ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • สุขเกษม อมรสุนทร พ.บ., โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

ไตเสื่อมเรื้อรัง, ปัจจัยชะลอการเสื่อมของโรคไตเรื้อรัง, ปัจจัยต่อการเสื่อมของโรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ของ

โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ 2. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการในการทำนายโอกาสการเกิดไตเสื่อมของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ของโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง  (analytical research design,retrospective study)

ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3–4 สัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 จำนวน 349 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่มีอัตราการเสื่อมของไตต่อปีลดลงน้อยกว่า 5 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร และกลุ่มที่มีอัตราการเสื่อมของไตต่อปีลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 5 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร

ผลการศึกษา: ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสื่อมของไตลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 5 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร คือการตรวจพบโปรตีนรั่วในปัสสาวะที่มีปริมาณมากกว่า 3 กรัมต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงสูงขึ้นถึง 34.24 เท่า การมีโรคประจำตัวโรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมกับการมีโรคไตเรื้อรังเพิ่มความเสี่ยงต่อการลดลงของไต 17.54 เท่า การมีภาวะแทรกซ้อนทางไตเช่นการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การมีภาวะการอักเสบที่ไต โรคเบาหวานที่ควบคุมโรคได้ไม่ดีมีระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และมีน้ำตาลสะสมในเลือดเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 7 พบว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสื่อมของไต การทำนายความเสี่ยงแบบหลายปัจจัยพบว่าผู้ป่วยที่จะมีโอกาสมีความเสี่ยงต่อการเสื่อมของไตอย่างเร็วขึ้นในอนาคตได้แก่การมีโปรตีนในปัสสาวะ การมีโรคหัวใจและหลอดเลือด การมีความดันโลหิตสูงที่คุมไม่ได้ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การมีการอักเสบของไต การมีภาวะโลหิตจาง โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ดีและการมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง โดยปัจจัยที่มีผลเพิ่มความเสี่ยงสูงที่สุดคือการมีโปรตีนในปัสสาวะเพิ่มความเสี่ยง 21.366 เท่า อันดับที่สองคือการมีโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มโอกาสสูงขึ้น 20.021 เท่า อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีความน่าเชื่อถือในการทำนายถูกต้องถึงร้อยละ 87.7  

สรุป: ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ที่ตรวจพบโปรตีนรั่วในปัสสาวะ การมีโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ตามเป้าหมาย และการมีภาวการณ์ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และไตอักเสบ มีความเสี่ยงต่อการเสื่อมของไตมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

References

ประเสริฐ ธนกิจจารุ, สกานต์ บุนนาค, วรางคณา พิชัยวงศ์. โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease:CKD). ใน: ชุษณะ มะกรสาร, บรรณาธิการ. Thailand Medical Servce Profile 2011–2014. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2557. หน้า 8–1.

Murton M, Goff-Leggett D, Bobrowska A, et al. Burden of Chronic Kidney Disease by KDIGO Categories of Glomerular Filtration Rate and Albuminuria: A Systematic Review. Adv Ther 2021 ;38(1):1–21.

Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, et al. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2010; 25(5):1567–75.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุภาพแห่งขาติ. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนพับลิสซิ่ง; 2556: หน้า 7–124.

Kanjanabuch T, Takkavatakarn K. Global Dialysis Perspective: Thailand. Kidney360 2020; 1(7):671–75.

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วทา. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง พ.ศ. 2564. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์, 2564.

Levey SA, E de Jong P, Coresh J, et al. The definition, classification, and prognosis of chronic kidney disease: a KDIGO Controversies Conference report. Kidney Int 2011;80(1): 17–28.

บัญชา สถิระพจน์. Diabetic Nephropathy: Diagnosis and Therapeutic Targets. เวชสารแพทย์

ทหารบก 2563;73(3):199–209.

Fioretto P, Steffes MW, Mauer M. Glomerular structure in nonproteinuric IDDM patients with various levels of albuminuria. Diabetes 1994;43(11):1358–64.

Cabrera CS, Lee AS, Olsson M, et al. Impact of CKD Progression on Cardiovascular Disease Risk in a Contemporary UK Cohort of Individuals With Diabetes. Kidney Int Rep 2020;5(10):1651–60.

ชาครีย์ กิติยากร. A cohort of CKD patients with high risk for cardiovascular events or renal disease progression multicenter study (CORE-CKD Thailand): Outcomes and Cost-Effectiveness Extension Study. คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)[ออนไลน์] 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565]; Available from: URL: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5043.

Subbiah AK, Chhabra YK, Mahajan S. Cardiovascular disease in patients with chronic kidney disease: a neglected subgroup. Heart Asia 2016;8(2):56–61.

Jankowski J, Floege J, Fliser D, et al. Cardiovascular Disease in Chronic Kidney Disease: Pathophysiological Insights and Therapeutic Options. Circulation 2021;143(11):1157–72.

Chapter 1: definition and classification of CKD. Kidney Int Suppl 2011;3(1):19–62.

Research Group Diabetes Control and Complications, Nathan DM, Genuth S, et al. The effect of intensive treatment of diabetes on the development and progression of long-term complications in insulin-dependent diabetes mellitus. N Engl J Med 1993;329(14):977–86.

UK Prospective Diabetes Study(UKPDS). Intensive blood-glucose control with sulphonylureas or insulin compared with conventional treatment and risk of complications in patients with type 2 diabetes (UKPDS 33). Lancet 1998;352(9131):837–53.

Ruospo M, Saglimbene VM, Palmer SC, et al. Glucose targets for preventing diabetic kidney disease and its progression. Cochrane Database Syst Rev 2017;6(6):101–37.

Weldegiorgis M, Woodward M. The impact of hypertension on chronic kidney disease and end-stage renal disease is greater in men than women: a systematic review and meta-analysis. BMC Nephrol 2020;21(1):506.

Jicheng Lv, Ehteshami P, Sarnak MJ, et al. Effects of intensive blood pressure lowering on the progression of chronic kidney disease: a systematic review and meta-analysis. CMAJ. 2013;185(11):949–57.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30