ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในผู้ปกครองของผู้ป่วยสมาธิสั้น ที่มารักษาในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ผู้แต่ง

  • ภาระวี ชโลธร พ.บ., โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

คำสำคัญ:

สมาธิสั้น, ซึมเศร้า, ผู้ปกครองเด็กสมาธิสั้น

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในผู้ปกครองของผู้ป่วยสมาธิสั้น ที่มารักษาในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

วิธีการทำวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ปกครองของผู้ป่วยสมาธิสั้นที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ช่วงเดือน มิถุนายน 2563-กันยายน 2563  ทั้งผู้ป่วยเก่าและใหม่จำนวน 197 ราย โดยใช้แบบสอบถามที่ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของผู้ปกครองและผู้ป่วยสมาธิสั้น แบบสอบถาม Patient Health Questionnaire (PHQ-9) เพื่อประเมินอาการซึมเศร้าในผู้ปกครอง หากคะแนนแบบประเมินอาการซึมเศร้าเข้าเกณฑ์จะได้รับการสัมภาษณ์ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโดยจิตแพทย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละและสถิติ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ปกครอง โดยใช้ chi-square test และ multiple logistic regression

ผลการศึกษา: พบว่าผู้ปกครองของผู้ป่วยสมาธิสั้นมีภาวะซึมเศร้า ผ่านเกณฑ์เป็นกลุ่มเสี่ยง 57 ราย (ร้อยละ 28.9) และผู้ที่ได้รับการสัมภาษณ์โดยจิตแพทย์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยพบ 32 ราย (ร้อยละ16.2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครองที่มีภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ผลการเรียนเฉลี่ยของผู้ป่วยที่ดูแล (p=.002)

สรุป: ควรเฝ้าระวังและมีการคัดกรองภาวะซึมเศร้าในผู้ปกครองของผู้ป่วยสมาธิสั้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยสมาธิสั้นที่มีปัญหาด้านการเรียน และตระหนักถึงความสามารถในการเรียนของผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นร่วมด้วย

References

1. ศิริไชย หงส์สงวนศรี, คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์. โรคสมาธิสั้น. ใน: มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์, บรรณาธิการ. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 4: กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558. หน้า 541-51.
2. วิฐารณ บุญสิทธิ, ศิริไชย หงส์สงวนศรี, ปราโมทย์ สุคนิชย์, และคณะ. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผุ้ป่วยโรคสมาธิสั้นระดับโรงพยาบาลจังหวัดสำหรับกุมารแพทย์ [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 12 สิงหาคม 2557]; เข้าถึงได้จาก: http://www.thaipediatrics.org/attchfile/CPG_ADHD_Final.pdf
3. ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ, พรทิพย์ วชิรดิลก, และคณะ. ความสุขโรคสมาธิสั้นในประเทศไทย,วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2556; 21(2): 66-75.
4. วิฐารณ บุญสิทธิ. โรคสมาธิสั้น:การวินิจฉัยและการรักษา. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2555; 57(4): 373-86.
5. ชาญวิทย์ พรนภดล, วินัดดา ปิยะศิลป์, จิตราภรณ์ จิตรธร, และคณะ. การพัฒนาแบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นในเด็กและวัยรุ่นไทย อายุระหว่าง 3-18 ปี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2557; 59(4): 335-54.
6. ชาญวิทย์ พรนภดล. ผลกระทบและการดำเนินโรค. ใน: ชาญวิทย์ พรนภดล, บรรณาธิการ. โรคสมาธิสั้น. กรุงเทพฯ: ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561. หน้า347-65.
7.ดลฤดี แดงน้ำคู้. ความเครียดของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กสมาธิสั้น [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
8. อารีรัตน์ สิริพงศ์พันธ์, สุวรรณี พุทธิศรี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของมารดาผู้ป่วยสมาธิสั้น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2559; 61(3): 205-16.
9. สุวรรณี พุทธิศรี, พัชรี พรรณนาพานิช, ธนิตา ปานทั่งทอง, และคณะ. ภาวะซึมเศร้าในมารดาของเด็กสมาธิสั้น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2549; 51(3): 213-23.
10. Rockhill C, Violette H, Stoep AV, et al. Caregivers’ distress youth with attention-deficit/hyperactivity disorder and comorbid disorders assessed via telemental health. J Child Adolesc Psychopharmacol. 2013; 23(6): 379-85. doi: 10.1089/cap.2013.0019.
11. Minichil W, Getinet W, Derajew H, et al. Depression and associated factors among primary caregivers of children and adolescents with mental illness in Addis Abba,Ethiopia. BMC Psychiatry. 2019; 19: 249. doi: 10.1186/s12888-019-2228-y
12. ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, ศุภชัย จันทร์ทอง, และคณะ. ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าของแบบประเมินอาการโรคซึมเศร้า 9 คำถาม ฉบับปรับปรุงภาษากลาง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2561; 63(4): 321-34.
13. พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, นพพร ตันติรังสี, วรวรรณ จุฑา, และคณะ. ความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิต. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2559.
14. Durukan I, Erdem M, Tufan AE, et al. Depression and anxiety levels and coping strategies used by mothers of children with ADHD: a preliminary study. Anadolu Psikiyatri Derg. 2008; 9: 217-23.
15. Harrison C, Sofronoff K. ADHD and parental psychological distress:role of demographics,child behavioral characteristics,and parental cognitions. J Am Acad Child Adolesc Psychiatry. 2002; 41(6): 703-11. doi: 10.1097/00004583-200206000-00010.
16. Balushi NA, Shekaili MA, Alawi MA, et al. Prevalence and predictors of depressive symptoms among caregivers of children with attention-deficit/hyperactivity disorder attending a tertiary care facility: a cross-sectional analytical study form Muscat,Oman. Early Child Dev Care. 2019; 9: 1515-24.

เผยแพร่แล้ว

2021-09-27