ผลการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบ, การแพทย์ฉุกเฉิน, บริการการแพทย์ฉุกเฉินบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสมุทรสาคร
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา ระหว่างมกราคม–สิงหาคม 2565 กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปฏิบัติงาน ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในหน่วยบริการสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 137 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ multiple linear regression และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยสรุปเชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา: ผลลัพธ์ด้านผู้ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินจากการสร้างการมีส่วนร่วม พบว่า หลังพัฒนา การมีส่วนร่วมในระบบการแพทย์ฉุกเฉินโดยรวมอยู่ในระดับสูง (mean = 3.73, SD = 0.62) มากกว่าก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) การรับรู้การปฏิบัติงานให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยรวมอยู่ในระดับสูง (mean = 4.23, SD = 0.40) มากกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ความพึงพอใจ ต่อการปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินโดยรวมอยู่ในระดับสูง (mean = 3.45, SD = 0.61) ผลลัพธ์ด้านการดูแล ผู้ใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน พบว่า หลังการพัฒนามีการออกปฏิบัติการรวดเร็วผ่านเกณฑ์ ภาย ใน 2 นาที ร้อยละ 92.7 และความถูกต้องในการออกให้บริการผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 63.5 มากกว่าก่อนพัฒนา ผลลัพธ์ ด้านวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ พบว่า หลังการพัฒนามีความพร้อมของวัสดุและเครื่องมือโดยรวม อยู่ในระดับสูง (mean = 3.77, SD = 0.67) มากกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ปัจจัยที่มีผล และสามารถร่วมทำนายแรงจูงใจในการปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 49 (ค่าคงที่: B = 1.915, adj.R2= 0.498, p < .001) มีจำนวน 17 ปัจจัย จากทั้งหมด 23 ปัจจัย โดยปัจจัยที่มีอิทธิพล มากที่สุดคือ อายุ (adj.R2= 0.246, p < .001)
สรุป: หลังการพัฒนาทำให้บุคลากรมีส่วนร่วมในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลและ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงส่งผลทำให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
References
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. การดำเนินงานและบริหารจัดการ ระบบการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: อาร์ตควอลิไฟท์; 2561.
ธีระ ศิริสมุด, กิตติพงศ์ พลเสน, พรทิพย์ วชิรดิลก. ความรู้ ทัศนคติ และเหตุผลที่ไม่เรียกใช้บริการ การแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561;12(4):668-80.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ. 2562 – 2564 (ฉบับปรับปรุงจากแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ 2560-2564). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2565.
สำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. รายงานสถิติการแพทย์ฉุกเฉินโปรแกรม ITEMS (intranet technology emergency medical system); 2560-2565. [เข้าถึงเมื่อ 14 มกราคม 2565]; เข้าถึงได้จาก https://ws.niems.go.th
อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2557.
ยุภาวดี คงดา, มุมตาส มีระมาน, กัลยา ตันสกุล. การศึกษาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินตามการรับรู้ ของผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพัทลุง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10, 2562:1515–28.
มุมตาส มีระมาน, ยุภาวดี คงดำ, กัลยา ตันสกุล. ความพร้อมการให้บริการและการรับรู้การปฏิบัติการ ตามมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพัทลุง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2563;3(2):76–88.
อัจฉรา คำมะทิตย์. หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล: ค้นหา วิเคราะห์ และนำไปใช้อย่างไร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2564;8(2): 315–28.
ฉัตรชนก กรรณสูต, ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กระบวนการและ ประสิทธิผลของการบริหารองค์การเครือข่ายการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน: กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564;6(10): 394–409.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. การดำเนินงานและบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: อาร์ตควอลิไฟท์, 2561.
โชคชัย ขวัญพิชิต, ประณีต ส่งวัฒนา, รวีวรรณ ชุนถนอม, และคณะ. รายงานการวิจัยรูปแบบในการจัด บริการการแพทย์ฉุกเฉิน แบบบูรณาการในพื้นที่ความมั่นคง. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.); 2561.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มือการใช้เครื่องมือประเมินศักยภาพระบบการแพทย์ฉุกเฉินระดับจังหวัด. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.); 2562.
เจริญ ปราบปรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดพัทลุง. วารสารสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2563; 2(2):199–212.
รัฐพงษ์ บุรีวงษ์, ศันยวิทย์ พึงประเสริฐ, รวีวรรณ ธเนศพลกุล, วรรณชนก เมืองทอง, พลอยไพลิน รัตนสัญญา, พัฒธพงษ์ ประชาสันติกุล และคณะ. คู่มือแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉินที่เหมาะสมกับระดับ ศักยภาพสถานพยาบาล: มาตรฐานงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
พัชรากาญจน์ คงทวีพันธ์. โครงการการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้น. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.). เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา; 2564.
Herzberg F, Bemard M, Barbara S. The motivation to work (2nd ed.). New York: John Willey & Sons; 1982.
พิไลวรรณ บุญล้น, สิริวัฒน์ ศรีเครือดง, กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์. แรงจูงใจการทำงานจิตอาสาตามหลัก พุทธจิตวิทยาของบุคคลหลากหลายอาชีพในสังคมไทย. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ 2564;7(1):71–86.
นุสรีนา บินสะแหละหมัน, ประณีต ส่งวัฒนา, วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย. สถานการณ์การให้บริการ การแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดชายแดนภาคใต้และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2561;10(1):40–50.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์