การศึกษาเปรียบเทียบการวัดความดันลูกตาระหว่างการวัดด้วยเครื่องโกลด์แมนน์และเครื่องไอแคร์ ในผู้ป่วยต้อหินในจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พรพิมล จักรสถาพร พ.บ., โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

คำสำคัญ:

ความดันลูกตา, เครื่องวัดความดันลูกตาชนิดไอแคร์, เครื่องวัดความดันลูกตาชนิดโกลด์แมนน์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่าความดันลูกตาในคนไข้ต้อหิน จากการวัดด้วยเครื่องโกลด์แมนน์กับเครื่องไอแคร์

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้าจากผู้ป่วยต้อหิน จำนวน 199 คน 398 ตา ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจวัดความหนาของกระจกตา ก่อนที่จะได้รับการวัดความดันลูกตาด้วยเครื่องไอแคร์ (iCare Rebound Tonometer; RBT) และเครื่องโกลด์แมนน์ (Goldmann Applanation Tonometer; GAT) ตามลำดับ การเปรียบเทียบค่าความดันลูกตาที่วัดด้วยโกลด์แมนน์และไอแคร์ใช้ paired samples ttest การหาความสัมพันธ์ของความดันลูกตาที่วัดด้วย GAT และ RBT โดยใช้สถิติ intraclass correlation (ICC3,1)

ผลการศึกษา: การเปรียบเทียบการวัดความดันลูกตาด้วย GAT และ RBT ในกลุ่มที่มีความดันลูกตาน้อยกว่า 21 มิลลิเมตรปรอท ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p-value = .176) แต่ในกลุ่มที่มีความดันลูกตามากกว่าหรือเท่ากับ 21 มิลลิเมตรปรอท พบความแตกต่างการวัดด้วย GAT และ RBT อย่างมีนัยสำคัญ (p < .001) เมื่อจำแนกตามค่าความหนากระจกตา กลุ่มที่มีความดันลูกตาน้อยกว่า 21 มิลลิเมตรปรอท ทั้งกลุ่มที่กระจกตาบางกว่า 540 ไมครอน และหนากว่าหรือเท่ากับ 540 ไมครอน ไม่มีความแตกต่างกันเมื่อวัดด้วยเครื่อง GAT และ RBT แต่กลุ่มที่มีความดันลูกตามากกว่าหรือเท่ากับ 21 มิลลิเมตรปรอท ทั้งกลุ่มที่กระจกตาบางกว่า 540 ไมครอน และหนากว่าหรือเท่ากับ 540 ไมครอน มีความแตกต่างกันของการวัดด้วยเครื่อง GAT และ RBT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = .011, p-value < = .001 ตามลำดับ) โดยความสัมพันธ์ของการวัดด้วยเครื่อง GAT และ RBT มีความน่าเชื่อถือในระดับดีมาก (ICC = .963 และ .964 ตามลำดับ)

สรุป: การวัดความดันลูกตาด้วยเครื่อง GAT และ RBT ในผู้ป่วยต้อหินที่มีความดันลูกตาปกติ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในกลุ่มที่มีความดันลูกตาที่มากกว่าหรือเท่ากับ 21 มิลลิเมตรปรอท มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เพราะฉะนั้นในการใช้เครื่อง RBT ในคนที่มีความดันลูกตาสูงควรระมัดระวังในการแปลผล และการนำไปใช้ในการตรวจรักษาผู้ป่วยต่อไป

References

World Health Organization. Programme for the prevention of blindness and deafness. global initiative for the elimination of avoidable blindness. Geneva: WHO 1997;1–7.

Khandekar R, Mohammed AJ, Negrel AD, et al. The prevalence and causes of blindness in the Sultanate of Oman: the Oman Eye Study (OES). Br J Ophthalmol 2002;86(9):957–62. doi: 10.1136/bjo.86.9.957

Lewallen S, Courtright P. Blindness in Africa: present situation and future needs. Br J Ophthalmol 2001;85(8):897–903. doi :10.1136/bjo.85.8.897

Munier A, Gunning T, Kenny D, et al. Causes of blindness in adult population of the Republic of Ireland. Br J Ophthalmol 1998; 82(6): 630–3. doi : 10.1136/ bjo.82.6.630

