ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • สุทธีรา ตันอาวัชนการ ท.บ., โรงพยาบาลนครชัยศรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

          วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive study) กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์อายุ 20 ปีขึ้นไป ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 110 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคม 2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ chi-square test

          ผลการศึกษา: พบว่าพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์อยู่ในระดับดี 80 คน (ร้อยละ 72.7) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม คือ ความรู้ด้านทันตสุขภาพและแรงสนับสนุนจากคนในครอบครัว (p-value < .05) ส่วนปัจจัยอื่นๆไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์

          สรุป: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ คือ ความรู้ด้านทันตสุขภาพและ แรงสนับสนุนจากคนในครอบครัว ดังนั้นเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขควรให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพเพิ่มขึ้นแก่หญิงตั้งครรภ์และบุคคลใกล้ชิดของหญิงตั้งครรภ์เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

References

สุอัมพร ค้าทวี. สภาวะสุขภาพช่องปากที่เกี่ยวข้องกับภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยของหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5 2563;39(2):154–163.

สกาวรัตน์ วชิรขจรชัย, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา, มุขดา ศิริเทพทวี, และคณะ. ปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงโรคฟันผุในหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2561;13(2):26–37.

แผนกทันตกรรม โรงพยาบาลนครชัยศรี. แบบบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์: แผนกทันตกรรม โรงพยาบาลนครชัยศรี. เอกสารอัดสำเนา; 2563

Green L, Kreuter M. Health promotion planning. An education and environmental approach. Toronto; Mayfield; 1991.

กวิยา มาณะวิท. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเสพยา กลุ่มเมทแอมเฟตามีน ในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ, คณะสาธารณสุขศาสตร์. นนทบุรี :มหาวิทยาสุโขทัยธรรมมาธิราช; 2561.

Cohen J, Cohen P. Applied multiple regression/ correlation.Analysis for the behavioral sciences. 2 nd ed. Ewjersy: Lawrence Erlbaum Associates; 1983

Bloom BS. Learning for Mastery. Instruction and Curriculum.Regional Education Laboratory for the Carolinas and Virginia, Topical Papers and Reprints, Number 1. Evaluation comment 1968;1:1–12

Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice–Hall; 1997

นริศรา วรคันทักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง [สารนิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต]. ภาควิชาทันตสาธารณสุข, คณะสาธารณสุขศาสตร์. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร; 2560.

Anandina IS, Ratu NL, Yuniardini SW, et al. Mother, s Knowledge and Behaviour Towards Oral Health During Pregnancy. Pesqui. Bras. Odontopediatria Clín. Integr 2020;20: e5647.

วนัสนันท์ เทพสุวรรณ.ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง (สารนิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต).ภาควิชาทันตสาธารณสุข,คณะสาธารณสุขศาสตร์.ตรัง:วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร;2562

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ.2560. นนทบุรี: สามเจริญพานิชย์; 2561

สุภาพร ผุดผ่อง.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์.2563;4(1):103–19

อลิศรา กฤษมานิต. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติต่อเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของครู สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาประชากรศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย. นครปฐม: มหาวิทยามหิดล; 2546.

Angelika K, Nicole SW, Dariusz G, et al. Self-Reported Oral Health Knowledge and Practices During Pregnancy and Their Social Determinants in Poland. Oral Health Prev Dent 2020;18:287–94.

วิจิตรา รทะจักร. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 1 ปีครึ่ง ถึง 3 ปี ของผู้ปกครอง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์, คณะสาธารณสุขศาสตร์. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2561.

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29