การศึกษาความชุกและอัตราตายของโรคโควิด 19 ในผู้ป่วย COPD ที่มารักษาในโรงพยาบาลสมุทรสาคร พ.ศ. 2564

ผู้แต่ง

  • วิชิต กาจเงิน พ.บ., โรงพยาบาลสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคโควิด 19

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุก  และอัตราตายของโรคโควิด 19 ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารักษา ในโรงพยาบาลสมุทรสาคร พ.ศ. 2564 อีกทั้งเพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคโควิด 19 และปัจจัยเรื่องวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังพร้อมทั้งกำหนดช่วงเวลา (descriptive retrospective study) โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากจากฐานข้อมูลผู้ป่วย COPD ที่มารักษาแบบผู้ป่วยนอกที่คลินิก COPD ภายในโรงพยาบาลสมุทรสาคร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม–31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า mean, median, SD, range, odds ratio, 95% CI และ p-value 

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับการตรวจรักษาที่คลินิก COPD  ภายในโรงพยาบาลสมุทรสาคร ปีพ.ศ. 2564 จำนวน 372 คน พบว่า อายุเฉลี่ย 69.5 ±11.3 ปี, เป็นเพศชาย 319 ราย (ร้อยละ 85.8), เพศหญิง 53 ราย (ร้อยละ 14.2) ส่วนใหญ่ มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 20-25 จำนวน 146 ราย (ร้อยละ 39.2) และมีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20 จำนวน 121 ราย (ร้อยละ 32.5), มีประวัติการสูบบุหรี่ 26 ราย (ร้อยละ 7)และ มีประวัติดื่มแอลกอฮอลล์ 6 ราย (ร้อยละ 1.6)

โรคร่วมที่พบมากที่สุดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 192 ราย (ร้อยละ 51.6) มีโรคไขมันในเลือดสูง จำนวน 123 ราย (ร้อยละ 33.1), มีโรคเบาหวาน จำนวน 59 ราย (ร้อยละ 15.9), มีโรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 17 ราย (ร้อยละ 4.6), มีโรคไตเรื้อรัง จำนวน 17 ราย (ร้อยละ 4.6), มีโรควัณโรค จำนวน 12 ราย (ร้อยละ 3.2), และมีโรคมะเร็ง จำนวน 4 ราย (ร้อยละ 1.1)  อีกทั้งพบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ 357 คน (ร้อยละ 96)  มีประวัติการใช้ยากดภูมิสเตียรอยด์และผู้ป่วย 57 ราย (ร้อยละ 15.3) มีการใช้ยา ในกลุ่มaspirin/clopidogrel/warfarin

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่มนี้ ตรวจพบการติดเชื้อโควิด 19 จำนวน 30 ราย (ร้อยละ 8.1) โดยพบว่า ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก จำนวน 6 ราย (ร้อยละ 1.6) ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน จำนวน 24 ราย (ร้อยละ 6.5) และพบเสียชีวิต จำนวน 3 ราย (ร้อยละ 0.8)

          เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ในกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่มีการติดเชื้อโควิด 19  พบว่า เพศ, ประวัติการใช้สเตียรอยด์, ประวัติการใช้ aspirin/clopidogrel/warfarin, ประวัติดื่มแอลกอฮอลล์, ประวัติสูบบุหรี่ และการมีโรคร่วม ไม่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการติดเชื้อโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

การได้รับวัคซีนโควิด 19 ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ พบว่า มีการฉีดวัคซีน 2 เข็ม มากที่สุด จำนวน 181 ราย (ร้อยละ 48.7), ไม่มีการฉีดวัคซีน จำนวน 114 ราย (ร้อยละ 30.6,) มีการฉีดวัคซีน 3 เข็ม จำนวน 60 ราย (ร้อยละ 16.1), มีการฉีดวัคซีน 1 เข็ม จำนวน 13 ราย (ร้อยละ 3.5), และมีการฉีดวัคซีน 4 เข็ม จำนวน 4 ราย (ร้อยละ 1.1 ) ปัจจัยเรื่องวัคซีนโควิดต่อการเป็นโรค COVID 19 ในผู้ป่วยที่มีโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยพบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ไม่ได้รับวัคซีนโควิด 19 จะพบติดเชื้อมากที่สุด (ร้อยละ 4.03)