Munoz B, West SK. Blindness and visual impairment in the Americas and the Caribbean. Br J Ophthalmol 2002;86(5):498-504 doi: 10.1136/bjo.86.5.498

Comparison of glaucomatous progression between untreated patients with normal-tension glaucoma and patients with therapeutically reduced intraocular pressures. Collaborative Normal-Tension Glaucoma Study Group. Am J Ophthalmol 1988;126(4):487–97. doi : 10.1016/s 0002-9394 (98)00223-2

The Advanced Glaucoma Intervention Study (AGIS): 7. The relationship between control of intraocular pressure and visual field deterioration. The AGIS Investigators. Am J Ophthalmol 2000;130(4):429–40. doi : 10.1016/s 0002-9394(00)00538-9

Chauhan BC, Mikelberg FS, Balaszi AG Le Blanc RP, et al. Canadian Glaucoma Study Group. Canadian Glaucoma Study; 2 risk factors for the progression of open-angle glaucoma. Arch Ophthalmol 2008;126(8):1030–6. doi : 10.1001/archopht.126.8.1030

Whitacre MM, Stein RA. Sources of error with use of Goldmann-type tonometers. Surv Ophthalmol 1993;38(1):1-30. doi : 10.1016/0039-6257(93) 90053-a

Kass MA. Standardizing the measurement of Intraocular pressure for clinical research. Guidelines from the eye care technology forum. Ophthalmology 1996;103(1):183-5. doi : 10.1016/s0161-6420(96) 30741-0

Damji KF, Muni RH, Munger RM. Influence of corneal variables on accuracy of intraocular pressure measurement. J Glaucoma 2003;12(1):69-80. doi : 10.1097/00061198-200302000-00015

Sripairoj H, Makornwattana M. The Comparison of intraocular pressure measurement by Goldmann applanation tonometer and I-Care rebound tonometer in glaucoma patients at Thammasat university hospital: The Journal of the Thammasat Eye Center. 2014;1:6–11.

Krzyzanowska-Berkowska P, Asejczyk-Widlicka M. [Clinical evaluation of the ICare tonometer in measuring intraocular pressure]. Klinikaoczna. 2010;112(7-9):217–20.

Rehnman JB, Martin L. Comparison of rebound and applanation tonometry in the management of patients treated for glaucoma or ocular hypertension. Ophthalmic & physiological optics: The Journal of the British College of Ophthalmic Opticians (Optometrists). 2008;28(4):382–6. doi : 10.1111j.1475-1313.2008.00571.x

Rampersad, N, Mashige, KP, Jhetam, S. A comparison of intraocular pressure values

obtained with the Tono-Pachymeter NT530P, iCare® rebound tonometer and Goldmann applanation tonometer, S Afr Optom 2011;70(3):109–16. doi : 10.4102/aveh.v70i3.109

Koo TK., Li MY. A guideline of selecting and reporting intraclass correlation coefficients for reliability research. Journal of Chiropractic Medicine, 2016;15(2),155–63. doi : 10.1016/j.jcm.2016.02.012

Lopez-Caballero C, Contreras I, Munoz-Negrete FJ, et al. Tonometría de rebote en la práctica clínica: Comparación con tonometría de aplanación. Arch Soc Esp Oftalmol [online]. 2007;82(5):273–8. doi : 10.4321/s 0365-66912007000500005

Munkwitz S, Elkarmouty A, Hoffmann EM, et L. Comparison of the iCare rebound tonometer and the Goldmann applanation tonometer over a wide IOP range. Graefe’s archive for clinical and experimental ophthalmology. 2008;246(6):875–9. doi : 10.1007/s 00417-007-0758-3

Flemmons MS, Hsiao YC, Dzau J, et al. Icare rebound tonometry in children with known and suspected glaucoma. Journal of AAPOS: The Official Publication of The American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus / American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus. 2011;15(2):153-7. doi: 10.1016/j.jaapos.2010.11.022

Pakrou N, Gray T, Mills R, et al Clinical comparison of the Icare tonometer and Goldmann applanation tonometry. Journal of Glaucoma. 2008;17(1):43–7. doi : 10.1097/IJG.06013e318133fb32

Salmon JF. Kanski's Clinical Ophthalmology, 9th Ed. Maryland Height: Elsevier Health Sciences, 2020.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30