ผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยเด็กโรคหืดหลังจากการใช้การตรวจสไปโรเมตรีย์ประเมิน สมรรถภาพปอดในคลินิกเด็กโรคหืด โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ผู้แต่ง

  • สุธิดา ชีวะอิสระกุล พ.บ.,

คำสำคัญ:

อัตราระดับควบคุมอาการโรคหืด, อัตราการไหลของอากาศ, หายใจออกที่สูงที่สุด, สไปโรเมตรีย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอัตราระดับอาการโรคหืดที่ควบคุมได้ อัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด (PEFR) จากการวัดด้วยเครื่องวัดความเร็วสูงสุดของลมที่เป่าออกได้ (peak flow meter) ของผู้ป่วยเด็กโรคหืดก่อนและหลังการใช้การตรวจสไปโรเมตรีย์ในการประเมินสมรรถภาพปอดเพื่อติดตามผลการรักษา

วิธีการศึกษา: ศึกษาย้อนหลังแบบกึ่งทดลองในผู้ป่วยเด็กโรคหืดอายุ 5 ปีขึ้นไป ที่รักษาในคลินิกเด็กโรคหืดโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2562 ข้อมูลผู้ป่วยถูกเก็บและแบ่งเป็นกลุ่มก่อนและกลุ่มหลังการใช้การตรวจสไปโรเมตรีย์ในการติดตามผลการรักษาประเมินผลที่ 6 เดือน เปรียบเทียบอัตราระดับควบคุมอาการโรคหืดตาม GINA guideline 2019 อัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือทางสถิติคือ chi-square test หรือ Fisher exact test และ unpaired t test

ผลการศึกษา: หลังจากการใช้การตรวจสไปโรเมตรีย์ในการติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 6 เดือน พบผู้ป่วยโรคหืดระดับ partly controlled และ uncontrolled  มีจำนวนลดลงแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 11.4 กับ ร้อยละ 1.9 และ ร้อยละ 6.3 กับ ร้อยละ 0 ,p-value < .445) วัด peak flow meter พบค่า % predicted PEFR เฉลี่ยสูงขึ้น ( 74.9 + 15.14 กับ 81.2 + 12.74, p-value < .001 ) และผู้ป่วยที่มีค่า PEFR > 80% predicted มีจำนวนเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 38.6 กับ ร้อยละ 60.8, p-value < .001) มีนัยสำคัญทางสถิติ พบการใช้ยาควบคุมโรคหืดสูงขึ้นในกลุ่ม long-acting beta-2 agonist ร่วมกับ corticosteroid มีจำนวน 107 คน (ร้อยละ 67.7) จากเดิมที่ใช้ 49 คน (ร้อยละ 31)

สรุป: การใช้การตรวจสไปโรเมตรีย์ในการติดตามการรักษาโรคหืด ทำให้แพทย์สามารถปรับยาให้เหมาะสมมากขึ้น เปรียบเทียบจากเดิมที่ใช้อาการทางคลินิกประเมินเพียงอย่างเดียว 

References

1. Trakultivakorn M. Prevalence of asthma, rhinitis, and eczema in northern Thai children from Chiang Mai (International Study of Asthma and Allergies in Childhood, ISAAC). Asian Pac J Allergy Immunol. 1999; 17(4): 243-8.
2. Vichyanond P, Jirapongsananuruk O, Visitsuntorn N, et al. Prevalence of asthma, rhinitis and eczema in children from the Bangkok area using ISAAC (International Study for Asthma and Allergy in Children) questionnaires. J Med Assoc Thai. 1998; 81(3): 175-84.
3. Global Initiative for Asthma. Global Strategy for Asthma Management and Prevention (Internet). 2019 (cited 2020 May 20). Available from:
https://ginasthma.org/wp-content/uploads/2019/06/GINA-2019-main-report-June-2019-wms.pdf
4. Louis-Philippe B, Robert P, Paul O, et al. Evaluation of asthma control by physicians and patients: Comparison with current guidelines. Can Respir J. 2002; 9(6): 417-23.
5. สุมาลี ฮั่นตระกูล, จิตลัดดา ดีโรจนวงศ์. Office spirometry. ใน: อรุณวรรณ พฤทธิพันธ์, ดุสิต สถาวร, พนิดา ศรีสันต์, หฤทัย กมลาภรณ์, บรรณาธิการ. Optimizing practice in pediatric respiratory diseases. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2554. หน้า 164-169.
6. อภิชาติ คณิตทรัพย์, มุกดา หวังวีรวงศ์. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทยสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุตราไวโอเร็ต; 2555.
7. Talissa AA, John PM , Kai R, et al. Clinical Correlates of Lung Ventilation Defects in Children with Asthma. J Allergy Clin Immunol. 2016; 137(3): 789–96.
8. Chung KF, Wenzel SE, Brozek JL, et al. International ERS/ATS Consensus Definition, Mechanisms, Evaluation and Treatment of Severe Asthma. Eur Respir J 2014; 43(2): 343-73.
9.Schifano ED, Hollenbach JP, Cloutier MM. Mismatch between asthma symptoms and spirometry: implications for managing asthma in children. J Pediatr 2014; 165: 997–1002.
10. David KH, Caroline SB, Damian R, et al. Lung function and asthma control in school-age children managed in UK primary care: a cohort study. Thorax. 2020; 75(2): 101–7. doi: 10.1136/thoraxjnl-2019-213068
11. Maria AT, Michela S, Roberta O, et al. Breathlessness perception assessed by visual analogue scale and lung function in children with asthma: a real-life study. Pediatr Allergy Immunol. 2012; 23: 537–42.
12. Baker RR, Mishoe SC, Zaitoun FH, et al. Poor perception of airway obstruction in children with asthma. J Asthma. 2000; 37(7): 613–24. doi: 10.3109/02770900009090817.
13. National Asthma Education and Prevention Program. Expert panel report 3 (EPR-3): guidelines for the diagnosis and management of asthma – summary report 2007. J Allergy Clin Immunol. 2007; 120 Suppl 5: S94–S138.
14. British Thoracic Society Scottish Intercollegiate Guidelines Network. British guideline on the management of asthma. Thorax. 2008; 63 Suppl 4: iv1–iv121.
15. Sorkness CA, Lemanske RF Jr, Mauger DT, et al. Long-term comparison of 3 controller regimens for mild-moderate persistent childhood asthma: the Pediatric Asthma Controller Trial. J Allergy Clin Immunol. 2007; 119(1): 64–72.
16. Goldberg S, Springer C, Avital A, et al. Can peak expiratory flow measurements estimate small airway function in asthmatic children?. Chest. 2001; 120(2): 482–8.
17. Eid N, Yandell B, Howell L, et al. Can peak expiratory flow predict airflow obstruction in children with asthma?. Pediatrics. 2000; 105(2): 354–8.
18. Reddel HK, Salome CM, Peat JK, et al. Which index of peak expiratory flow is most useful in the management of stable asthma? Am J Respir Crit Care Med. 1995; 151(5): 1320–25.
19. Bruce RT, Jo AD, Matthew JE, et al. Peripheral lung function in patients with stable and unstable asthma. J Allergy Clin Immunol. 2013; 131(5): 1322-8.
20. National Institutes of Allergy, Asthma, and Infectious Diseases. Standardizing Asthma Outcomes in Clinical Research: Report of the Asthma Outcomes Workshop. J Allergy Clin Immunol. 2012; 130: 1227–442.

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29