การประเมินความเสี่ยงทางรังสีต่อทารกในครรภ์ สำหรับผู้ป่วยที่ฉายรังสีเทคนิค 3 มิติ บริเวณเต้านม
คำสำคัญ:
การประเมินปริมาณรังสี, มะเร็งเต้านม, ปริมาณรังสีต่อทารกในครรภ์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการประเมินความเสี่ยงทางรังสีต่อทารกในครรภ์ หากผู้ป่วยเกิดอุบัติการณ์ตั้งครรภ์ในระหว่างรับการฉายรังสีเทคนิค 3 มิติบริเวณเต้านม
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์ โดยการวัดปริมาณรังสีบริเวณช่องท้องส่วนล่างและอุ้งเชิงกรานในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจำนวน 32 ราย ที่มารับการฉายรังสีเทคนิค 3 มิติด้วยเครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น ซึ่งปริมาณรังสีที่ให้กับเนื้องอกทั้งหมดเท่ากับ 5,000 เซนติเกรย์ (200 เซนติเกรย์ x 25 ครั้ง) โดยการนำตัววัดรังสีแบบแก้วมาใช้ในการวัดปริมาณรังสีครั้งนี้ ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายจะได้รับการวางตัววัดรังสีแบบแก้วบนผิวหนัง จำนวน 3 อัน ได้แก่ ขอบบนกระดูกอุ้งเชิงกราน สะดือ และต่ำกว่าสะดือ 10 เซนติเมตร
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยรังสีที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 28.1 และพบน้อยสุดในช่วงอายุต่ำกว่า 45 ปี คิดเป็นร้อยละ 12.5 โดยค่าเฉลี่ยของปริมาณรังสีบริเวณช่องท้องส่วนล่างและอุ้งเชิงกรานเท่ากับ 19.7 ± 94.7 เซนติเกรย์ คิดเป็นร้อยละ 0.4 ของปริมาณรังสีที่ให้กับเนื้องอกทั้งหมด โดยในช่วงอายุครรภ์ 2 สัปดาห์แรก ทารกในครรภ์จะได้รับปริมาณรังสีอยู่ในช่วงระหว่าง 0.8–8.0 เซนติเกรย์ ในช่วงอายุครรภ์ 4 สัปดาห์ และ 6 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะได้รับปริมาณรังสีอยู่ในช่วงระหว่าง 8.8–16.0 เซนติเกรย์ และ 16.8–19.7 เซนติเกรย์ ตามลำดับ
สรุป: การฉายรังสีเทคนิค 3 มิติบริเวณเต้านมส่วนใหญ่ จะให้ปริมาณรังสีกับเนื้องอกทั้งหมดประมาณ 5,000 เซนติเกรย์ ทารกในครรภ์จะได้รับรังสีเฉลี่ยร้อยละ 0.4 ซึ่งความเสี่ยงทางรังสีจะขึ้นกับช่วงอายุครรภ์และปริมาณรังสีที่ได้รับ
References
สุรพงษ์ สุภาภรณ์, สรรชัย กาญจนลาภ, สุมิต วงศ์เกียรติขจร. มะเร็งเต้านม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สมาคมวิทยาลัยศัลยแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย; 2543.
ศรีชัย ครุสันธิ์. วิทยาการใหม่ของรังสีรักษา. หน่วยรังสีรักษา ภาควิชารังสีวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น; 2011.
ศูนย์มะเร็ง อุบลราชธานี. มะเร็งสัญจร ปี 4 โครงการพัฒนาเครือข่ายวิชาการต้านโรคมะเร็งเต้านม. อุบลราชธานี: ห้างหุ้นส่วนจำกัดอุบสกิจออฟเซท; 2554.
Dam JV, Marinello G. Methods for vivo dosimetry in external radiotherapy. 2nd ed. Belgium: ESTRO; 2006.
Mijnheer B. State of the art of in vivo dosimetry. Radiation Protection Dosimetry 2008;131:117–22. doi: 10.1093/rpd/ncn231.
Sulieman A, Theodorou K, Kappas C. Entrance and peripheral doses measurements during radiotherapy. J.Sc. Tech. 2011;12:20–8.
Oonsiri P, Vannavijit C, Wimolnoch M, et al. Estimated radiation doses to ovarian and uterine organs in breast cancer irradiation using radio-photoluminescent glass dosimeters (RPLDs). J Med Radiat Sci 2021;68(2):167–74. doi: 10.1002/jmrs.445
ธีระพร วุฒยวนิช, นิมิต มรกต, กิตติกา กาญจนรัตนากร. วิจัยทางการแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: โครงการตำรา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.
Alzoubi AS, Kandaiya S, Shukri A, et al. Contralateral breast dose from chest wall and breast irradiation: local experience. Australas Phys Eng Sci Med 33(2):137–44. doi: 10.1007/s13246-010-0011-y.
กลุ่มงานด้านวิชาการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ. คู่มืออบรมการป้องกันอันตรายจากรังสี. สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ. 2552;2:93–5.
คณะกรรมการศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รังสีอย่างเหมาะสม ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการตรวจทางรังสีวิทยาวินิจฉัยในผู้ป่วยตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ และผู้ป่วยทีให้นมบุตร. ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2564.
Mostafa S, Sahel H, Negin F, et al. Fetal Dose Estimation for Pregnant Breast Cancer Patients during Radiotherapy Using an In-house Phantom. Middle East J Cancer 2019; 11(1):99–104.
Bradley B, Fleck A, Osei EK. Normalized data for the estimation of fetal radiation dose from radiotherapy of the breast. Br J Radiol. 2006;79(946):818–27. doi:10.1259/bjr/16416346.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์