroesophageal reflux. Arch Surg. 2001; 136(9): 1014-8. doi: 10.1001/archsurg.136.9.1014.
14. Kavitt RT, Vaezi MF. Diseases of the esophagus. In: Flint PW, Francis HW, Haughey BH, et al, editors. Cummings Otolaryngology head and neck surgery. 7th ed. Philadelphia: Elsevier; 2021. p.964-91.
15. Fujiwara Y, Machida A, Watanabe Y, et al. Association between dinner-to-bed time and gastroesophageal reflux disease. Am J Gastroenterol. 2005; 100(12): 2633-6.
doi: 10.1111/j.1572-0241.2005.00354.x.
16. Ness-Jensen E, Hviem K, El-Serag H, et al. Lifestyle intervention in Gastroesophageal reflux disease. Clin Gastroenterol Hepatol. 2016; 14(2): 175-82. doi: 10.1016/j.cgh.2015.04.176.
17. Kahriias PJ, Gupta RR. Mechanisms of acid reflux associated with cigarette smoking. Gut. 1990; 31(1): 4-10. doi: 10.1136/gut.31.1.4.
18. Vitale GC, Cheadle WG, Patel B, et al. The effect of alcohol on nocturnal gastroesophageal reflux. JAMA. 1987; 258(15): 2077-9.
19. Thomas FB, Steinbaugh JT, Fromker JJ, et al. Inhibitory effect of coffee on lower esophageal sphincter pressure. Gastroenterology. 1980; 79(6): 1262-6.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์