อุบัติการณ์และสาเหตุของการวินิจฉัยภาวะคอกระดูกต้นขาหักที่ล่าช้า โรงพยาบาลบ้านโป่ง ในระยะเวลา 4 ปี

ผู้แต่ง

  • วุฒิชัย โล่ห์สวัสดิ์กุล พ.บ., โรงพยาบาลบ้านโป่ง

คำสำคัญ:

อุบัติการณ์, การวินิจฉัย, ภาพถ่ายทางรังสี, ภาวะคอกระดูกต้นขาหัก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และสาเหตุของการวินิจฉัยภาวะคอกระดูกต้นขาหักที่ล่าช้า ในผู้ป่วยที่มารักษา ในแผนกผู้ป่วยฉุกเฉินหรือแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลบ้านโป่ง ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาชนิดย้อนหลัง โดยทำการสืบค้นข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ที่มาตรวจรักษาในแผนกผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือแผนกผู้ป่วยนอก และได้รับการวินิจฉัยว่า มีภาวะคอกระดูกต้นขาหัก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2563 บันทึกข้อมูลประวัติการรักษา แบ่งเป็น ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ อายุ เพศ ข้างที่หัก ประวัติอุบัติเหตุ ระดับความรู้สึกตัว (Glasgow coma score) ประวัติอุบัติเหตุทางศีรษะ การตรวจพบการบาดเจ็บหลายระบบหรือมีการหักของกระดูกมากกว่าสองแห่ง แผนกตรวจโรคที่ให้การวินิจฉัย และชนิดของการผ่าตัด และ ส่วนที่ 2 ชนิดภาพถ่ายทางรังสี แบ่งลักษณะการหักของคอกระดูกต้นขา ใช้วิธีของ Garden classification วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์ (chi-square test)

ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะคอกระดูกต้นขาหัก จำนวน 145 คน โดยพบมีผู้ป่วย 37 ราย (ร้อยละ 25.3) ที่ต้องมาตรวจซ้ำที่โรงพยาบาล จึงจะได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะคอกระดูกต้นขาหัก เมื่อศึกษาเปรียบเทียบในผู้ป่วยกลุ่มที่วินิจฉัยได้ในครั้งแรก และกลุ่มวินิจฉัยที่ล่าช้า ได้แก่ เพศ อายุ กระดูกข้างที่หัก ประวัติอุบัติเหตุ ระดับความรู้สึกตัว (Glasgow coma score) ประวัติอุบัติเหตุทางศีรษะ การตรวจพบการบาดเจ็บหลายระบบหรือมีการหักของกระดูกมากกว่าสองแห่ง แผนกตรวจโรคที่ให้การวินิจฉัย และชนิดของการผ่าตัด พบว่า ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยกลุ่มวินิจฉัยได้ในครั้งแรก พบภาพถ่ายทางรังสี ชนิด Garden III และ IV (displacement) มากที่สุด จำนวน 92 ราย (ร้อยละ 85.2) ในกลุ่มวินิจฉัยที่ล่าช้า พบ ภาพถ่ายทางรังสี ชนิด Garden I และ II (non displacement) มากที่สุด จำนวน 26 ราย (ร้อยละ 70.3)  ผู้ป่วยกลุ่มวินิจฉัยที่ล่าช้า จำนวน 37 ราย มีผู้ป่วย จำนวน 33 ราย ที่ได้รับการถ่ายภาพทางรังสี สองครั้งจึงสามารถให้การวินิจฉัยภาวะคอกระดูกต้นขาหักได้ โดยภาพทางรังสี ครั้งแรก มีจำนวน 31 ราย (ร้อยละ 93.9) ที่มีการหักแบบไม่เคลื่อนที่ (non displacement) ซึ่งจัดอยู่ในรูปแบบ การหักตามการแบ่งของ Garden ชนิดที่ I กับ II แต่เมื่อถ่ายภาพทางรังสี ครั้งที่สอง พบว่า มีจำนวน 24 ราย (ร้อยละ 72.7) มีการเคลื่อนของชิ้นกระดูก (displacement) ซึ่งจัดอยู่ในรูปแบบ การหักตามการแบ่งของ Garden ชนิดที่ III กับ IV

สรุป: สาเหตุหลักของการวินิจฉัยที่ล่าช้าในผู้ป่วยที่มีภาวะคอกระดูกต้นขาหัก มีความเกี่ยวข้องกับการแปลผลถ่ายภาพทางรังสี

References

1. Santini S, Rebecatto, Bolgan I, et al. Hip fractures in elderly patients treated with bipolar hemiarthroplasty. Comparison between cemented and cementless implants. J Orthop Traumatol. 2005; 6: 80-7.
2. Elffors L. Methodology of MEDOS multi centre study of hip fracture incidence: validity and relevance considerations. Bone. 1993; 14 Suppl 1: S45-9.
3. Dennison E. Epidemiology of osteoporosis. Rheum Dis Clin North Am. 2006; 32(4): 617-29.
4. Osnes, EK, Lofthus, CM, Meyer, HE. Consequences of hip fracture on activities of daily life and residential needs. Osteoporos Int. 2004; 15(7):567-74.
5. Becker DJ, Kilgore ML, Morrisey MA. The societal burden of osteoporosis. Curr Rheumatol Rep. 2010; 12(3): 186–91.
6. Kesmezacar H. Predictors of mortality in elderly patients with an intertrochanteric or a femoral neck fracture. J Trauma. 2010; 68(1): 153-8.
7. Giversen IM.Time trends of mortality after first hip fractures. Osteoporos Int. 2007; 18(6): 721-32.
8. Keene GS, Parker MJ, Pryor GA. Mortality and morbidity after hip fractures. BMJ. 1993; 307(6914): 1248–50.
9. Pinto A, Reginelli A, Pinto F, et al. Errors in imaging patients in the emergency setting. Br J Radiol. 2016; 89(1061).
10. Kazley JM, Banerjee S, Abousayed MM. Classifications in Brief: Garden Classification of Femoral Neck Fractures. Clin Orthop Relat Res. 2018 Feb;476(2):441-445.
11. Jain R, Koo M, Kreder HJ, et al. Comparison of early and delayed fixation of subcapital hip fractures in patients sixty years of age or less. J Bone Joint Surg Am. 2002; 84(9): 1605-12.
12. Moja L, Piatti A, Pecoraro V, et al. Timing matters in hip fracture surgery: patients operated within 48 hours have better outcomes. A meta-analysis and meta-regression of over 190,000 patients. PLoS One. 2012; 7(10): e46175.
13. Simunovic N, Devereaux PJ, Sprague S, et al. Effect of early surgery after hip fracture on mortality and complications: systematic review and meta-analysis. CMAJ. 2010; 182(15): 1609-16.
14. Schmidt AH, Asnis SE, Haidukewych Gi, et al. Femoral neck fractures. Instr Course Lect. 2005; 54: 417-45.
15. Parker MJ. Missed hip fractures. Arch Emerg Med. 1992; 9(1): 23-7.
16. Eastwood HD. Delayed diagnosis of femoral-neck fractures in the elderly. Age Ageing. 1987; 16(6): 378-82.

เผยแพร่แล้ว

2021-09-27