เมื่อวิเคราะห์ทางสถิติ พบความแตกต่างของการติดเชื้อโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) ส่วนในกลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 จำนวน 3 เข็ม พบความแตกต่างของการติดเชื้อโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) 

สรุป: ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ตรวจพบการติดเชื้อโควิด 19 จำนวน 30 ราย (ร้อยละ 8.1 ) โดยพบว่า ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก จำนวน 6 ราย (ร้อยละ 1.6), ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน จำนวน 24 (ร้อยละ 6.5), และเสียชีวิต จำนวน 3 ราย (ร้อยละ0.8)

References

Organization WH. Noncommunicable diseases (Available from: https://www.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases.

Organiztion WH.Key facts; Chronic obstructive pulmonary disease(COPD) 2021{18 June 2021}. Available from: http://who.int/news-room/fact-sheets/detail/chronic-obstructive-pulmonary-disease.

Organization WH. Who Coronavirus(COVID-19) Dashboard {18 June 2021}. Available from: https://covid19.who.int/.

Organiztion WH. Information note onCOVID-19 and NCDs 2020 {18 June 2021}. Available from: http://who.int/who-document-detail/covid-and-ncds.

Britto CJ BV, Lee S, Dela Cruz CS. Respiratory viral infections in Chronic Lung Diseases. Clin chest med. 2017;38(1):87-96.

Emami A, Javanmardi F, Pirbonyeh N, et al. Prevalence of underlying Diseases in Hospitalized Patients with COVID-19 : Systemic review and Metaanalysis. Arch Acad Emerg Med 2020;8(1):e35.

Gerayeli FV, Milne S1, Cheung C, et al. COPD and risk of poor outcomes in COVID-19: A systemic review and meta- analysis. EClinicalMedicine. 2021;33:100789.

Liu W, Tao ZW, Wang L, et al. Analysis of factors associated with disease outcomes in hospitalized patients with 2019 novel coronavirus disease. Clin Med J 2020:133(9);1032–8.

Chrousos GP. The hypothalamic-pituitary-adrenal axis and immune-mediated inflammation. N Engl J Med 1995:332(20);1351–62.

Montón C, Ewig S, Torres A, et al. Role of glucocorticoids on inflammatory response in nonimmunosuppressed patients with pneumonia: a pilot study. Eur Respir J. 1999;14(1):218–20.

So LK, Lau AC, Yam LY, et al. Development of a standard treatment protocol for severe acute respiratory syndrome. Lancet 2003;361:1615–7.

Ho JC, Ooi GC, Mok TY, et al. High-dose pulse versus nonpulse corticosteroid regimens in severe acute respiratory syndrome. Am J Respir Crit Care Med 2003;168:1449–56.

Lee N, Hui D, Wu A, et al. A major outbreak of severe acute respiratory syndrome in Hong Kong. N Engl J Med 2003;348:1986–94.

Tsang KW, Ho PL, Ooi GC, et al. A cluster of cases of severe acute respiratory syndrome in Hong Kong. N Engl J Med 2003;348:1977–85.

Qin YY, Zhou YH, Lu YQ, et al. Effectiveness of glucocorticoid therapy in patients with severe coronavirus disease 2019: protocol of a randomized controlled trial. Chin Med J (Engl) 2020;133:1080–6.

Zhou YH, Qin YY, Lu YQ, et al. Effectiveness of glucocorticoid therapy in patients with severe novel coronavirus pneumonia: protocol of a randomized controlled trial. Chin Med J (Engl) 2020;133(9):1080–6.

Lin Z, Phyu WH, Mon TZ, et al. The role of steroids in management of COVID-19 infection. Cureus 2021;13(8):e16841.

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29