การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกับการใช้ยาระงับปวดชนิด NSAIDs ที่โรงพยาบาลเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
ความดันโลหิตสูง, ยาระงับปวดชนิดไม่มีสเตียรอยด์, ความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ, ภาวะแทรกซ้อนบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงกับการใช้ยากลุ่ม NSAIDs และหาแนวทางในการควบคุมความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่จำเป็นต้องได้รับยาระงับปวดชนิด NSAIDs
วิธีการศึกษา: โครงการวิจัยนี้เป็นโครงการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative study) โดยรูปแบบการศึกษาเป็นแบบ case-control study ซึ่งใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อรวบรวมข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีทะเบียนบ้านอยู่ที่ ตำบลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี และบันทึกเวชระเบียนเกี่ยวกับประวัติการใช้ยาระงับปวดชนิด NSAIDs ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์-31 มีนาคม 2564 และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงสถิติเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมความดันโลหิตสูงและการใช้ยาระงับปวดแบบ NSAIDs
ผลการศึกษา: จากจำนวนประชากรที่เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด 110 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 64.5 เป็นเพศชายร้อยละ 35.5 พบว่ามีผู้ป่วยที่ควบคุมความโลหิตสูงได้ไม่ดีและใช้ยาระงับปวดชนิด NSAIDs จำนวน 40 คน ผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตสูงได้ไม่ดีและไม่ได้ใช้ยาระงับปวดชนิด NSAIDs จำนวน 16 คน ผู้ป่วยที่ควบคุมความโลหิตสูงได้ดีและใช้ยาระงับปวดชนิด NSAIDs จำนวน 28 คน และ ผู้ป่วยที่ควบคุมความโลหิตสูงได้ดีและไม่ได้ใช้ยาระงับปวดชนิด NSAIDs จำนวน 26 คน ค่าความสัมพันธ์ odds ratio เท่ากับ 2.32 และ ค่า 95% confidential interval (1.06, 5.11) จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงกับการใช้ยาระงับปวดชนิด NSAIDs พบว่ายากลุ่มนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้ป่วยคุมความดันโลหิตได้ไม่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: การศึกษานี้พบว่าการควบคุมความดันโลหิตไม่ดีสัมพันธ์กับการใช้ยาระงับปวดชนิด NSAIDs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงซึ่งมีแนวโน้มเป็นกลุ่มผู้สูงอายุมีโอกาสเสี่ยงที่จะควบคุมความดันโลหิตได้ไม่ดี เมื่อได้รับยาลดความดันร่วมกับยาระงับปวดชนิด NSAIDs ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็นควรลดการใช้ยาระงับปวดชนิด NSAIDs หรือ ให้ยากลุ่มอื่นทดแทนหากมีอาการปวด เช่น พาราเซตามอล เนื่องจากผลงานวิจัยพบว่า NSAIDs เป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยคุมความดันโลหิตได้ไม่ดี ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับความดันโลหิตสูงตามมาในภายหลัง
References
Jaspers L, Colpani V, Chaker L, et al. The global impact of non-communicable diseases on households and impoverishment: a systematic review. Eur J Epidemiol 2015;30(3):163–88.
Kazibwe J, Tran PB, Annerstedt KS. The household financial burden of non-communicable diseases in low- and middle-income countries: a systematic review. Vol. 19, Health Research Policy and Systems. BioMed Central Ltd; 2021.
Vandenberghe D, Albrecht J. The financial burden of non-communicable diseases in the European Union: a systematic review. Eur J Public Health 2020;30(4):833–9.
Davis BR, Vogt T, Frost PH, et al. Risk factors for stroke and type of stroke in persons with isolated systolic hypertension. Stroke 1998;29(7):1333–40.
Nawi AM, Mohammad Z, Jetly K, et al. The Prevalence and Risk Factors of Hypertension among the Urban Population in Southeast Asian Countries: A Systematic Review and Meta-Analysis. Int J Hypertens 2021;2021:6657003.
Johnson AG. NSAIDs and Blood Pressure. Drugs Aging 1998;12(1):17–27.
Snowden S, Nelson R. The Effects of Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs on Blood Pressure in Hypertensive Patients. Cardiol Rev 2011;19(4):184–91.
Pope JE, Anderson JJ, Felson DT. A Meta-analysis of the Effects of Nonsteroidal Anti-inflammatory Drugs on Blood Pressure. Arch Intern Med 1993;153(4):477–84.
Morgan T, Anderson A. The Effect of Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs on Blood Pressure in Patients Treated With Different Antihypertensive Drugs. J Clin Hypertens (Greenwich) 2003;5(1):53–7.
Johnson AG, Nguyen T v, Day RO. Do Nonsteroidal Anti-inflammatory Drugs Affect Blood Pressure? A Meta-Analysis. Annals of Internal Medicine. Ann Intern Med 1994;121(4):289–300.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์