ผลการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นของผู้มารับบริการในโรงพยาบาลนครนายก

ผู้แต่ง

  • อุมาพร นันทธีโร พ.บ., โรงพยาบาลนครนายก

คำสำคัญ:

การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น, เลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนต้น, หลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหาร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นของผู้มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของโรงพยาบาลนครนายก

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (retrospective research) ใช้การเก็บข้อมูลแบบวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling)  ในช่วงเวลา 1 ปี คือ 1 มกราคม 2561 - 31 ธันวาคม 2561 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 185 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ chi- square test

ผลการศึกษา: ข้อบ่งชี้ในการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นมากที่สุด คือ ภาวะเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนต้น 96 ราย (ร้อยละ 51.9) รองลงมาคือ อาการปวดท้อง 40 ราย (ร้อยละ 21.6) และภาวะซีด (iron deficiency anemia) 12 ราย (ร้อยละ 6.5)

          การวินิจฉัยจากการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น ได้แก่ กระเพาะอาหารอักเสบร้อยละ 46.5 แผลกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นร้อยละ 36.0 และเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหารร้อยละ 7.0 สาเหตุของเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนต้นเกิดจากแผลกระเพาะอาหารร้อยละ 47.5 รองลงมาคือ หลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหารแตกร้อยละ 29.5 และแผลลำไส้เล็กส่วนต้น ร้อยละ 18.0 นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราการมีเลือดออกซ้ำร้อยละ 26.2 ซึ่งพบว่า เป็นเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหารแตก ร้อยละ 25.0 (4 จาก 16 ราย)

สรุป: โรคกระเพาะอาหารอักเสบเป็นการวินิจฉัยโรคที่พบมากที่สุดในผู้ที่มารับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นในโรงพยาบาลนครนายก ส่วนสาเหตุที่มีเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนต้นเกิดจากแผลกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นเป็นการตรวจที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ช่วยในการหาสาเหตุ การตรวจวินิจฉัยและการวางแผนรักษาผู้ป่วย ซึ่งควรใช้เป็นการตรวจลำดับแรกในการหาสาเหตุของเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนต้น

References

1. Olokoba AB, Bojuwoye BJ. Indications for oesophagogastroduodenoscopy in Ilorin,Nigeria—a 30 month review. Niger J Clin Pract. 2010; 13(3): 260-3.
2. Duran A, Ocak T, Oztürk H. Emergency upper gastrointestinal endoscopy at the Emergency Department of Izzet Baysal Hospital: analysis of 263 patients. Med Glas (Zenica). 2013; 10(1): 144-7.
3.สมบุญ รุ่งจิรธนานนท์. Diagnostic and therapeutic esophagogastroduodenoscopy [อินเทอร์เน็ต].2553 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 27 เดือน มกราคม ปี 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.238/csc/attachments/article/159/2268.pdf
4. คมชิต ชวนัสพร. การศึกษาผลการให้บริการการส่องกล้องทางเดินอาหารในโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร อุทิศ [อินเทอร์เน็ต].2558 [เข้าถึงเมื่อ วันที่27 เดือน มกราคม ปี 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.238/csc/attachments/article/159/doctor600402.pdf
5. Shankar RR, Vikram K, Ananthakrishnan N, et al. Erosive gastroduodenitis and Helicobacter pylori infection. Med Sci Monit. 2003; 9(6): CR222-4.
6. Agyei-Nkansah A, Duah A, Alfonso M. Indications and findings of upper gastrointestinal endoscopy in patients presenting to a District Hospital, Ghana. Pan Afr Med J. 2019; 34: 82. doi: 10.11604/pamj.2019.34.82.18002.
7. Sari YS, Sander E, Erkan E, et al. Endoscopic diagnoses and CLO test results in 9239 cases, prevalence of Helicobacter pylori in Istanbul, Turkey. J Gastroenterol Hepatol. 2007; 22(11): 1706-11. doi: 10.1111/j.1440-1746.2006.04610.x.
8. Boonpongmanee S, Fleischer DE, Pezzullo JC, et al. The frequency of peptic ulcer as a cause of upper-GI bleeding is exaggerated. Gastrointest Endosc. 2004; 59(7): 788-94.
9. Saowaros V, Udayachalerm W, Wee-Sakul B, et al. Causes of upper gastrointestinal bleeding in Thai patients: review of 5,000 upper gastrointestinal endoscopy. J Med Assoc Thai. 1994; 77(11): 561-5.
10. Kate V, Ananthakrishnan N, Badrinath S, et al. Helicobacter pylori infection and erosive gastritis. J Assoc Physicians India. 1998; 46(5): 436-7
11. Rubin TA, Murdoch M, Nelson DB. Acute GI bleeding in the setting of supra therapeutic international normalized ratio in patients taking warfarin: endoscopic diagnosis, clinical management, and outcomes. Gastrointest Endosc. 2003; 58(3): 369-73.

เผยแพร่แล้ว

2021-09-27