ประสิทธิผลของการจัดเรียนรู้แบบประสบการณ์ในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 สำหรับนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การทำงานเป็นทีม, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานเป็นทีมก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ 2. ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental research) กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช จำนวน 88 คน ที่เรียนในวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน 1 จำนวน 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการสอนวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 หัวข้อการอนามัยโรงเรียน คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์สำหรับผู้สอน และคู่มือสำหรับนักศึกษา 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามทักษะการทำงานเป็นทีมและ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (paired t test)
ผลการศึกษา: พบว่าหลังการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีทักษะการทำงานเป็นทีมสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 และนักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ ในระดับมากที่สุด (= 4.59; SD = 0.51)
สรุป: ผลการวิจัยทำให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ วิทยาลัยพยาบาลควรสนับสนุนให้อาจารย์นำวิธีการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในวิชาอื่นๆ เนื่องจากเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานเป็นทีมเพิ่มขึ้น
References
2. กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา; 2542.
3. พิริยลักษณ์ ศิริศุภลักษณ์. การสอนนักศึกษาพยาบาลเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2556; 19(2): 5-19.
4. ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
5. Kolb AY, Kolb DA. Learning styles and learning spaces: Enhancing experiential learning in higher education. Academy of Management Learning & Education. 2005; 4(2): 193-212.
6. สายฝน เอกวรางกูร, อุบุญรัตน์ ธุรีราช. การบูรณาการกระบวนการจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การติดตามสนับสนุน และการพัฒนาเชิงบวกกับการพัฒนา สมรรถนะและความภาคภูมิใจในวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลเกื้อการุณย์. 2556; 2(20): 5-15.
7. อุไร ตั้งวิจิตรพันธ์. ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์สื่อสารทางภาษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโป่ง จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์]. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2553.
8. ศุภากร พวงยอด, สาคร อัฒจักร. การพัฒนาการเรียนรู้แบบเน้นประกอบชุดกิจกรรม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อการเรียนวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2559; 10(ฉบับพิเศษ): 886-902.
9. วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย. การเรียนรู้จากการปฏิบัติ: การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน. วารสารพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2553; 28(4): 36-44.
10.กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสําหรับบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2550
11. นำโชค วัฒนานัย, พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์, ดวงกมล โพธิ์นาค. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ เรื่องจลนศาสตร์หุ่นยนต์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2559; 10(4): 52- 64.
12. นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. การประยุกต์แนวคิดการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ประสบการณ์เป็นฐานสู่การปฏิบัติ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2553; 24(3): 101-16.
13. ดวงเดือน เทพนวล. การพัฒนาพฤติกรรมต้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชกัฏเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. 2556; 14(2): 97-108.
14. สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. ใน ดวงรัตน์ เรืองอุไร. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่. [อินเตอร์เน็ต]. (วันที่ปรับปรุง 11 ธันวาคม 2555 ; เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/447142.
15. ชวนีย์ พงศาพิชณ์, นพคุณ นิศามณี,วิมล เหมือนคิด และสุนทรี ศักดิ์ศรี. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนแบบบูรณาการ : กรณีศึกษาวิชามนุษยสัมพันธ์. วารสารวารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 2551; 18(2): 63-8.
16. บุญล้อม ด้วงวิเศษ และ มนสิช สิทธิสมบูรณ์. การพัฒนารูปแบบการสอนแบบเน้นประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2560; 23(1): 67-84.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์