การพัฒนาโปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดอักเสบด้วย E-Nursing ในหอผู้ป่วย
คำสำคัญ:
โปรแกรมคอมพิวเตอร์, การพยาบาล, เด็ก, ปอดอักเสบบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดอักเสบด้วย E-Nursing
วิธีการศึกษา: รูปแบบการวิจัยชนิดการวิจัยและพัฒนา แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ 1) การสังเคราะห์สถานการณ์และความต้องการดูแล และร่างต้นแบบของโปรแกรม 2) การพัฒนาโปรแกรม 3) การประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเด็กปอดอักเสบที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม ทีมสุขภาพและพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยเด็กปอดอักเสบในหอผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการพยาบาล แบบบันทึกข้อมูลทางการแพทย์ แบบบันทึกทางการพยาบาล แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาล และแนวประเด็นคำถามการสนทนากลุ่มกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการสรุปเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อัตรา สถิติ Mann Whitney U test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .05
ผลการศึกษา: โปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดอักเสบด้วย E-Nursing ปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ประกอบด้วยข้อมูลการประเมินภาวะสุขภาพ ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล กิจกรรมการพยาบาล บันทึกการพยาบาล และการประเมินผลการพยาบาล ประสิทธิผลของโปรแกรมพบว่า ระยะวันนอนโรงพยาบาลลดลง 0.85 วัน ไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วย ให้การดูแลทันเวลาทุกคน และจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลโดยแพทย์อนุญาตทุกราย ทีมพยาบาลเกิดความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย ช่วยในการตัดสินใจทางคลินิก และมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมในระดับมากที่สุด
สรุป: โปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยเด็กปอดอักเสบด้วย E-Nursing ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกพยาบาลและทีมสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยเด็กปอดอักเสบที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล ตามมาตรฐานกระบวนการพยาบาล โปรแกรมนี้จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการดูแลผู้ป่วยโรคอื่นๆ ได้
References
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลโรคติดต่อ จากฐานข้อมูลเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/area/index.php?ma=1&pf=01818101&tp=231
สรศักดิ์ โล่จินดารัตน์. แนวทางการดูแลรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศ. นนทบุรี: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2562.
ศูนยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11
วนิดา แสนพุก, สุดใจ ศรีสงค์, เพ็ญจุรี แสนสุริวงศ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ. วารสารกองการพยาบาล 2563;47(1):153–72.
Zed SAFA, Mohammed AA. Impact of nursing guidelines on nurses’ knowledge and performance regarding to prevention of ventilator associated pneumonia in neonates. JPNEP 2019;9(10):1-10. Doi: https://doi.org/10.5430/jnep.v9n10p15
Sun YK, Shih WC, Cheng KH. An Electronic Handover System to Improve Information Transfer for Surgical Patients. Comput Inform Nurs 2018;36(12):610–4. doi: 10.1097/CIN.0000000000000466.
Hussey P, Kennedy MA. Introduction to Nursing Informatics. 5th ed. New York: Springer; 2021.
Claytor J, Grant RW. Sex-Based Differences Entangling With Electronic Health Record Documentation. JAMA Intern Med 2021;181(2):290–1. doi: 10.1001/jamainternmed.2020.5008.
Kane SP. Sample Size Calculator [Internet]. 2019 [cited 2022 May 25]; Available from: https://clincalc.com/stats/samplesize.aspx.
อภิพร กาญจนกุญชร, ปิยะภัทร เดชพระธรรม. ความเที่ยงและความตรงของเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิต Stroke Impact Scale (SIS) 3.0 ฉบับภาษาไทย. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2558;25(2):45–52.
Mohamed NN, Eldakhakhny AM, Mohamed BM. Quality of Nursing Care provided to Children with Pneumonia. Zagazig Nursing Journal 2021;17(2):1–13. doi: 10.21608/ZNJ.2021.178197
Starren JB, Tierney WM, Williams MS, et al. A retrospective look at the predictions and recommendations from the 2009 AMIA policy meeting: did we see EHR-related clinician burnout coming?. J Am Med Inform Assoc 2021;28(5):948–54. doi: 10.1093/jamia/ocaa320.
Liu Y, Ren H, Guo J, et al. Effect of continuous nursing on nursing quality and patient quality of life and satisfaction among children with pneumonia. J Int Med Res. 2021;49(3):0300060521993691. doi: 10.1177/0300060521993691
National Library of Medicine. 25 By 5: Symposium to Reduce Documentation Burden on U.S. Clinicians by 75% by 2025 [Internet]. 2021 [cited 2022 April 27]; Available from: https://www.dbmi.columbia.edu/25x5/.
Tajirian T, Stergiopoulos V, Strudwick G, et al. The Influence of Electronic Health Record Use on Physician Burnout : Cross-Sectional Survey. J Med Internet Res 2020;22(7):e19274. doi: 10.2196/19274
ฆนรส อภิญญาลังกร, วราภรณ์ ผาทอง, รัตนาภรณ์ ภุมรินทร์. ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการทางเดินหายใจในผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2559;27:139–51.
Wang L, Li T, Wang FT. Study on the effect of humanized nursing on improving injection compliance in pediatric outpatient department. Guizhou Med J. 2018; 42:249–50. Doi: https://doi.org/10.1177/03000605219936
Xu Y, Li X, Yang Q, et al. The Impact of 3S2E Nursing Management on the Psychological Status of Respiratory Function and Quality of Life of Patients with Severe Pneumonia in the ICU. Emerg Med Int 2022;2022:4949498. doi: 10.1155/2022/4949498.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์