การทำลายเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยสารละลายแคลเซียมไฮโปคลอไรท์ ในขวดน้ำดื่มที่จำลองการติดเชื้อ: การทดลองแบบปกปิดข้อมูล 3 ฝ่าย

ผู้แต่ง

  • มารุต ตำหนักโพธิ โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • อนุชิต พรหมรักษ์ วท.บ., โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

มูลฝอยติดเชื้อ, โรค COVID-19, สารละลายแคลเซียมไฮโปคลอไรท์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1. เพื่อทดสอบประสิทธิผลของการทำลายเชื้อ SAR-CoV-2 ของสารละลายแคลเซียมไฮโปคลอไรท์ความเข้มข้น 5000 ppm ในขวดน้ำดื่มที่จำลองการติดเชื้อ  2. เพื่อศึกษาผลของการลดปริมาณขยะขวดน้ำดื่มของผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 ด้วยวิธีการบำบัดด้วยสารละลายแคลเซียมแคลเซียมไฮโปคลอไรท์ความเข้มข้น 5000 ppmในโรงพยาบาลมหาสารคาม

วิธีการศึกษา: การทดลองนี้เป็นการทดลองแบบปกปิด 3 ฝ่าย ใช้ขวดน้ำดื่มจำนวน 10 ขวด จำลองการติดเชื้อโดยใช้ Viral transport media ของผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 ปริมาณ 0.5 มิลลิลิตรหยดลงที่ปากขวดจำนวน 10 ขวด ทำลายเชื้อที่พื้นผิวปากขวดน้ำดื่ม 5 ขวด โดยการแช่สารละลายแคลเซียมไฮโปคลอไรท์ความเข้มข้น 5000 ppm เป็นเวลา 5 นาที และ 5 ขวดที่เหลือวางไว้ที่สภาวะแวดล้อมปกติ หลังจากนั้นจะทำการตรวจเชื้อบริเวณพื้นผิวปากขวดน้ำดื่มด้วยวิธี RT-PCR

ผลการศึกษา: ขวดน้ำดื่ม 5 ขวดที่ทำลายเชื้อด้วยสารละลายแคลเซียมไฮโปคลอไรท์ ไม่พบเชื้อ SAR-CoV-2 ร้อยละ 100 และขวดน้ำดื่ม 5 ขวดที่ปล่อยไว้ในสภาวะแวดล้อมปกติตรวจพบเชื้อ SAR-CoV-2 ร้อยละ 100 และโรงพยาบาลสามารถลดขยะติดเชื้อ SAR-CoV-2 ได้ 6.54 กิโลกรัม/วัน

สรุป: สารละลายแคลเซียมไฮโปคลอไรท์ความเข้มข้น 5000 ppm สามารถทำลายเชื้อ SAR-CoV-2 ได้อย่างสมบูรณ์ในเวลา 5 นาที แต่วิธีนี้ควรใช้เมื่อเกิดสถานการณ์ไม่ปกติ เช่น ไม่สามารถกำจัดมูลฝอยติดเชื้อได้ทันและล้น

References

World Health Organization. Coronavirus Disease-19 ( COVID-19 ) [Internet]. 2021 [cited 2021 Oct 20]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019.

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 [อินเตอร์เน็ต]. 2021 [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/

กรมอนามัย. โปรแกรมกำกับการขนส่งมูลฝอยติดเชื้อ [อินเตอร์เน็ต]. 2021 [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://envmanifest.anamai.moph.go.th/?summary_year_list

World Health Organization. Cleaning and Disinfection of Environmental Surfaces in the context of COVID-19: Interim guidance [Internet]. 2020 [cited 2021 Oct 21]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/cleaning-and-disinfection-of-environmental-surfaces-inthe-context-of-covid-19

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม. สรุปมาตรการและแนวทางบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) [อินเตอร์เน็ต]. 2021 [เข้าถึงเมื่อ 21 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://utoapp.moph.go.th/e_doc/views/uploads/611e2419cf83c-acd3ece7d43d56f21a345e0beff591a1-1179.pdf

Control Disease Center. Effectiveness on Pathogens [Internet]. 2012 [cited 2021 Nov 8]. Available from: http://www.cdc.gov/safewater/effectiveness-on-pathogens.html

Chilamakuri R, Agarwal S. Covid-19: Characteristics and therapeutics. Cells. 2021;10(2): 1–29.

Riddell S, Goldie S, Hill A, et al. The effect of temperature on persistence of SARS-CoV-2 on common surfaces. Virol J. 2020;17(1):1–7.

กฎกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545. (2545,5 กันยายน). ราชกิจานุเบกษา. เล่มที่ 119 ตอนที่ 86 ก. หน้า 1–15.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30