การพัฒนารูปแบบการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • กิตติ วงศ์ไพรินทร์ ภ.บ. โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า

คำสำคัญ:

บาดแผลสดจากอุบัติเหตุ, การใช้ยาอย่างสมเหตุผล, AAR, driver diagram

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาปัจจัยและความเหมาะสมในการจ่ายยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ เพื่อนำมาพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงศึกษาและพัฒนา (research & development: R&D) ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงผสมผสาน (mixed methods study) โดยศึกษาเชิงปริมาณ จากข้อมูลผู้ป่วยนอกบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ ที่มารับบริการที่ แผนกห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลอัมพวา โดยเก็บข้อมูลก่อนการพัฒนา จากการศึกษาเวชระเบียนย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564–30 กันยายน 2565 และหลังพัฒนาช่วงระหว่าง 1 กุมภาพันธ์–31 มีนาคม 2566 ศึกษาเชิงคุณภาพด้วยกระบวนการ AAR และ driver diagram โดยสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ตัวแทนคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด โรงพยาบาลอัมพวา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่มด้วย chi-square test วิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ (content analysis) ด้วยวิธีการ ถอดความตีความ และให้ความหมาย โดยผู้วิจัยทำหน้าที่ผู้นำการสนทนา (moderator)

ผลการศึกษา: ก่อนการพัฒนา พบผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 54.7 และมีการจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม ร้อยละ 58.9 โดยปัจจัยด้านผู้ป่วย และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบาดแผล มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ระหว่างกลุ่มที่ได้รับยา กับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา และกลุ่มที่จ่ายยาเหมาะสม กับกลุ่มที่จ่ายยาไม่เหมาะสม ประเด็นสำคัญที่ได้จากการถอดบทเรียนกิจกรรมทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (after action review: AAR) ได้แก่ 1) ผู้ป่วยมาทำการรักษาช้ากว่า 6 ชั่วโมง 2) การจ่ายยาปฏิชีวนะในบาดแผลสะอาด ที่ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ และ3) ส่วนใหญ่ทำการรักษาโดย แพทย์ใช้ทุน ในการสนทนากลุ่ม ใช้ driver diagram พัฒนารูปแบบการจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ในลักษณะของ process decision program chart หลังการพัฒนา พบอัตราการจ่ายยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 52.7 ความเหมาะสมในการจ่ายยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 77.6 และไม่พบการจ่ายยาในบาดแผลกลุ่มที่ 1 บาดแผลสะอาด ที่ไม่ควรใช้ยา

สรุป: รูปแบบการจ่ายยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุอย่างสมเหตุผล ที่พัฒนาจากกิจกรรม AAR และ driver diagram ทำให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะลดลง ร้อยละ 2 แต่ยังเกินเป้าหมายที่กระทรวงกำหนดไว้ (ร้อยละ 40) โดยมีการจ่ายยาอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 และไม่พบการจ่ายยาในบาดแผลสะอาดที่ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ ดังนั้น จึงควรมีการทำ AAR เป็นระยะ อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งศึกษาผลการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลจากสัตว์กัด และเฝ้าระวังการใช้ยาปฏิชีวนะในชุมชนเพิ่มเติม

References

World Health Organization. The world medicines situation. Geneva: World Health Organization; 2004

ภาณุมาศ ภูมาศ, ตวงรัตน์ โพธะ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, และคณะ. ผลกระทบด้านสุขภาพ และเศรษฐศาสตร์ จากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย : การศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2555;6(3):352–60.

เกวลิน ชื่นเจริญสุข และคณะ. การขับเคลื่อนแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) พ.ศ.2560–2564. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรประเทศไทย; 2560.

HDC กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขา RDU [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 4 ม.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=03b912ab9ccb4c07280a89bf05e5900e

Sirijatuphat R, Choochan T, Siritongtaworn P, et al. Implementation of Antibiotic Use Guidelines for Fresh Traumatic Wound at Siriraj Hospital. J Med Assoc Thai 2015;98(3):245–52.

อัจฉรา ไชยธรรม, หทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล. การพัฒนาระบบการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล: กรณีศึกษาโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจและบาดแผลสดจากอุบัติเหตุของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนบน. วารสารเภสัชกรรมไทย 2564;13(1):748-7

ธีรนุช พรหมจันทร์, กุลจิรา อุดมอักษร, ธนเทพ วณิชยากร. ผลของมาตรการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม : โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี. วารสารเภสัชกรรมไทย 2565;14(4):843–55

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. การทบทวนหลังกิจกรรม หรือหลังปฏิบัติ หรือหลังกิจกรรม (After Action Review-AAR) [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/after-action-review/

Quality The Story. Driver Diagram [อินเทอร์เน็ต]. 2019 [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม2566]. Available from: https://www.qualitythestory.com/driver-diagram/

ชุติมาภรณ์ ไชยสงค์, พิริยา ติยาภักดิ์, อนันตเดช วงศรียา, และคณะ. ประเภทของบาดแผลและรูปแบบการใช้ยาปฏิชีวนะ ในผู้ป่วยอุบัติเหตุของโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2562;13(1):116–24

ศิริรัตน์ ไสไทย, ปิยะเนตร พรสินศิริรักษ์, รอแฮนิง วาเฮง, และคณะ. สถานการณ์การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรคบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ ในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดกระบี่. กระบี่เวชสาร. 2562;2(2):29–35

HDC กระทรวงสาธารณสุข. Template ปี 2562 [Internet]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 4 ม.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=03b912ab9ccb4c07280a89bf05e5900e&id=1fa1fd876237284f018ec8356cad29b1

พรพิมล จันทร์คุณาภาส, ไพรำ จันทร์คุณาภาส, นัดดา ศรีสุพรรณ, และคณะ. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาพัฒนา ระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Service Plan: Rational Drug Use). นนทบุรี: กลุ่มงานพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข; 2559:70–2

ธีระยุทธ นาคฤทธิ์. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมของร้านชำ อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (Online) 2023;3(1):163–75.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30