การพัฒนาต้นแบบและเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • สรชัย หลำสาคร ส.บ., ร.ป.ม., สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

การพัฒนาต้นแบบ, อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว, เครือข่าย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว ปัจจัยทำนายด้านการรับรู้ การมีส่วนร่วมและคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าว จังหวัดสมุทรสาคร

วิธีการศึกษา: การวิจัยและพัฒนานี้ มีขั้นตอน 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การบริหารจัดการ 2) การจัดทำคู่มือการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) 3) ฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว 4) กำหนดบทบาทผู้ที่ผ่านการอบรม 5) สร้างการมีส่วนร่วมและการรับรู้ของ อสต. 6) การทดลองใช้และการปรับปรุงรูปแบบ 7) การพัฒนากลุ่มเครือข่าย 8) การพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรออนไลน์ ระหว่างเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม 2566 กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว จำนวน 142 คน เครือข่าย จำนวน 144 คน แรงงานต่างด้าว จำนวน 271 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน multiple linear regression และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยสรุปเชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา: รูปแบบอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว จังหวัดสมุทรสาคร ที่พัฒนาขึ้น มี 9 ด้าน ได้แก่ การเป็นจิตอาสา ความตั้งใจ การรับรู้บทบาท แรงสนับสนุนทางสังคม แรงจูงใจ การยอมรับนับถือ โอกาสก้าวหน้า ภาคีเครือข่าย และการพัฒนาคุณภาพชีวิต รับรู้บทบาทการปฏิบัติงานโดยรวมระดับสูง (mean = 3.75, SD = 0.30) ปัจจัยโดยรวมสามารถทำนายต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 72 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าคงที่ B = 1.700, R2Adj. = 0.720, p < .001) เครือข่ายมีส่วนร่วมโดยรวมระดับสูง (mean = 3.11, SD = 0.99) แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่สัญชาติเมียนมา ร้อยละ 62.4 เป็นเพศชาย ร้อยละ 75.6 อายุ 30–39 ปี ร้อยละ 41.3 (mean = 36.04, SD = 7.13) ทำงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมประมง ร้อยละ 63.1 สิทธิการรักษาพยาบาลบัตรประกันสุขภาพของรัฐ ร้อยละ 48.7 อาการเจ็บป่วยคือ ทางเดินหายใจและปวดกล้ามเนื้อ ร้อยละ 70.8 คุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวโดยรวมระดับดี (mean = 2.79, SD = 7.11)

สรุป รูปแบบอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว จังหวัดสมุทรสาคร ที่พัฒนาขึ้นใหม่ ทำให้กลุ่มเครือข่ายมีส่วนร่วมในระบบบริการสาธารณสุขต่างด้าว ส่งผลทำให้กลุ่มแรงงานต่างด้าวมีคุณภาพชีวิตที่ดี

 

References

สำนักงานแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร. ข้อมูลแรงงานต่างด้าว จังหวัดสมุทรสาคร [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 14 พฤษภาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก URL: https://samutsakhon.mol.go.th

กรมการจัดหางาน สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. สถานการณ์แรงงานต่างด้าว [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 14 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก URL: https://www.doe.go.th/prd

นฤมล วงษ์เดือน. สมรรถนะการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการบริการสุขภาพแรงงานข้ามชาติ [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต]. ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558. doi: 10.14457/MU.the.2015.27.

เฉิด สารเรือน, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. การเข้าถึงบริการสุขภาพแรงงานต่างด้าวก่อนก้าวสู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนชายแดน ไทย-เมียนมาร์ จังหวัดตาก. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2558; 29(3): 123-36.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร. สถานการณ์ผู้ป่วยเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 14 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก URL: http://skno.moph.go.th/

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน. สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กลุ่มงานพัฒนาระบบควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว; 2560–5.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์; 2557.

อรัญญา ศิริผล, เทพินทร พัชรานุรักษ์. บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติกับการใช้ทรัพยากรร่วม (มนุษย์) พัฒนาสุขภาพเมืองชายแดน. วารสารรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตร 2564;12(2):23–46.

เทพินทร พัชรานุรักษ, พัชรีพรรณ ระหว่างบ้าน, ปาณิสรา แกวบุญธรรม. เครือข่ายสุขภาพชายแดนและบริการสุขภาพพื้นฐาน: การส่งเสริมความมั่นคงทางสุขภาพในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ). กรุงเทพ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกสว.); 2561.

ณิรดา โพธิ์ยิ้ม, ถาวร สกุลพาณิชย์, พัชนี ธรรมวันนา และคณะ. สถานการณ์การจัดระบบประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงาน ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน: กรณีศึกษาจังหวัดตาก. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2566;32(1):84–95.

นิติพัฒน์ ซื่อดี. การจัดการปกครองแบบร่วมมือ (Collaborative Governance) กับการนำนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิต ไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่: กรณีศึกษาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต]. ภาควิชาการเมืองการปกครอง, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2563. doi: 10.14457/TU.the.2020.1085.

ชุติมา พัฒนพงศ์. รายงานโครงการชีวิตและสุขภาพของเด็กต่างด้าวและการเข้าถึงบริการสาธารณสุข. นครปฐม: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2565.

ยุทธนา แยบคาย. รูปแบบการพัฒนาผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน[ วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. สาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

ศิริวรรณ อุทธา, ทวีวรรณ ศรีสุขคำ, ชลภัสสรณ์ มืดภา และคณะ. ประเมินผลการดำเนินงานมาตรการอาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติตามแนวชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ลาว กัมพูชา. วารสารควบคุมโรค 2565;48(3):652–66.

ทัศนมินทร์ รัชตาธนรัชต์, วรนุช วงค์เจริญ. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณสุขแก่แรงงานต่างด้าวของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ 2563;14(2):5–15.

ภัคนี สิริปูชกะ, ศิมาลักษณ์ ดิถีสวัสดิ์เวทย์. การศึกษากระบวนการพัฒนาการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ของแรงงานข้ามชาติ พ.ศ. 2561 – 2562. อุดรธานี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8; 2563.

พวงเพชร สุขประเสริฐ. คุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าว กรณีศึกษาตลาดไท จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ 2565;3(2):51–63.

จรินทร์ ย่นพันธ์. กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของแรงงานต่างด้าว ในเขตสุขภาพที่ 8 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2562.

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30