การอยู่รอดของรากเทียมพระราชทานในโรงพยาบาลนครปฐม
คำสำคัญ:
รากเทียม, ฟันปลอมทั้งปากทับรากเทียม, การอยู่รอดของรากเทียมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการอยู่รอดของรากเทียมพระราชทาน ที่ได้รับบริการในโรงพยาบาลนครปฐม
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังโดยไม่สุ่มกลุ่มตัวอย่าง ( retrospective non-randomized study ) ศึกษาจากผู้ป่วยที่มารับการฝังรากเทียมพระราชทานที่โรงพยาบาลนครปฐม ทั้งรุ่นแรก (ฟันยิ้ม) จำนวน 53 คน และรุ่นที่สอง (ข้าวอร่อย) จำนวน 31 คน รวมทั้งสิ้น 84 คน ซึ่งทุกคนได้รับการผ่าตัดฝังรากเทียมในขากรรไกรล่างจำนวนคนละ 2 ราก และทำส่วนต่อยึดกับฟันเทียมล่างทั้งปากโดยทันตแพทย์คนเดียว ติดตามตั้งแต่เริ่มโครงการ จนถึงปัจจุบัน ใช้เกณฑ์การประเมินคือ รากเทียมหลุดออกจากสันเหงือกทั้งรากไม่ว่าจะเป็นรากเดียวหรือทั้งสองรากถือเป็นกรณีที่ไม่อยู่รอด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ Kaplan Meier
ผลการศึกษา: พบว่า มีตัวแปรอิสระ 1 ตัวแปร ที่ผลการเปรียบเทียบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ รุ่นของรากเทียม และพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่อายุมากกว่า (70 ปีขึ้นไป) มีโอกาสรอดของรากเทียมมากกว่ากลุ่มที่อายุน้อยกว่า ตลอดระยะเวลาใช้งานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ มีผู้ป่วย 7 คน จาก 84 คน มีรากเทียมหลุดอย่างน้อย 1 ราก คิดเป็นร้อยละ 8.3
สรุป: อัตราการอยู่รอดสะสมตลอดโครงการของรากเทียมพระราชทาน ที่ได้รับบริการในโรงพยาบาลนครปฐมตั้งแต่เริ่มโครงการ เท่ากับร้อยละ 91.8 และรากเทียมพระราชทานรุ่นแรก (ฟันยิ้ม) มีโอกาสอยู่รอดมากกว่ารุ่นที่สอง (ข้าวอร่อย)
References
McCord J F, Grant A A. Identification of complete denture problems: a summary. Br Dent J. 2000;189(3):128–34.
Thomason J M, Kelly S A M, Bendkowski A, et al. Two implant retained overdentures-A review of the literature supporting the McGill and York consensus statements. J Dent. 2012;40(1):22–3.
Jessica E O, Yeung SC. Do dental implants preserve and maintain alveolar bone?. J Investig Clin Dent. 2011;2(4):229–35.
Sara Jawad, Clarke PT. Survival of mini dental implants used to retain mandibular complete overdentures: systematic review. Int J Oral Maxillofac implant. 2019;34(2):343–56.
Hao S C, Yao D H, Ming L H. Long term survival rate of implant-supported overdentures with various attachment system: A 20-year retrospective study.Journal of Dental Sciences. 2015;10(1):55–60.
Clack D, Levin L. Dental implant management and maintenance: How to improve long term implant success? Quintessence Int. 2016;47(5):417–23.
Judith A P, Fraunhofer JA. success or failure of dental implants? A literature review with treatment considerations. Gen Dent. 2005;53(6):423–32.
Rajendra K D, Gupta DK, Singh AK. Dental implant survival in diabetic patients; review and recommendations. Natl J Maxillofac surg. 2013;4(2):142–50.
Giro G, Chambrone L, Goldstein A, et al. Impact of osteoporosis in dental implants: A systematic review. World J Orthop. 2015;6(2):311–5.
Veitz-Keenan A, Keenan JR. Implant outcomes poorer in patients with history of periodontal diease. Evid Based Dent. 2017;18(1):5.
Warrer K, Buser D, Lang N P, et al.Plaque-induced peri-implantitis in the presence or absence of keratinized mucoza. An experimental study in monkeys. Clin Oral Implants Res. 1995;6:131–8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์