ความถูกต้องในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมด้วยดิจิทัลแมมโมแกรมร่วมกับอัลตร้าซาวนด์ความถี่สูง ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย BIRADS 4 และ 5 ในโรงพยาบาลราชบุรี
คำสำคัญ:
BIRADS, โรคมะเร็งเต้านม, แมมโมแกรม, อัลตร้าซาวนด์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ความถูกต้องในการรายงานผลแมมโมแกรมร่วมกับการตรวจอัลตร้าซาวนด์เต้านมโดยเทียบกับการตรวจชิ้นเนื้อในโรงพยาบาลราชบุรี และเพื่อศึกษาอัตราการตรวจพบมะเร็งเต้านม ต่อการตรวจ 1,000 ราย (cancer detection rate)
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบเก็บย้อนหลังวิเคราะห์ข้อมูลผลการตรวจแมมโมแกรมร่วมกับการตรวจอัลตร้าซาวนด์ความถี่สูงเต้านมโดยเทียบกับการตรวจชิ้นเนื้อในโรงพยาบาลราชบุรี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 ถึง 31 ธันวาคม 2562 ทั้งหมด 13,981 คน คำนวณสถิติร้อยละ จากโปรแกรม SPSS version 21 ค่า พยากรณ์ผลบวก ( positive predictive value, biopsy performed, PPV3 ) และค่า cancer detection rate ( CDR ) คิดเทียบกับการตรวจ 1,000 ราย
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รายงานผล BIRADS 4 และ 5 ทั้งหมด 1,008 ราย มี 475 ราย ที่ผลพยาธิวิทยาเป็นมะเร็งเต้านม ค่าพยากรณ์ผลบวก ของ BIRADS 4 = 27.3% BIRADS 5= 90.2% คำนวณค่าพยากรณ์บวกของผล BIRADS 4 และ 5 รวมกัน (PPV3) ได้ ร้อยละ 59.1 พยาธิสภาพที่ตรวจพบมากที่สุด คือ Invasive ductal carcinoma อัตราการตรวจเจอมะเร็งเต้านมเท่ากับ 33.97 ต่อการตรวจ 1,000 ราย
สรุป: การรายงานผลแมมโมแกรมร่วมกับอัลตร้าซาวด์ความถี่สูงแบบBIRADS ในโรงพยาบาลราชบุรีมีความถูกต้องแม่นยำในระดับสูง เป็นประโยชน์เพื่อคาดการณ์โอกาสเป็นมะเร็งได้ และ การศึกษาในครั้งนี้ส่งผลต่อการปรับระบบเพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจชิ้นเนื้อยังมีความจำเป็นก่อนการผ่าตัด
References
2. Imsamran W, Pattatang A, Supattagorn P, et al. Cancer in Thailand Vol.IX, 2013-2015. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
3. D’Orsi CJ, Sickles EA, Mendelson EB, et al. Analysis of medical audit data: acceptable ranges of diagnostic mammography performance. ACR BI-RADS® Atlas. Breast Imaging Reporting and Data System. Reston: American College of Radiology; 2013: 593.
4. D’Orsi CJ, Sickles EA, Mendelson EB, et al. ACR BI-RADS® Atlas. Breast Imaging Reporting and Data System. Reston: American College of Radiology; 2013.
5. Wiratkapun C, Lertsithichai P, Wibulpholprasert B. Positive Predictive Value of Breast Cancer in the Lesions Categorized as BI-RADS Category 5. J Med Assoc Thai. 2006; 89(8): 1253-9.
6. Raza S, Chikarmane SA, Neilsen SS, et al. BIRADS 3,4 and 5 lesions: value of US in manangement follow up and outcome. Radiology. 2008; 248(3): 773-81.
7. Badu-Peprah A, Adu-Sarkodie Y. Accuracy of Clinical Diagnosis, Mammography and Ultrasonography in Preoperative Assessment of Breast Cancer. Ghana Med J. 2018; 52(3): 133-9.
8. Stavros AT, Freitas AG, de Mello GGN, et all. Ultrasound Positive Predictive Values by BI-RADS Categories 3-5 for Solid Masses: An Independent Reader Study. Eur Radiol. 2017; 27(10): 4307-15.
9. Wongmaneerung P, Somwongprasert A, Watcharachan K, et al. Positive Predictive Value of BI-RADS 4 and 5 Mammography in Patients with Non-palpable Breast Mass. Thai Journal of Surgery. 2015; 36: 116–9.
10. Krzysztof K, Natalia S, Paweł G, et al. Evaluation of the positive predictive value (PPV3) of ACR BI-RADS category 4 and 5 based on the outcomes of Invasive Diagnostic Office in an outpatient clinic. Pol J Radiol. 2019; 84: e185–e9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์