การตรวจคัดกรองหลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหารของผู้ป่วยโรคตับแข็ง โรงพยาบาลสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • สิริรัตน์ พุทธศิริวัฒน พ.บ., โรงพยาบาลสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

หลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร, การทำหัตถการรัดหลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร, หลอดเลือดโป่งพองในกระเพาะอาหาร, การฉีดสารในหลอดเลือดโป่งพองในกระเพาะอาหาร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและค้นหาปัจจัยเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหารของผู้ป่วยตับแข็ง

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ prospective cohort study ทำการเก็บข้อมูลจากแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลในคลินิกโรคตับ ตั้งแต่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 และผลการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนโดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า mean, median, SD, range, 95% CI, และ odds ratio

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่มารับการรักษาโรคตับแข็ง 96 คน พบว่า อายุเฉลี่ย 57 ± 12 ปี เป็นเพศชาย 58 คน (ร้อยละ 60.4 ) มีโรคประจำตัวร่วมมากที่สุด คือ ความดันโลหิตสูง จำนวน 28 คน (ร้อยละ 29.2) สาเหตุของโรคตับแข็งมากที่สุด คือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จำนวน 34 คน (ร้อยละ 35.4 )

          ผลการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน พบว่า มีหลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร (EV) จำนวน 48 คน (ร้อยละ 50) โดยพบขนาดต่างๆ กล่าวคือ Grade F1, F2, และ F3 จำนวน 46, 17, และ 1 คน (ร้อยละ 47.9, 17.7, และ 1) ตามลำดับ อีกทั้ง พบมีหลอดเลือดโป่งพองในกระเพาะอาหาร (GV)  จำนวน 6 คน (ร้อยละ 6.3)

สรุป: ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มาตรวจคัดกรอง พบความชุกของหลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหารจำนวน 48 คน (ร้อยละ 50) และเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ พบว่า เพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าในการเกิดหลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหารของผู้ป่วยตับแข็งอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (p-value < .01) นอกจากนี้ ร้อยละ 22.9 ของผู้ป่วยโรคตับแข็งที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ จะพบหลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหารมากกว่าสาเหตุอื่นอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (p-value < .01)

References

Mittal S, Kanwal F, Ying J, et al. Effectiveness of surveillance for hepatocellular carcinoma in clinical practice: a United States cohort. J Hepatol 2016;65(6):1148–54. doi: 10.1016/j.jhep.2016.07.025.

Tapper EB, Asrani SK. The COVID-19 pandemic will have a long-lasting impact on the quality of cirrhosis care. J Hepatol 2020;73(2):441–5. doi: 10.1016/j.jhep.2020.04.005.

Kanwal F, Kramer J, Asch MS, et al. An Explicit quality indicator set for measurement of quality of care in patients with cirrhosis. Clin Gastroenterol Hepatol 2010;8(8):709–17. doi: 10.1016/j.cgh.2010.03.028.

Asrani SK, Devarbhavi H, Eaton J, et al. Burden of liver diseases in the world. J Hepatol 2019;70(1):151–71. doi: 10.1016/j.jhep.2018.09.014.

Ratib S, Fleming KM, Crooks CJ, et al. 1 and 5 year survival estimates for people with cirrhosis of the liver in England, 1998–2009: a large population study. J Hepatol 2014;60(2):282–9. doi: 10.1016/j.jhep.2013.09.027.

Yeo YH, Hwang J, Jeong D, et al. Surveillance of patients with cirrhosis remains suboptimal in the United States. J Hepatol. 2021;75(4):856–64. doi: 10.1016/j.jhep.2021.04.042.

Maurice JB, Brodkin E, Arnold F, et al. Validation of the Baveno VI criteria to identify low risk cirrhotic patients not requiring endoscopic surveillance for varices. J Hepatol 2016;65(5):899–905. doi: 10.1016/j.jhep.2016.06.021.

De Franchis R. Expanding consensus in portal hypertension: Report of the Baveno VI Consensus Workshop: stratifying risk and individualizing care for portal hypertension. J Hepatol 2015;63(3):743–52. doi: 10.1016/j.jhep.2015.05.022.

Jacobson IM, Lim JK, Fried MW. American Gastroenterological Association Institute clinical practice update-expert review: care of patients who have achieved a sustained virologic response after antiviral therapy for chronic hepatitis C infection. Gastroenterology 2017;152(6):1578–87. doi: 10.1053/j.gastro.2017.03.018.

D’Amico G, Garcia-Tsao G, Pagliaro L. Natural history and prognostic indicators of survival in cirrhosis: a systemic review of 118 studies. J Hepatol 2006;44(1):217–31. doi: 10.1016/j.jhep.2005.10.013.

Groszmann RJ, Garcia-Tsao G, Bosch J, et al. Beta-blockers to prevent gastroesophageal varices in patients with cirrhosis. N Engl J Med 2005;353(21):2254–61. doi: 10.1056/NEJMoa044456.

Merli M, Nicolini G, Angeloni S, et al. Incidence and natural history of small esophageal varices in cirrhotic patients. J Hepatol 2008;38(3):266–72. doi: 10.1016/s0168-8278(02)00420-8.

European Association for the Study of the Liver. EASL clnical practice guidelines for the management of patients with decompensated cirrhosis. J Hepatol 2018;69(2)403–60. doi: 10.1016/j.jhep.2018.03.024.

Madhotra R, Hugh ME, Ira W, et al. Prediction of esophageal varices in patients with cirrhosis. J Clin Gastroenterol 2002;34(1):81–5. doi: 10.1097/00004836-200201000-00016.

Silva MJ, Bernardes C, Pinto J, et al. Baveno VI recommendation on avoidance of screening endoscopy in cirrhotic patients: Are we there yet?. Port J Gastroenterol 2017;24(2):79–83. doi: 10.1159/000452693.

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30