ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกัน การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลบางขุนกอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, การป้องกันการพลัดตกหกล้มบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม โดยประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลบางขุนกอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ ที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนกอง ทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 คน กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม
เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลระหว่าง เดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ ค่าที (t test)
ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองมีคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มสูงกว่า ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมพบว่า คะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุป: โปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุมีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มได้ดีขึ้น บุคลากรสาธารณสุขควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้เพื่อส่งเสริมป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
References
World Health Organization. WHO global report on falls prevention in older age. Geneva: World Health Organization; 2007.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลมรณบัตรกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ตารางแสดงจำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้ม (W00-W19) ในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ต่อแสนประชากร จำแนกรายเขตสุขภาพ ปี พ.ศ.2554–2560. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 31 มีนาคม 2566]; เข้าถึงจาก URL: http://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php?id=13659&gid=18
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. สพฉ. เปิดสถิติการเจ็บป่วยฉุกเฉินของผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 31 มีนาคม 2566]; เข้าถึงจาก URL:https://www.komchadluek.net/news/372297
นิพา ศรีช้าง, ลวิตรา ก๋าวี. รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี ขึ้นไป) ในประเทศไทย ปีพ.ศ. 2560–2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ; 2560.
วรรณพร บุญเปล่ง, วดีรัตน์ ศรีวงศ์วรรณ, พัฒนาเศรษฐวัชราวนิช. อัตราและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาจังหวัดนนทบุรี. J NURS SCI 2558;33(3):75–86.
ภาวดี วิมลพันธ์, ขนิษฐา พิศฉลาด. ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2556;23(3):93–109.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี. ฐานข้อมูล HDC จังหวัดนนทบุรี. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: URL: nonthaburi.moph.go.th.
Rosenstock IM. Historical origins of the health belief model. Health Education Monographs 1974;2(4):328–35. doi.org/10.1177/109019817400200403
Becker MH, Drachman RH, Kirscht JP. A new approach to explaining sick-role behavior in low income population. Am J Public Health 1974;64(3):206. doi: 10.2105/ajph.64.3.205
ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์, กรรณิการ์ เทพกิจ. ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35(3):186–95.
Rosner B. Fundamentals of biostatistics. 5th ed. Belmont: Duxbury press; 2000.
Janz NK, Becker MH. The Health Belief Model: a decade later. Health Educ Q 1984;11(1):1–47. doi: 10.1177/109019818401100101.
มานิตา รักศรี, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, เสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณ. ผลของโปรแกรมการปรับความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2562;12(2):134–50.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์