การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ โรงพยาบาลบ้านโป่ง

ผู้แต่ง

  • กนกทอง จาตุรงคโชค วท.ม., โรงพยาบาลบ้านโป่ง
  • ตวงรัตน์ อินทรแสน พบ.ม., โรงพยาบาลบ้านโป่ง
  • อัญญา ปลดเปลื้อง ปร.ด., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, รูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ความเสี่ยงเบาหวานในขณะตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ ในโรงพยาบาลบ้านโป่ง

          วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบฯ 3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 ถึงพฤษภาคม 2566 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) พยาบาล จำนวน 30 คน 2) หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ จำนวน 30 คน และ 3) เวชระเบียนหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 51 ฉบับ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความรู้ แบบประเมินทักษะการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบประเมินความพึงพอใจ และประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา: 1) รูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ โรงพยาบาลบ้านโป่ง หรือ KANOCK Model ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1.1) ความรู้ด้านสุขภาพ 1.2) การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ 1.3) การสร้างเครือข่าย 1.4) ตัวเลือกตัดสินใจ 1.5) การกำหนดเป้าหมาย และ 1.6) การรู้เท่าทันสื่อประเด็นสื่อสารหลัก 2) หลังใช้รูปแบบ พยาบาลมีคะแนนความรู้การดูแลหญิงตั้งครรภ์เฉลี่ยสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การใช้ทักษะการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพก่อนและหลังใช้รูปแบบไม่แตกต่างกัน มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมหลังใช้รูปแบบ อยู่ในระดับมาก 3) หลังใช้รูปแบบ หญิงตั้งครรภ์มีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพรวมเฉลี่ยและพฤติกรรมการจัดการตนเองรวมเฉลี่ยสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลลัพธ์ทางสุขภาพ ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดพบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ และดัชนีมวลกายพบว่าอยู่ในเกณฑ์เดิมก่อนการตั้งครรภ์

          สรุป: การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการจัดการตนเอง ป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ ควรนำรูปแบบไปใช้ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในชุมชน ให้ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อชะลอการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2563 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

[อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564]; เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com.

American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes-2017: Summary of Revisions. Diabetes Care 2017;40(Suppl.1):S25–S32. doi: 10.2337/dc17-S003.

โรงพยาบาลบ้านโป่ง. รายงานสถิติประจำปี โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.bph.moph.go.th/stat/.

สุชยา ลือวรรณ. โรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 15 กันยายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/medical-student-5/3695/.

ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร, อภิธาน พวงศรีเจริญ, และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์ที่มี Glucose Challenge Test ผิดปกติ. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2559;34(2):58–69.

จักราวุธ เกิดช้ำ, อภิวันท์ นาวา, มณีรัตน์ เป็งน้อย, และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่างิ้ว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. การประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ครั้งที่ 1; วันที่ 7–8 ธันวาคม 2560; ณ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2560.

Manganello JA. Health Literacy and Adolescents: a framework and agenda for future research. Health Educ Res 2008;23(5):840–7. doi: 10.1093/her/cym069.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง; 2561.

กฤษณี สุวรรณรัตน์, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการภาวะเบาหวานด้วยตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2561;30(2):1–13.

Nutbeam D. Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary

health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International 2000;15(3):259–67. doi: 10.1093/heapro/15.3.259

อังศินันท์ อินทรกำแหง. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก: URL:

http://bsris.swu.ac.th/upload/268335.pdf.

Glasgow RE, Funnell MM, Bonomi AE, et al. Self-management aspects of the improving chronic illness care breakthrough series: Implementation with diabetes and heart failure teams. Ann Behav Med 2002;24(2):80–7. doi: 10.1207/S15324796ABM2402_04.

วรรณรัตน์ รัตนวรางค์, วิทยา จันทร์ทา. ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแล

ตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัย

พยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2561;24(2):34–50.

นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ. การนำความฉลาดทางสุขภาพไปปฏิบัติงานสาธารณสุข. วารสารวิจัยคณะ

สาธารณสุขศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน 2558;8(2):68–75.

บุญสืบ โสโสม, รัชนี พจนา. การสอนกลับ และการใช้แผนภูมิรูปภาพที่มีความละเอียดอ่อนทางวัฒนธรรม: แนวคิดการส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพสำหรับหญิงที่เป็นเบาหวานระยะตั้งครรภ์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2564;8(1):321–336.

กรฐณธัช ปัญญาใส, พิชามญชุ์ ภูเจริญ, ณิชกมล เปียอยู่. การประเมินผลการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2560; 28(1):51–62.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติในการวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์; 2557.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและ

พฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กและเยาวชน (อายุ 7–14 ปี) กลุ่มประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุง

ปี 2561. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

สมฤทัย เพชรประยูร, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, และคณะ. อิทธิพลของการรับรู้

ความรุนแรงของโรค ความแตกฉานด้านสุขภาพ และการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2.วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2557;26(1):38–51.

กรรณิกา เพ็ชรรักษ์, ศีตรา มยูขโชติ, นภศพร เทวะเศกสรรค์, และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ พฤติกรรมป้องกันการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2564;29(1):11–21.

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30