ผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ได้รับการคัดกรองระดับ 1 ในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลกระทุ่มแบน พ.ศ. 2563–พ.ศ. 2564

ผู้แต่ง

  • สุธี คงเกียรติไพบูลย์ พ.บ., โรงพยาบาลกระทุ่มแบน

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ห้องฉุกเฉิน, ผู้ป่วยอุบัติเหตุ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลกระทบของสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อระยะเวลาของผู้ป่วยที่อยู่ในห้องฉุกเฉิน ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล และอัตราการตายของผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ได้รับการคัดกรองระดับ 1

วิธีการศึกษา: เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังของผู้บาดเจ็บที่เข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินได้รับการคัดกรองระดับ 1 โรงพยาบาลกระทุ่มแบน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม พ.ศ. 2562, กลุ่ม พ.ศ. 2563 และกลุ่ม พ.ศ. 2564

ผลการศึกษา: มีผู้บาดเจ็บเข้าร่วมการศึกษา 113 คน แบ่งเป็นกลุ่ม พ.ศ. 2562 จำนวน 43 คน กลุ่ม พ.ศ. 2563 จำนวน 42 คน และกลุ่ม พ.ศ. 2564 จำนวน 28 คน มีค่ามัธยฐานของอายุที่ 32, 33, และ 40 ปี ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย นำส่งโดยระบบ EMS (ร้อยละ 81.4, 81.0, และ 85.7 ตามลำดับ) เป็นอุบัติเหตุจราจรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 72.1, 71.4, และ 64.3 ตามลำดับ) ไม่พบความแตกต่างของสัญญาณชีพและ GCS แรกรับ รวมไปถึง ISS, RTS, และ TRISS ไม่พบความแตกต่างของกระบวนการดูแลรักษา ยกเว้นการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เริ่มตรวจใน พ.ศ. 2563 ร้อยละ 4.8 และ พ.ศ. 2564 ร้อยละ 100 ซึ่งไม่พบผู้บาดเจ็บที่ได้รับการคัดกรองระดับ 1 ติดเชื้อ และไม่พบความแตกต่างในเรื่องของระยะเวลาที่อยู่ในห้องฉุกเฉิน จำนวนวันของการนอนโรงพยาบาล และอัตราการรอดชีวิตในโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในเรื่องของระยะเวลาที่อยู่ในห้องฉุกเฉิน จำนวนวันของการนอนโรงพยาบาล และอัตราการรอดชีวิตในโรงพยาบาล ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่โรงพยาบาลกระทุ่มแบน

References

Zhu N, Zhang D, Wang W, et al. A Novel Coronavirus from Patients with Pneumonia in China, 2019. N Engl J Med. 2020;382(8):727–33.

Cucinotta D, Vanelli M. WHO Declares COVID-19 a Pandemic. Acta Biomed 2020;91(1):157–60.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข . MOPH ED. Triage. นนทบุรี: สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2561: หน้า 5–20.

Chang YH, Shih HM, Chen CY, et al. Association of sudden in-hospital cardiac arrest with emergency department crowding. Resuscitation. 2019;138:106–9.

Sartini M, Carbone A, Demartini A, et al. Overcrowding in Emergency Department: Causes, Consequences, and Solutions-A Narrative Review. Healthcare (Basel). 2022;10(9).

DiFazio LT, Curran T, Bilaniuk JW, et al. The Impact of the COVID-19 Pandemic on Hospital Admissions for Trauma and Acute Care Surgery. Am Surg. 2020;86(8):901–3.

Boutin S, Elder J, Sothilingam N, et al. Epidemiology and outcomes for level 1 and 2 traumas during the first wave of COVID19 in a Canadian centre. Sci Rep. 2022;12(1):20345.

Vaishya R, Vaish A, Kumar A. Impact of COVID-19 on the practice of orthopaedics and trauma-an epidemiological study of the full pandemic year of a tertiary care centre of New Delhi. Int Orthop. 2021;45(6):1391–7.

Kreis CA, Ortmann B, Freistuehler M, et al. Impact of the first COVID-19 shutdown on patient volumes and surgical procedures of a Level I trauma center. Eur J Trauma Emerg Surg. 2021;47(3):665–75.

Yeates EO, Grigorian A, Schellenberg M, et al. Decreased hospital length of stay and intensive care unit admissions for non-COVID blunt trauma patients during the COVID-19 pandemic. Am J Surg. 2022;224(1 Pt A):90–5

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30