การเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน ในกลุ่มที่ได้รับยาฉีดละลายลิ่มเลือดกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาฉีดละลายลิ่มเลือด
คำสำคัญ:
โรคสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน, ยาฉีดละลายลิ่มเลือด, ผลลัพธ์การฟื้นฟูสมรรถภาพ, ผู้ป่วยในบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน ได้แก่ ค่าสมรรถภาพที่เพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพ ในกลุ่มที่ได้รับยาฉีดละลายลิ่มเลือดเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาฉีดละลายลิ่มเลือด
วิธีการศึกษา: สืบค้นข้อมูลของผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลันจากเวชระเบียน ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน จำนวนวันนอนโรงพยาบาล สมรรถภาพก่อนและหลังได้รับการฟื้นฟู (ผลต่างระหว่างคะแนนบาร์เธลก่อนจำหน่ายเทียบกับแรกรับ) ประสิทธิภาพการฟื้นฟู (อัตราส่วนระหว่างสมรรถภาพที่เพิ่มขึ้นเทียบกับระยะวันนอนโรงพยาบาล) และประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพ (ร้อยละของอัตราส่วนระหว่างสมรรถภาพที่เพิ่มขึ้นเทียบกับผลต่างของคะแนนบาร์เธลแรกรับและคะแนนสูงสุด)
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน จำนวน 76 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยาฉีดละลายลิ่มเลือดจำนวน 29 ราย (ร้อยละ 38) อายุเฉลี่ย 62.7±12.3 ปี และกลุ่มที่ไม่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดจำนวน 47 ราย (ร้อยละ 62) อายุเฉลี่ย 64.1±12.7 ปี โดยไม่พบความแตกต่างทางสถิติของข้อมูลพื้นฐาน ลักษณะทางประชากร คะแนนบาร์เธลแรกรับ (6.48±3.68 และ 6.55±3.24; p=.931) และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล (14.67±9.32 และ 13.47±7.96; p = .672) ระหว่างทั้งสองกลุ่มภายหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพพบว่าค่าเฉลี่ยสมรรถภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .029) ในกลุ่มที่ได้รับยาฉีดละลายลิ่มเลือด (6.93±2.37) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาฉีดละลายลิ่มเลือด (5.57±2.76) และมีประสิทธิผลการฟื้นฟูสมรรถภาพที่ดีกว่า (53.80±19.07 และ 43.87±22.31; p = .043) แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติประสิทธิภาพการฟื้นฟูสมรรถภาพ (0.69±0.52 และ 0.57±0.45; p = .183)
สรุป: ผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน ในกลุ่มที่ได้รับยาฉีดละลายลิ่มเลือดมีค่าเฉลี่ยสมรรถภาพที่เพิ่มขึ้นหลังการฟื้นฟูมากกว่าและประสิทธิผลการฟื้นฟูสมรรถภาพที่ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยาฉีดละลายลิ่มเลือด แต่ไม่พบความแตกต่างด้านประสิทธิภาพการฟื้นฟูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
2. Buntin MB, Colla CH, Deb P, et al. Medicare spending and outcomes after postacute care for stroke and hip fracture. Med Care. 2010; 48(9): 776–84. doi: 10.1097/MLR.0b013e3181e359df
3. Suwanwela NC. Stroke epidemiology in Thailand. J Stroke. 2014; 16(1): 1-7.
4. Hanchaiphiboolkul S, Poungvarin N, Nidhinandana S, et al. Prevalence of stroke and stroke risk factors in Thailand: Thai Epidemiologic Stroke (TES) Study. J Med Assoc Thai. 2011; 94(4): 427-36.
5. Winstein CJ, Stein J, Arena R, et al. Guidelines for adult stroke rehabilitation and recovery: a guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke. 2016; 47: e98–e169.
6. Sacco RL, Kasner SE, Broderick JP, et al. An updated definition of stroke for the 21st century: a statement for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke. 2013; 44: 2064–89
7. Powers WJ, Rabinstein AA, Ackerson T, et al. 2018 Guidelines for the Early Management of Patients With Acute Ischemic Stroke: A Guideline for Healthcare Professionals From the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke. 2018; 49(3): e46-e110.
