อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะเลือดออกซ้ำในผู้ป่วยเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบนที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาล โดยไม่ได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนในโรงพยาบาลราชบุรี
คำสำคัญ:
การเกิดเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบนซ้ำภายใน 30 วัน, โรคเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบนที่ไม่ได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภาวะเลือดออกซ้ำในผู้ป่วยภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบน ที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลราชบุรี โดยไม่ได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบพรรณนาย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบน ที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลราชบุรี โดยไม่ได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2563 ระยะเวลา 2 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกการเก็บข้อมูลปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภาวะเลือดออกซ้ำในผู้ป่วยภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบน ที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลราชบุรี โดยไม่ได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน ข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วย นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบนซ้ำภายใน 30 วัน ด้วยการวิเคราะห์ t-test independent, chi-square test
ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยโรคเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบน ในระยะเวลาข้างต้นทั้งหมด 992 ราย มีจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลราชบุรี โดยไม่ได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน ทั้งหมด 277 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.9 พบอุบัติการณ์การเกิดเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบนซ้ำภายใน 30 วัน จำนวน 34 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.3 การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า โรคตับแข็ง ลักษณะเลือดแดงสดที่จากสายสวนล้างกระเพาะอาหาร สัญญานชีพไม่คงที่ ค่าความเข้มข้นเลือดแรกรับขณะนอนโรงพยาบาล ปริมาณเลือดที่ได้รับ ระยะเวลาที่งดน้ำงดอาหาร ระยะเวลาที่ให้ยาลดกรดทางหลอดเลือด การได้ยา tranexamic acid มีผลต่อการเกิดเลือดออกซ้ำภายใน 30 วัน ในผู้ป่วยภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบนที่ไม่ได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ระดับ BUN มีผลต่อการเกิดเลือดออกซ้ำภายใน 30 วัน ในผู้ป่วยภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบนที่ไม่ได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) ส่วนปัจจัยอื่น ได้แก่ อายุ การสูบบุหรี่ โรคไตวายเรื้อรัง ไม่มีผลต่อการเกิดเลือดออกซ้ำภายใน 30 วัน ในผู้ป่วยภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบนที่ไม่ได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน
สรุป: อุบัติการณ์การเกิดเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบนซ้ำ ในผู้ป่วยภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบน ที่ไม่ได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน โรงพยาบาลราชบุรี ไม่แตกต่างจากการศึกษาที่ทำในสถาบันอื่นๆ อย่างไรก็ตามการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนยังแนะนำให้ทำในผู้ป่วยเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบน ทุกรายที่มีข้อบ่งชี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดเลือดออกซ้ำในผู้ป่วยภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบนที่ไม่ได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหาร ช่วยพิจารณาเลือกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำในการเกิดเลือดออกซ้ำ แต่มีโรคร่วมที่ไม่พร้อมในการส่องกล้องในช่วงการนอนโรงพยาบาลครั้งนั้น เพื่อรักษาเป็นแบบไม่ส่องกล้องทางเดินอาหารไปก่อน และส่องกล้องภายหลังเมื่อพร้อม นอกจากนี้ผลการศึกษาปัจจัยยังใช้ประยุกต์ในการจัดทำระบบแนวทางคัดกรองผู้ป่วยเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบนที่สมควรได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน แนวทางการรักษาโรคเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบนโรงพยาบาลราชบุรี เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดเลือดออกซ้ำ
References
2. Hreinsson JP, Kalaitzakis E, Gudmundsson S, et al. Upper gastrointestinal bleeding: Incidence, etiology and outcome in a population-based setting. Scand J Gastroenterol. 2013;48(4): 439-47. doi: 10.3109/00365521.2012.763174
3. รังสันต์ ชัยกิจอำนวยโชค, ชยันทร์ธร ปทุมานนท์. คะแนนที่ใช้ทำนายความรุนแรงของภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นปี .วารสารวิชาการสาธารณสุข 2559; 25(3): 423-35.
4. Chaichana C. Correlation Between the Glasgow Blatchford score and Outcomes of Acute Upper Gastrointestinal Bleeding in Phetchabun hospital . Journal of Health Science. 2014; 23(2): 305-12.
5. สมาคมแพทย์ส่องกล้องทางเดินอาหารไทย. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมแพทย์ส่องกล้องทางเดินอาหารไทย; 2557.
