ปัจจัยที่มีผลต่อการให้เลือดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมใน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ปทุมพร ลิขิตวรศักดิ์ พ.บ., โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

การให้เลือด, ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม, ปัจจัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อการให้เลือดในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบพรรณนาย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม (hip arthroplasty) ในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ โดยยกเว้นผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดแก้ไขข้อสะโพกเทียม (Revision of THA) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 รวมระยะเวลา 3 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบบันทึกการประเมินผู้ป่วยก่อนให้ยาระงับความรู้สึก แบบบันทึกการให้ยาระงับความรู้สึก (anesthesia record) แบบบันทึกผู้ป่วยห้องพักฟื้น (PACU record) และเวชระเบียนผู้ป่วย นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการให้เลือดในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ด้วยการวิเคราะห์ t test independent, chi-square test

ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 97 ราย พบว่า กลุ่มที่ให้เลือดมีค่าฮีโมโกลบินและค่าฮีมาโตคริตก่อนผ่าตัดน้อยกว่ากลุ่มไม่ให้เลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และผู้ป่วยกลุ่มที่มีภาวะซีดก่อนผ่าตัดที่ให้เลือด มากกว่ากลุ่มที่มีภาวะซีดก่อนผ่าตัดที่ไม่ให้เลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) นอกจากนี้ยังพบว่า ปริมาณเลือดที่เสียทั้งหมดและปริมาณเลือดที่เสียขณะผ่าตัดในกลุ่มให้เลือด มากกว่ากลุ่มไม่ให้เลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่มีผลต่อการให้เลือดในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม 

สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อการให้เลือดในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม คือ ค่าฮีโมโกลบินและค่าฮีมาโตคริตก่อนผ่าตัด ภาวะซีดก่อนผ่าตัด ปริมาณเลือดที่เสียทั้งหมด และปริมาณเลือดที่เสียในห้องผ่าตัด สามารถนำมาปรับปรุงระบบการจองเลือดเพื่อให้เกิดความเหมาะสม โดยค่าฮีโมโกลบินก่อนผ่าตัดมากกว่า 12 กรัมต่อเดซิลิตร ให้มีการเตรียมเลือดสำหรับการผ่าตัดแบบ type and screen แต่ถ้าค่าฮีโมโกลบินก่อนการผ่าตัด 11–12 กรัมต่อเดซิลิตร ให้เตรียมเลือดแบบ crossmatch 1 ยูนิต และค่าฮีโมโกลบินก่อนการผ่าตัดน้อยกว่า 11 กรัมต่อเดซิลิตรให้เตรียมเลือดแบบ crossmatch 2 ยูนิต

References

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2561. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: พริ้นเทอรี่; 2562: หน้า 3-123.

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงมหาดไทย. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 ณ วันที่ 31 ธันวาคม2562 [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1580099938-275_1.pdf

Songpatanasilp T, Sritara C, Kittisomprayoonkul W, et al. Thai Osteoporosis Foundation (TOPF) position statements on management of osteoporosis. Osteoporos Sarcopenia. 2016;2(4):191–207.

กัญญา พานิชกุล, โกรวาส แจ้งเสม, วราภรณ์ เชื้ออินทร์, และคณะ. ความคุ้มค่าในการเตรียมเลือดเพื่อผ่าตัดวิธีปกติ (routine cross-match) สำหรับผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดศัลยกรรมข้อเข่าและข้อสะโพกในกรณีไม่เร่งด่วน. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2557;29:423–8.

วิลัยพร ชูศรี, ศุภลักษณ์ สมกิจศิริ, บุญชู สุนทรโอภาส, และคณะ. การศึกษาแนวทางการเตรียมเลือดที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดในผู้ป่วยประเภท Elective surgeryของโรงพยาบาลกลาง. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 2561;28:17–23.

จุมภฏพงษ์ วงษ์เอก, ศุภมาศ ลิ่วศิริรัตน์, อุรวิศ ปิยะพรมดี. การศึกษาความคุ้มค่าของการจองเลือดสำหรับผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ที่ไม่ฉุกเฉินของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสาร

ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. 2558;39:17–24.

สิทธิพร ดีทายาท. การลดค่าใช้จ่ายในการเตรียมเลือดเพื่อการผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาทกรณี ไม่เร่งด่วนในโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2558;34:26–34.

World Health Organization. Haemoglobin concentrations for the diagnosis of anaemia and assessment of severity. Vitamin and Mineral Nutrition Information System. [Online], 2011 [cited 2021 Jan 5]; Available from: http://www.who.int/vmnis/indicators/haemoglobin. pdf

Huang ZY, Huang C, Xie JW, et al. Analysis of a large data set to identify predictors of blood transfusion in primary total hip and knee arthroplasty. Transfusion. 2018; 58(8): 1855–62.

ประกิจ เชื้อชม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการให้เลือดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ข้อสะโพกเทียม. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2562;33:379–88.

สุวิชา ลิ้มกิจเจริญภรณ์. ความเหมาะสมของการใช้เลือดและปัจจัยที่มีผลกับการได้รับเลือดหลังผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลดำเนินสะดวก. วารสารแพทย์เขต4-5. 2561;37(2):98–107.

Wong S, Tang H, Steiger R. Blood management in total hip replacement: an analysis of factors associated with allogenic blood transfusion. ANZ J Surg 2015; 85(6):461–5.

Salido JA, Marin LA, Gomez LA, et al. Preoperative hemoglobin levels and the need for transfusion after prosthetic hip and knee surgery. Analysis of predictive factors. J Bone Joint Surg Am. 2002;84(2):216–20.

Styron JF, Kilka AK, Szubski CR, et al. Relative efficacy of tranexamic acid and preoperative anemia treatment for reducing transfusions in total joint arthroplasty. Transfusion. 2017;57(3):622–9.

Carling MS, Jeppsson A, Eriksson BI, et al. Transfusions and blood loss in total hip and knee arthroplasty: a prospective observational study. J Orthop Surg Res 2015

Song K, Pan P, Yao Y, Jiang T, Jiang Q. Ihe incidence and risk factors for allogenic blood transfusion in total knee and hip arthroplasty. J Orthop Surg Res. 2019;14:273.

Hart A, Khalil JA, Carli A, et al. Blood transfusion in primary total hip and knee arthroplasty: Incidence, risk factors, and thirty-day complication rates. J Bone Joint

Surg Am. 2014;96:1945–51.

Yoshihara H, Yoneoka D. Predictors of allogenic blood transfusion in total hip and knee arthroplasty in the United States, 2000–2009. J Arthroplasty. 2014;29:1736–40.

Walsh M, Preston C, Bong M, et al. Relative risk factor for requirement of blood transfusion after total hip arthroplasty. J Arthroplasty. 2007; 22(8):1162–6.

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29