8. Salintip K. Ineligibility of Intravenous Thrombolysis among Activated Stroke Fast Track Patients of Khon Kaen Hospital. J Thai Stroke Soc. 2019; 18(2): 15-28.
9. Rønning OM, Guldvog B. Outcome of subacute stroke rehabilitation: a randomized controlled trial. Stroke. 1998; 29(4): 779-84. doi: 10.1161/01.str.29.4.779.
10. Ozdemir F, Birtane M, Tabatabaei R, Kokino S, Ekuklu G. Comparing stroke rehabilitation outcomes between acute inpatient and non intense home settings. Arch Phys Med Rehabil. 2001; 82(10): 1375-9. doi: 10.1053/apmr.2001.25973.
11. Pattanasuwanna P, Kuptniratsaikul V. Inpatient rehabilitation outcomes in patients with stroke at Thailand’s largest tertiary referral center: a 5-year retrospective study. J Sci Res Stud. 2017; 4(8): 208-16.
12. Chen C, Koh GC, Naidoo N, et al. Trends in length of stay, functional outcomes, and discharge destination stratified by disease type for inpatient rehabilitation in Singapore community hospitals from 1996 to 2005. Arch Phys Med Rehabil. 2013; 94(7): 1342-51. doi: 10.1016/j.apmr.2013.01.006.
13. Tongchai A, Arayathanitkul K, Soankwan C, Emarat N, Chitaree R,et al. Normalized Gain: a new assessment method by using pretest and post-test scores[Internet].n.d.
[Cited 2018 October 19]. Available from URL:http://penthai.sc.mahidol.ac.th/html/articles/normalized_gain.pdf.
14. Shah S, Vanclay F, Cooper B. Efficiency, effectiveness, and duration of stroke rehabilitation. Stroke. 1990; 21(2): 241-6. doi: 10.1161/01.str.21.2.241.
15. Committee of Subacute Rehabilitation Care Project. The Thai Rehabilitation Medicine Association.Development of subacute rehabilitation program and lesson learned from the Ministry of Public Health. [Internet]. 2018. [Cited 2020 July 15]. Available from URL:http://rehabmed.or.th/fi les/book.pdf.
16. The Ministry of Public Health. Intermediate care service plan [Internet].2560. [Cited 2020 August 24]. Available from
URL: http://www.snmri.go.th/snmri/download/train/pm/Intermediate_1.pdf.
17. Dajpratham P, Meenaphant R, Junthon P, Pianmanakij S, Jan tharakasamjit S, Yuwan A. The inter-rater reliability of Barthel Index (Thai version) in stroke patients. J Thai Rehabil Med. 2006; 16:1-9.
19. Wang H, Camicia M, DiVita M, et al. Early inpatient rehabilitation admission and stroke patient outcomes. Am J Phys Med Rehabil. 2015; 94(2): 85-96. doi: 10.1097/PHM.0000000000000226.
19. Wang H, Camicia M, Terdiman J, et al. Time to in patient rehabilitation hospital admission and functional outcomes of stroke patients. PMR. 2011; 3(4): 296-304. doi: 10.1016/j.pmrj.2010.12.018.
20. Kuptniratsaikul V, Wattanapan P, Wathanadilokul U, et al. The Effectiveness and effi ciency of inpatient rehabilitation services in Thailand: a prospective multicenter study. Rehabil Process Outcome. 2016; 5: 13-8.
21. Kuptnirasaikul V, Kovindha A, Dajpratham P, et al. Main outcomes of stroke rehabilitation: a multi-centre study in Thailand. J Rehabil Med. 2009; 41(1): 54-8. doi: 10.2340/16501977-0288.
22. Pattanasuwanna P. Outcomes of Intermediate Phase Post-Stroke Inpatient Rehabilitation in Community Hospital. J Thai Rehabil Med. 2019; 29(1): 8-13.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์