ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนด ในโรงพยาบาลปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • วรรณพร วาณิชยเศรษฐกุล โรงพยาบาลปทุมธานี

คำสำคัญ:

ภาวะตัวเหลือง, ทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนดในโรงพยาบาลปทุมธานี

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนดที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลปทุมธานี ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2563 ถึง วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะตัวเหลือง โดยกุมารแพทย์ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลของทารกแรกเกิด ประกอบด้วย อายุครรภ์ เพศ หมู่เลือดมารดา ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ วิธีการคลอด การบาดเจ็บที่ศีรษะจากการคลอด ภาวะลิ้นติด น้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงไปจากแรกเกิดจนถึงวันที่ส่องไฟ ระดับบิลิรูบินสูงสุด หมู่เลือดทารก อายุเฉลี่ยที่เริ่มส่องไฟครั้งแรก และระยะเวลาเฉลี่ยในการส่องไฟ นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนดด้วยค่าไคสแควร์

ผลการศึกษา: จำนวนทารกแรกเกิด ทั้งหมด 360 ราย พบว่ามีความชุกของภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดที่ได้รับการส่องไฟ ร้อยละ 12.2 (44 ราย) มีภาวะลิ้นติด ร้อยละ 7.2 (26 ราย) มีภาวะติดเชื้อหลังคลอด ร้อยละ 4.4 (16 ราย) ความเข้มเลือดเฉลี่ยร้อยละ 51 (SD 5.2) ระดับไมโครบิลลิรูบินเฉลี่ย 10.1 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (SD 1.9) และพบว่าปัจจัยของวิธีการคลอดทางช่องคลอด (p= .013) และภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดภายในอายุ 72 ชั่วโมง (p= .034) มีความสัมพันธ์กับภาวะตัวเหลืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุป: ความชุกภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนดในโรงพยาบาลปทุมธานี ร้อยละ 12.2 และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะตัวเหลือง คือ วิธีการคลอด และภาวะติดเชื้อหลังคลอด (ภายในอายุ 72 ชั่วโมง) ดังนั้น ควรมีการเฝ้าระวังเพื่อวางแผนดูแลที่เหมาะสมในการช่วยป้องกันและ

References

The National Institute for Health and Care. NICE guide line jaundice. [Internet]. 2012. [cited 2018 Nov 20] Available from: www.evidence.nhs.uk/topic/jaundice.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ตัวชี้วัดและแนวทางการจัดเก็บข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2560.

Azza HA, Anna KM. Strategies for neonatal hyperbilirubinemia: A literature review. The American journal of maternal child nursing 2003;38(6):377–82.

Farhana R, Hahfuza S, Monir H. Prediction of hyperbilirubinemia in preterm newborns admitted in tertiary care teaching hospital. Bangladesh Journal Child Health 2013;37(2):85–9.

ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย. คู่มือ การดูแลทารกแรกเกิด 1. กรุงเทพฯ: หน่วยทารกแรกเกิด ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2556: หน้า 335–51

Mitra S, Rennie J. Neonatal Jaundice: etiology, diagnosis and treatment. Br J Hosp Med (Lond) 2017;78(12):699–704.

โสภาพรรณ เงินฉ่ำ. Neonatal Jaundice ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. ใน: สุรชัย ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. บรรณาธิการ. ตำรากุมารเวชศาสตร์ศิริราช: ประเด็นสำคัญในเวชปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559: หน้า 179–91.

รายงานสถิติประจำปี โรงพยาบาลปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. ปีงบประมาณ 2561–2564.

Arad I, Fainmesser P, Birkenfeld A, et al. Vacuum extraction and neonatal jaundice. [Internet]. 2009. [cited 2021 Oct 15] Available from: https://www.degruyter.com/document/doi/10.1515/jpme.1982.10.6.273/html.

สุขุมาล หุนทนทาน. การศึกษาความชุก ลักษณะความเสี่ยงทางคลินิก และผลการรักษาของทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2557;2(4): หน้า 21–34.

Carolyn GS, Luke CM, Joanne K, et al. Incidence and Risk Factors for Neonatal Jaundice among Newborns in Southern Nepal. Trop Med Int Health 2013;18(11):1317–28.

Gholamali M, Fatemah K, Ashraf M, et al. Hyperbilirubinemia and Neonatal Infection. International Journal of Pediatrics 2013;1(1): 5–12.

กินรี ชัยสวรรค์, ธนพร แย้มสุดา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. วารสารแพทย์นาวี. 2561;45(2) หน้า: 235–249.

Deborah AR, Conrad K, Sameer J. Cephalohematoma. In: StatPearls [Internet]. 2021. [cited 2021 Aug 13] Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK470192/

Block SL. Ankyloglossia: when frenectomy is the right choice. Pediatr Ann 2012;41:14–6.

Geddes DT, Langton DB, Gollow I, et al. Frenulotomy for breastfeeding infants with ankyloglossia: effect on milk removal and sucking mechanism as imaged by ultrasound. Pediatrics 2008;122: 188–94.

Ricke LA, Baker NJ, Madlon-Kay DJ, et al. Newborn tongue-tie: prevalence and effect on breast-feeding. J Am Board Fam Pract 2005;18:1–7.

เผยแพร่แล้ว

2022-03-25