การเปลี่ยนแปลงของค่าโพแทสเซียมในเลือด หลังรับประทานยาโพลีเอธิลีนไกลคอลเพื่อเตรียมลำไส้ ในผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องทางก้นแบบไม่ฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน

ผู้แต่ง

  • สุทัศนา ชัยมานะการ พ.บ., โรงพยาบาลกระทุ่มแบน

คำสำคัญ:

ส่องกล้องทางก้น, โพลีเอธิลีนไกลคอล, เตรียมลำไส้, โพแทสเซียมต่ำ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: หาอุบัติการณ์การเกิดภาวะโพแทสเซียมต่ำในเลือด หลังจากการรับประทานโพลีเอธิลีนไกลคอล ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโพแทสเซียมต่ำในเลือดกับอายุ และเวลาที่รับประทานโพลีเอธิลีนไกลคอล ในผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องทางก้นแบบไม่ฉุกเฉินในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน

วิธีการศึกษา: การศึกษาโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง ในผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องแบบไม่ฉุกเฉินในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ผู้ป่วยจะได้รับประทานโพลีเอธิลีนไกลคอลก่อนส่องกล้องเพื่อเตรียมลำไส้ และตรวจหาค่าโพแทสเซียมในเลือดหลังรับประทาน เวลา 7.00 น. ผู้ป่วยที่มีภาวะโพแทสเซียมต่ำก่อนได้รับยา มีโรคไตวายเรื้อรัง ได้รับยาขับปัสสาวะจะถูกคัดออกจากการศึกษา ข้อมูลด้านอายุและเวลาในการรับประทานยาจะถูกเก็บมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับระดับโพแทสเซียมในเลือด โดยค่าโพแทสเซียมในเลือดที่ต่ำ จำกัดความหมายถึง ค่าโพแทสเซียมที่ต่ำกว่า 3.5 mmol/L

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 400 ราย ที่เข้ารับการส่องกล้องทางก้นแบบไม่ฉุกเฉิน พบว่ากลุ่มที่มีระดับโพแทสเซียมต่ำในเลือดมีจำนวน 76 ราย มีค่าเฉลี่ยที่ 3.35 mmol/L ( SD = 0.09 ) สัมพันธ์กับอายุที่มากกว่า 60 ปีมากที่สุด ร้อยละ 23 เปรียบเทียบแล้วมากกว่าอายุอื่น 1.82 เท่า เวลาที่รับประทานยาที่ทำให้ระดับโพแทสเซียมต่ำมากที่สุดคือ เวลา 19.00 น. วันก่อนส่องกล้อง คิดเป็นร้อยละ 44.7 เปรียบเทียบแล้วมากกว่าช่วงเวลารับประทานครั้งเดียวอื่น 3.81 เท่า ส่วนเวลาที่รับประทานสองครั้ง เวลา 19.00 น.ร่วมกับ 6.00 น. พบร้อยละ 12.5 เปรียบเทียบแล้วมากกว่าช่วงเวลาที่รับประทานสองครั้งอื่น 3.02 เท่า ( p-value < .05 )

สรุป: ในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 60 ปี หรือได้รับโพลีเอธิลีนไกลคอลในเวลา 19.00 น. ในวันก่อนส่องกล้องทั้งในกลุ่มที่ได้รับโพลีเอธิลีนไกลคอลครั้งเดียวและสองครั้ง มีโอกาสเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำได้ การตรวจหาระดับโพแทสเซียมในเลือดหลังรับประทานโพลีเอธิลีนไกลคอลจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรทำก่อนการส่องกล้อง

References

1. Davis GR, Santa Ana CA, Morawski SG, et al. Development of lavage solution associated with minimal water and electrolyte absorption or secretion. Gastroenterology. 1980; 78 (5 Pt 1): 991-5.
2. Jansen SV, Goedhard JG, Winkens B, et al. Preparation before colonoscopy A randomized controlled trial comparing different regimes. European journal of gastroenterology and hepatology. 2011; 23(10): 897-902. doi: 10.1097/MEG.0b013e32834a3444.
3. Kumar AS, Beutler BL, Attard TM. One-day oral polyethylene glycol based cleanout is effective for pre-colonoscopy preparation in children. BMC gastroenterol. 2018; 18(1): 170. doi: 10.1186/s12876-018-0895-7.
4. Parra-Blanco A, Ruiz A, Alvarez-Lobos M, et al. Achieving the best bowel preparation for colonoscopy. World J Gastroenterol. 2014; 20(47): 17709-17726. doi: 10.3748/wjg.v20.i47.17709.
5. Pontone S, Angelini R, Standoli M, et al. Low-volume plus ascorbic acid vs high-volume plus simethicone bowel preparation before colonoscopy. World J Gastroenterol. 2011; 17(42): 4689-4695. doi: 10.3748/wjg.v17.i42.4689.
6. Kan WC, Wang HY, Chen CC, et al. Intermediate bioelectrolyte changes in a population undergoing health examinations. Nephron Dial Transplant. 2012; 27(2): 752-7. doi: 10.1093/ndt/gfr189.
7. Ho JM, Cavalcanti RB. A shocking bowel prep: severe electrolyte disturbances following polyethylene glycol-based bowel preparation. J Am Geriatr Soc. 2009; 57(9): 1729-30. doi: 10.1111/j.1532-5415.2009.02416.x.
8. Reumkens A, Masclee AA, Winkens B, et al. Prevalence of hypokalemia before and after bowel preparation for colonoscopy in high-risk patients. Gastrointest Endosc. 2017; 86(4): 673-9. doi: 10.1016/j.gie.2017.01.040.
9. Man-Wai Ho J, Juurlink DN, Cavalcanti RB. Hypokalemia following polyethylene glycol-based bowel preparation for colonoscopy in older hospitalized patients with significant comorbidities. The Annals of Pharmacotherapy. 2010; 466-70.
10. Bryant RV, Schoeman SN, Schoeman MN. Shorter preparation to procedure interval for colonoscopy improves quality of bowel cleansing. Intern Med J. 2013; 43(2): 162-8. doi: 10.1111/j.1445-5994.2012.02963.x.
11. Seo EH, Kim To, Park MJ. et al. Optimal preparation-to-colonoscopy interval in split-dose PEG bowel preparation determines satisfactory bowel preparation quality: an observational prospective study. Gastrointest Endosc. 2012; 75(3): 583-90. doi: 10.1016/j.gie.2011.09.029
12. ASGE Standards of Practice Committee, Saltzman JR, Cash BD. Bowel preparation before colonoscopy. Gastrointest Endosc. 2015; 81(4): 781-94. doi: 10.1016/j.gie.2014.09.048.
13. Hassan C, Bretthauer M, Kaminski MF, et al. Bowel preparation for colonoscopy: European Society of Gastrointestinal Endoscopy ( ESGE ) Guideline. Endoscopy. 2013; 45(2): 142-50. doi: 10.1055/s-0032-1326186.
14. Martin RS, Panese S, Virginillo M, et al. Increased secretion of potassium in the rectum of humans with chronic renal failure. Am J kidney Dis. 1986; 8(2): 105-10. doi: 10.1016/s0272-6386(86)80120-2.
15. Mathialahan T, Maclennan KA, Sandle LN, et al. Enhanced large intestinal potassium permeability in end-stage renal disease. J pathol. 2005; 206(1): 46-51. doi: 10.1002/path.1750.
16. Marti G, Schwarz C, Leichtle AB, et al. Etiology and symptoms of severe hypokalemia in emergency department patients. Eur J Emerg Med. 2014; 21(1): 46-51. doi: 10.1097/MEJ.0b013e3283643801.

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29