การป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อโควิด-19 ด้วย Tixagevimab/Cilgavimab ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายในโรงพยาบาลนครปฐม

ผู้แต่ง

  • อุษณีย์ พูลวิวัฒน์ชัยการ พ.บ., โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

แอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว, tixagevimab/cilgavimab, โควิด-19, การป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย หลังได้รับแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว tixagevimab/cilgavimab เพื่อการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อ ตลอดจนศึกษาความรุนแรงของการติดเชื้อ และผลข้างเคียงของ tixagevimab/cilgavimab

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังเชิงติดตาม ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับ tixagevimab/cilgavimab ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565  ในโรงพยาบาลนครปฐม โดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป โรคประจำตัว ประวัติการได้รับวัคซีนโควิด การติดเชื้อโควิด-19 หลังได้ยาภายในระยะเวลา 6 เดือน อาการ/อาการแสดงถ้าติดเชื้อ และผลข้างเคียงของ tixagevimab/ cilgavimab

ผลการศึกษา: มีผู้ป่วย 103 ราย ได้รับ tixagevimab/cilgavimab อายุเฉลี่ย 54.8 ± 13.8 ปี (22–92 ปี) เป็นชาย 59 ราย (ร้อยละ 57.3) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ฟอกเลือดด้วยไตเทียม 90 ราย (ร้อยละ 87.4) ผู้ป่วย 11 ราย (ร้อยละ 10.7) ล้างไตทางช่องท้อง ผู้ป่วย 2 รายเคยได้รับการปลูกถ่ายไต จากการติดตามในระยะเวลา  6 เดือน ผู้ป่วย 5 รายติดเชื้อโควิด-19 (ร้อยละ 4.9) ผู้ป่วยทุกรายอาการรุนแรงน้อย  และไม่ต้องรักษาในโรงพยาบาล ผลข้างเคียงของยาพบเพียง 8 ราย (ร้อยละ 7.8) ได้แก่ เจ็บตำแหน่งฉีด 5 ราย มีไข้ 3 ราย โดยอาการดังกล่าวไม่รุนแรงและหายเอง 

สรุป: จากการศึกษาย้อนหลังเชิงติดตาม tixagevimab/cilgavimab มีความปลอดภัย พบผู้ป่วยมีอาการของโรคน้อยและไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 และลดความรุนแรงได้ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย

References

COVID-19 situation reports. https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/situation-reports.

Zhou F, Yu T, Du R, et al. Clinical course and risk factors for mortality of adult inpatients with COVID-19 in Wuhan, China: a retrospective cohort study. Lancet. 2020;395(10229):1054–62.

Pilgram L, Eberwein L, Wille K, et al. Clinical course and predictive risk factors for fatal outcome of SARS-CoV-2 infection in patients with chronic kidney disease. Infection. 2021;49(4):725–37. doi:10.1007/s15010-021-01597-7.

Kang SH, Kim SW, Kim AY, et al. Association between Chronic Kidney Disease or Acute Kidney Injury and Clinical Outcomes in COVID-19 Patients. J Korean Med Sci. 2020;35(50):e434. doi:10.3346/jkms.2020.35.e434.

Levin MJ, Ustianowski A, De Wit S, et al; PROVENT Study Group. Intramuscular AZD7442 (Tixagevimab-Cilgavimab) for Prevention of COVID-19. N Engl J Med. 2022;386(23):2188–200.

แนวทางการให้ Long Acting Antibody (LAAB) ในประเทศไทย ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 เดือนกันยายน 2565. https://ddc.moph.go.th/vaccineCOVID19/getFiles/11/1669968711550.pdf

Food and Drug Administration. Fact sheet for healthcare providers: Emergency Use Authorization for Evusheld (tixagevimab co-packaged with cilgavimab). 2023. Available from: https://www.fda.gov/media/154701/download.

COVID-19 Treatment Guidelines Panel. Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Treatment Guidelines. National Institutes of Health. Available at https://www.COVID19treatmentguidelines.nih.gov/. Accessed [on 8/10/2023].

Takashita E, Yamayoshi S, Simon V, et al. Efficacy of Antibodies and Antiviral Drugs against Omicron BA.2.12.1, BA.4, and BA.5 Subvariants. N Engl J Med. 2022;387(5):468–70.

US Food and Drug Administration Fact Sheet for Healthcare Providers: Emergency Use Authorization for EvusheldTM (Tixagevimab Co-Packaged with Cilgavimab). https://www.fda.gov/media/154701/download [cited: January 2023]

Centers for Disease Control and Prevention CDC COVID Data Tracker: Variant Proportions. https://COVID.cdc.gov/COVID-data-tracker/#variant-proportions [cited January 2023]

คำแนะนำการให้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (Long-acting Antibody: LAAB) สำหรับการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อและการรักษาโควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสมาคมแพทย์เฉพาะทาง (สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2566). สืบค้นจาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1402820230322130408.pdf

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30