สภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • เนติยา แจ่มทิม ศษ.ด., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ความต้องการของผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

วัตุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 

วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาในประชากรผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสนามชัย จำนวน 1,800 คน คำนวณได้ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 110 คน โดยใช้โปรแกรม power analysis ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%  effect size  0.3 แบบสอบถามที่ใช้สร้างจากแนวคิดทฤษฎีสิ่งที่ต้องการจำเป็นของ Roth ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการศึกษา: พบว่า ผู้สูงอายุเป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.5 มีอายุอยู่ในช่วง 60-65 ปี ร้อยละ 30.9 มีสถานสมรส ร้อยละ 59.1 จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 79.1 และไม่ได้ประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 65.4 พบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด ร้อยละ 32.7 ปัญหาของผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุไม่มีปัญหาในการดูแลตนเองด้านร่างกาย ความต้องการและความสามารถในการดูแลตนเองด้านร่างกาย เรื่อง การอาบน้ำ การใช้ห้องส้วม การแต่งกาย การรับประทานอาหาร การลุกจากเตียง การเดิน การทรงตัว และการรับประทานยา ในระดับมาก (M = 3.83 SD = 1.08) ปัญหาในการดูแลตนเองด้านอารมณ์ ของผู้สูงอายุ โดยรวม และรายข้ออยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.65 ถึง 3.10) ยกเว้น เรื่องการมีการขัดแย้งกับผู้ที่ดูแลใกล้ชิด และการมีการขัดแย้งกับสมาชิกในครอบครัว ที่เป็นปัญหาในระดับน้อย (M = 2.26 และ 2.31) ส่วนด้านคุณค่าในตนเองพบว่า ปัญหาโดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับน้อย (M = 1.24 ถึง 2.33) ยกเว้น เรื่อง ความรุ้สึกเศร้าหมองไม่มีความสุข รู้สึกว่าตนเองเป็นภาระของคนรอบข้าง รู้สึกไม่มีใครรักหรือให้ความเคารพ และรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถสั่งสอนบุตรหลานได้ ที่พบว่าเป็นปัญหาในระดับกลาง (M = 2.34 ถึง 2.56)

สรุป: ให้พยาบาลชุมชนควรมีการประเมินปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ เพื่อจะได้วางแผนแก้ไขปัญหาได้ตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุ

References

1. National Statistical Office. Annual report 2014. Bangkok: National Statistical Office; 2015: 1-77.
2. Suphanburi Provincial Public Health Office. Population and Housing Statistics Report, Suphanburi Province 2019. Suphanburi: Suphanburi Provincial Public Health Office; n.d.
3. Wirojratana V, Amnatsue K, Sasat S, et al. Improvement of Healthcare Services for Dependent Elders.Thai Jornal of Nursing Council. 2014: 29(3): 104-15.
4. Roth, J. Needs and the needs assessment process.Evaluation News.1977,15-17.
5. Pankong P. Health status of Elderly in tron Distriot, Uttaradit Province. J ournal of the
Department of Medical Services. 2560; 42(6): 119-23.
6. Konkaew W. The Health Behavior of Elderly of Klongtumru Sub-District, Amphoe Mueang Chonburi [Master's thesis]. Chonburi: BURAPHA University; 2557.
7.Pankong P. Health status of Elderly in Tron District, Uttardit Province. J ournal of the Department of Medical Services. 2560; 42(6): 119-23.

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29