ผลภาพการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองของผู้ป่วยสมองบาดเจ็บระดับความรุนแรงน้อย; การนอนโรงพยาบาลจำเป็นหรือไม่

ผู้แต่ง

  • แพง ภิญโญโชติวงศ์ พ.บ., โรงพยาบาลบางสะพาน

คำสำคัญ:

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง, การนอนโรงพยาบาล, สมองบาดเจ็บ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลภาพทางรังสีวิทยาของการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองในผู้ป่วยที่มีสมองบาดเจ็บระดับความรุนแรงน้อย จำแนกตามพยาธิสภาพที่พบ เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อสมองบาดเจ็บ และผลการนอนโรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการทางระบบประสาท ระหว่างกลุ่มที่มีผลภาพปกติและผิดปกติ

          วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียน ในผู้ป่วยอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่มีสมองบาดเจ็บระดับความรุนแรงน้อย คือ ระดับความรู้สึกตัว GCS 13–15 และได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง โดยเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย รายละเอียดการบาดเจ็บ อาการทางระบบประสาท ผลภาพการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง และติดตามผลการนอนโรงพยาบาล เพื่อวิเคราะห์ในภายหลัง

          ผลการศึกษา: ผู้ป่วยสมองบาดเจ็บระดับความรุนแรงน้อย และได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ที่เข้าเกณฑ์การวิจัยจำนวน 262 ราย มีอายุตั้งแต่ 15–96 ปี เป็นผู้ชายร้อยละ 61.8 สาเหตุการบาดเจ็บส่วนใหญ่คือ อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ ผู้ป่วยร้อยละ 77.5 มีผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองปกติ ความผิดปกติที่พบมากสุด ได้แก่ เลือดออกในเนื้อสมอง กะโหลกศีรษะแตก และเลือดออกใต้ชั้นดูราตามลำดับ ผลการนอนโรงพยาบาลสังเกตอาการ กลุ่มที่มีผลภาพผิดปกติร้อยละ 2.2 มีอาการแย่ลง ต้องส่งต่อผู้ป่วยไปพบศัลยแพทย์ระบบประสาท ส่วนในกลุ่มที่ผลภาพปกติทุกราย สามารถกลับบ้านได้โดยไม่ต้องผ่าตัดรักษา

          สรุป: ผู้ป่วยที่มีสมองบาดเจ็บระดับความรุนแรงน้อย ส่วนมากผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองปกติ โดยความผิดปกติที่พบมากสุด คือ เลือดออกในเนื้อสมอง และผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล หากผลภาพปกติ

References

Quick H. Estimating County-Level Mortality Rates Using Highly Censored Data From CDC WONDER. Prev Chronic Dis 2019;16:E76.

นครชัย เผื่อนปฐม, ธีรเดช ศรีกิจวิไลกุล. แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ (Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury). นนทบุรี: พรอสเพอรัสพลัส; 2562.

Lefevre-Dognin C, Cogne M, Perdrieau V, et al. Definition and epidemiology of mild traumatic brain injury. Neurochirurgie 2021;67(3):218–21.

Lee B, Newberg A. Neuroimaging in traumatic brain imaging. NeuroRx. 2005;2(2):372–83.

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน. ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน. 2020. [เข้าถึงเมื่อ 7 ธันวาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก: https://www.thairsc.com/data-compare.

Jeret JS, Mandell M, Anziska B, et al. Clinical predictors of abnormality disclosed by computed tomography after mild head trauma. Neurosurgery 1993;32(1):9–15.

Kavi T, Abdelhady A, DeChiara J, et al. Association of Patterns of Mild Traumatic Brain Injury with Neurologic Deterioration: Experience at a Level I Trauma Center. Cureus 2019;11(9):e5677.

Melnick ER, Szlezak CM, Bentley SK, et al. CT overuse for mild traumatic brain injury. Jt Comm J Qual Patient Saf. 2012;38(11):483–9.

Carter E, Coles JP. Imaging in the diagnosis and prognosis of traumatic brain injury. Expert Opin Med Diagn. 2012;6(6):541–54.

Wintermark M, Sanelli PC, Anzai Y, et al. Imaging evidence and recommendations for traumatic brain injury: conventional neuroimaging techniques. J Am Coll Radiol. 2015;12(2):e1–14.

Taylor CA, Bell JM, Breiding MJ, et al. Traumatic Brain Injury-Related Emergency Department Visits, Hospitalizations, and Deaths - United States, 2007 and 2013. MMWR Surveill Summ. 2017;66(9):1–16.

Tierney KJ, Nayak NV, Prestigiacomo CJ, et al. Neurosurgical intervention in patients with mild traumatic brain injury and its effect on neurological outcomes. J Neurosurg. 2016;124(2):538–45.

Borczuk P, Van Ornam J, Yun BJ, et al. Rapid Discharge After Interfacility Transfer for Mild Traumatic Intracranial Hemorrhage: Frequency and Associated Factors. West J Emerg Med. 2019;20(2):307–15.

Geijerstam af JL, Oredsson S, Britton M, et al. Medical outcome after immediate computed tomography or admission for observation in patients with mild head injury: randomised controlled trial. BMJ. 2006;333(7566):465.

Vedin T, Svensson S, Edelhamre M, et al. Management of mild traumatic brain injury-trauma energy level and medical history as possible predictors for intracranial hemorrhage. Eur J Trauma Emerg Surg. 2019;45(5):901–7.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30