6. Forrest JA, Finlayson ND, Shearman DJ. Endoscopy in gastrointestinal bleeding. Lancet. 1974; 2(787): 394-7. doi: 10.1016/s0140-6736(74)91770-x.
7. Guglielmi A, Ruzzenente, A, Sandri, M et al. Risk assessment and prediction of rebleeding in bleeding gastroduodenal ulcer. Endoscopy. 2002; 34(10): 778–86. doi: 10.1055/s-2002-34261.
8. Salem RO, Laposata M. Effects of Alcohol on Hemostasis., Am J Clin Pathol. 2005; 123 Suppl: s96–105. doi: 10.1309/113N8EUFXYUECCNA.
9. ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์. พยาธิสรีรวิทยาทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์; 2552.
10. Kärkkäinen JM, Miilunpohja S, Rantanen T, et al. Alcohol Abuse Increases Rebleeding Risk and Mortality in Patients with Non-variceal Upper Gastrointestinal Bleeding. Dig Dis Sci. 2015; 60(12): 3707-15. doi: 10.1007/s10620-015-3806-6.
11. Tripodi A, Primignany M, Mannucci PM. Abnormalities of hemostasis and bleeding in chronic liver disease: the paradigm is challenged. Intern Emerg Med. 2010; 5(1): 7–12. doi: 10.1007/s11739-009-0302-z.
12. Wong SKH, Yu LM, Lau JYW, et al. Prediction of therapeutic failure after adrenaline injection plus heater probe treatment in patients with bleeding peptic ulcer. Gut. 2002; 50(3): 322–5. doi: 10.1136/gut.50.3.322.
13. Bornman PC, Theodorou NA, Shuttleworth RD, et al. Importance of hypovolaemic shock and endoscopic signs in predicting recurrent haemorrhage from peptic ulceration: a prospective evaluation. Br Med J (Clin Res Ed). 1985; 291(6490): 245-7. doi: 10.1136/bmj.291.6490.245
14. Clason AE, Macleod DA, Elton RA. Clinical factors in the prediction of further haemorrhage or mortality in acute upper gastrointestinal haemorrhage. Br J Surg. 1986; 73(12): 985-7.
15. Chung IK, Kim EJ, Lee MS, et al. Endoscopic factors predisposing to rebleeding following endoscopic hemostasis in bleeding peptic ulcers. Endoscopy. 2001; 33(11): 969–75.
16. Cannon JW. Hemorrhagic Shock. N Engl J Med. 2018; 378(4): 370-9.
17. Gerecht R. The lethal triad. Hypothermia, acidosis & coagulopathy create a deadly cycle for trauma patients. JEMS. 2014; 39(4): 56-60.
18. Tomizawa M, Shinozaki F, Hasegawa R, et al. Patient characteristics with high or low blood urea nitrogen in upper gastrointestinal bleeding. World J Gastroenterol. 2015; 21(24): 7500–5. doi: 10.3748/wjg.v21.i24.7500
19. Lin HJ, Perng CL, Lee FY, et al. Clinical courses and predictors for rebleeding in patients with peptic ulcers and non-bleeding visible vessels: a prospective study. Gut. 1994; 35(10): 1389-93.
20. Levy JH. Massive transfusion coagulopathy. Semin Hematol. 2006; 43(1 Suppl 1): S59-S63.
21. Barkun AN, Bardou M, Kuipers EJ, et al. International consensus recommendations on the management of patients with nonvariceal upper gastrointestinal bleeding. Ann Intern Med. 2010; 152(2): 101-13.
22. Bennett C, Klingenberg SL, Langholz E, et al. Tranexamic acid for upper gastrointestinal bleeding. Cochrane Database Syst Rev. 2014; 2014(11): CD006640. doi: 10.1002/14651858.CD006640.pub3.
23. Brenner A, Afolabi A, Ahmad SM, et al. Tranexamic acid for acute gastrointestinal bleeding (the HALT-IT trial): statistical analysis plan for an international, randomised, double-blind, placebo-controlled trial. Trials. 2019; 20(1): 467.
24. MacLeod IA, Mills PR. Factors identifying the probability of further haemorrhage after acute upper gastrointestinal haemorrhage. Br J Surg. 1982; 69(5): 256-8.
25. Cheung J, Yu A, LaBossiere J, et al. Peptic ulcer bleeding outcomes adversely affected by end-stage renal disease. Gastrointest Endosc. 2010; 71(1): 44-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์