ปัจจัยแรงจูงใจในการป้องกันโรคที่มีผลต่อการรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุขใน โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย
คำสำคัญ:
ปัจจัย, การทำนาย, วัคซีน, โควิด19, บุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุขบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีรูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจในการป้องกันโรคที่มีผลต่อการรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของทุติยภูมิบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย จำนวน 25,288 ราย
วิธีการศึกษา: ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 218 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติเพียร์สัน และสถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษา: พบว่า ตัวแปรอิสระปัจจัยความสัมพันธ์กับการรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ของ บุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ซึ่งได้ถูกคัดเข้าสมการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เรียงลำดับได้ดังต่อนี้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการรับรู้ความรุนแรงของโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0. 498; p – value < .001), (r = 0. 463; p – value < .001) ตามลำดับ
สรุป: พบว่า ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัว สามารถพยากรณ์ ทำให้ปัจจัยแรงจูงใจในการป้องกันโรคมีผลต่อการรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ของบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ได้ร้อยละ 24.8 (R2 = 0.248) หรือ ร้อยละ 25
References
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สวรส. รายงานประจำ ปี 2564 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข: สร้างองค์ความรู้สู่การพัฒนาระบบสุขภาพไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสาธารณสุข; 2565.
Bantaojai T, Junphum S. The Association between Motivation Prevention and Acceptance Vaccine Services for Prevention and Control of the COVID-19 on University Students in Thailand. IJISRT 2022;7(1):364–8.
Ansari-Moghaddam A, Seraji M, et al. The protection motivation theory for predict intention of COVID-19 vaccination in Iran: a structural equation modelling approach. BMC Public Health 2021;21(1):1165. doi.org/10.1186/s12889-021-11134-8
กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. วัคซีนโควิด-19 สถานการณ์
โรคประเทศไทย และอาเซียน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 8 มกราคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.mhesi.go.th/index.php/content_page/item/3807-126642.html.
กรมควบคุมโรค. แนวทางการให้บริการวัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 มกราคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1149520210602015924.pdf.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. ตารางสรุปยอดฉีดวัคซีนโควิด 19 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ได้ฉีด 2 เข็ม แต่ยังไม่ได้ฉีดเข็ม 3 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 5 มกราคม 2566];
เข้าถึงได้จาก: URL: https://eofkkpho.moph.go.th/injected/covidresult.php.
Prentice-Dunn S, Rogers RW. Protection motivation theory and preventive health: Beyond the health belief model. Health Educ. Res.. 1986;1(3):153–61.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2531.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น; 2553.
Erickson RC, Cutler D, Cowell VB, et al. Serving the needs of persons with chronic mental illness: A neglected ministry. Journal of Pastoral Care. 1990;44(2):153–62.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์