ต้นทุนและรายได้จากการทำฟันเทียมของโรงพยาบาลบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ภัทรา เจนธัญญวรรณ ท.บ., ส.ม. โรงพยาบาลบ้านลาด

คำสำคัญ:

ต้นทุนการทำฟันเทียม, รายได้ของการทำฟันเทียม, ต้นทุนรวม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการทำฟันเทียมของโรงพยาบาลบ้านลาด แยกตามชนิดของฟันเทียมถอดได้และแหล่งที่มาของรายได้ เปรียบเทียบกำไรและขาดทุนของงานบริการ

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (retrospective descriptive study) โดยศึกษาต้นทุนและรายได้ของงานบริการทำฟันเทียมถอดได้ทุกชนิดที่ให้บริการที่โรงพยาบาลบ้านลาด ในปีงบประมาณ 2561 - 2563 โดยศึกษาต้นทุนรวมการบริการ (full cost: FC) และเปรียบเทียบรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายที่ได้จากแหล่งที่มาของรายได้ 3 แหล่ง คือ ชำระเงิน รายได้จากการเรียกเก็บจากต้นสังกัดทั้งจากกรมบัญชีกลางและจาก สปสช. การศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติพรรณนาที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ สัดส่วน  และค่าเฉลี่ยเลขคณิต

ผลการศึกษา:  เมื่อวิเคราะห์รายได้จริงจากการทำฟันเทียมถอดได้หลังหักค่าใช้จ่ายต้นทุนรวมพบว่าในแต่ละปีมีผลกำไรสุทธิในภาพรวมงานบริการใส่ฟันเทียมถอดได้ทั้งหมด แต่เมื่อแยกตามแหล่งที่มารายได้ พบว่ารายได้จริงจากการทำฟันเทียมในสิทธิจ่ายเงิน สิทธิข้าราชการและพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมีกำไรในทุกชนิดฟันเทียมถอดได้ แต่ในผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง ในหลายชนิดของฟันเทียมเงินรายได้จากการจ่ายชดเชยค่าบริการจาก สปสช. มีค่าต่ำกว่าต้นทุนรวมของฟันเทียมถอดได้ชนิดนั้น  

สรุป: งานบริการฟันเทียมถอดได้ สามารถสร้างกำไรสุทธิแก่หน่วยบริการได้ แต่โรงพยาบาลบ้านลาดควรเฝ้าระวังต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น ค่าแรงทันตบุคลากร ค่าจ้างแล็บทำฟันเทียม ค่าวัสดุทันตกรรม ให้เหมาะสมกับรายได้ที่ได้รับจริงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจได้ว่างานบริการฟันเทียมจะไม่สร้างปัญหาด้านการเงินแก่หน่วยบริการในอนาคต

References

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเพชรบุรี. รายงานสถานการณ์ทางสังคม จังหวัดเพชรบุรี ปี2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก: URL: http://phetchaburi.m-society.go.th/elementor-2728/.

สำนักทันตสาธารณสุข. ผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ.2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://dental.anamai.moph.go.th/th/national-survey-of-dental-health.

ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. รายงานการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานขับเคลื่อนการดำเนินงานดูแลส่งเสริมสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5 ปีงบประมาณ 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25 ตุลาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://apps.hpc.go.th/dmkm/item/535

กรมบัญชีกลาง. 2549. หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0417/ว177 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 เรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ. กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลาง

กรมบัญชีกลาง. 2557. หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค.0423.3/ว238 ลงวันที่ 9 กันยายน 2557 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรสำหรับหน่วยงานรัฐ. กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลาง

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์; 2562

สำนักงานบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์; 2561

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. 2563. หนังสือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ที่ 0032.007/32 ลงวันที่ 6 มกราคม 2563 เรื่อง เปลี่ยนอัตราการบริการทางทันตกรรม. เพชรบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี

กรมบัญชีกลาง. 2559. หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0431.2/ว246 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2559 เรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ. กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลาง

กระทรวงการคลัง. 2559. ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ประเภทและอัตราค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดโรค (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559. กทม. กระทรวงการคลัง

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29