การรักษาแบบคาดการณ์ด้วยยาพิเพอราซิลลิน/ทาโซแบ็กแทมในผู้ป่วยที่สงสัยมีการติดเชื้อ ที่โรงพยาบาลราชบุรี
คำสำคัญ:
ยาพิเพอราซิลลิน/ทาโซแบ็กแทม, การรักษาแบบคาดการณ์, การติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อทราบอุบัติการณ์ของการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานในผู้ป่วยสงสัยมีการติดเชื้อที่ได้รับยาพิเพอราซิลลิน/ทาโซแบ็กแทมแบบคาดการณ์ ลักษณะของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ และอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลราชบุรี
วิธีการรักษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยในของโรงพยาบาลราชบุรี และได้รับยาพิเพอราซิลลิน/ทาโซแบ็กแทมแบบคาดการณ์ ระหว่าง 1 เมษายน พ.ศ. 2565 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ทั้งหมด 727 ราย เก็บข้อมูลทั่วไป เช่น เพศ อายุ โรคร่วม หอผู้ป่วย ระยะเวลาการได้รับยา ประวัตินอนโรงพยาบาลภายใน 1 ปี และประวัติสงสัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล
ผลการศึกษา: พบอุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาหลายขนานร้อยละ 12.1 โดยเป็นเชื้อไวต่อยาพิเพอราซิลลิน/ทาโซแบ็กแทมร้อยละ 54.5 ปัจจัยที่พบในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาหลายขนานที่แตกต่าง คือระยะเวลาตั้งแต่นอนโรงพยาบาลจนถึงเริ่มยา (p = .026) แต่ไม่พบความแตกต่างในผู้ป่วยที่สงสัยเป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาล (p = .556) และมีประวัตินอนโรงพยาบาลภายใน 1 ปี (p = .556) อัตราเสียชีวิตในผู้ป่วยที่ได้รับยาพิเพอราซิลลิน/ทาโซแบ็กแทมแบบคาดการณ์และพบเชื้อก่อโรคเท่ากับร้อยละ 37.4
สรุป: ควรพิจารณาให้ยาพิเพอราซิลลิน/ทาโซแบ็กแทมแบบคาดการณ์ในกรณีผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อที่มีระยะเวลาตั้งแต่นอนโรงพยาบาลจนถึงให้ยาแบบคาดการณ์ตั้งแต่ 4.74 วัน และถ้าสงสัยมีการติดเชื้อสำหรับผู้ป่วยรักษาในแผนกอายุรกรรม หรือเป็นการติดเชื้อที่ไวต่อยาพิเพอราซิลลิน/ทาโซแบ็กแทมควรติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากพบมีความแตกต่างในกลุ่มผู้เสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ
References
ภาณุมาศ ภูมาศ, ตวงรัตน์ โพธะ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, และคณะ. ผลกระทบด้านสุขภาพ และเศรษฐศาสตร์ จากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย: การศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2555;6(3):352–360.
Evans L, Rhodes A, Alhazzani W, et al. Surviving sepsis campaign: international guidelines for management of sepsis and septic shock 2021. Intensive Care Med 2021;47(11):1181–1247. doi: 10.1007/s00134-021-06506-y.
Ishida T, Ito A, Washio Y, et al. Risk factors for drug-resistant pathogens in immunocompetent patients with pneumonia: Evaluation of PES pathogens. J Infect Chemother 2017;23(1):23–8. doi: 10.1016/j.jiac.2016.09.002.
Namikawa H, Yamada K, Fujimoto H, et al. Clinical characteristics of bacteremia caused by extended-spectrum beta-lactamase-producing escherichia coli at a tertiary hospital. Intern Med 2017;56(14):1807–15. doi: 10.2169/internalmedicine.56.7702.
Menéndez R, Méndez R, Polverino E, et al. Risk factors for multidrug-resistant pathogens in bronchiectasis exacerbations. BMC Infect Dis 2017;17(1):659. doi: 10.1186/s12879-017-2754-5.
Bhattarai S, Sharma BK, Subedi N, et al. Burden of Serious Bacterial Infections and multidrug-resistant organisms in an adult population of nepal: a comparative analysis of minimally invasive tissue sampling informed mortality surveillance of community and hospital deaths. Clin Infect Dis 2021;73(Suppl_5):S415–S421. doi: 10.1093/cid/ciab773.
Kumar M, Jain S, Shree N, et al. Incidence rate of multidrug-resistant organisms in a tertiary care hospital, North Delhi. Apollo Medicine 2015;12(4):248–256. doi: 10.1016/j.apme.2015.07.006.
Alsehemi AF, Alharbi EA, Alammash BB, et al. Assessment of risk factors associated with multidrug-resistant organism infections among patients admitted in a tertiary hospital - a retrospective study. Saudi Pharm J. 2023;31(6):1084-1093. doi:10.1016/j.jsps.2023.03.019
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์